วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โอกาสการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด

จากเรื่องราวอันโด่งดังในกระแสโซเชียลและสื่อต่างๆ ของเด็กชายอายุ 15 ปี น้องแม็ก ด.ช. วันชัย ฤทธิเกษร อาศัยอยู่เพียงตาและยายในจังหวัดระนอง ที่ต้องทนทุกข์เพราะอาการกระดูกสันหลังคดงอผิดรูปมาเป็นเวลานานหลายปี หลังจากกองทุนสมิติเวชเพื่อชีวิตใหม่ (NEW LIFE) ได้มีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กที่มีอาการกระดูกสันหลังคด ได้ทราบเรื่องราวผ่านรายการ ปันฝันปันยิ้ม จึงประสานงานรับน้องแม็กเข้าผ่าตัดรักษา (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) ณ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลัง และทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นำโดย ศ.เกียรติคุณ นพ. เจริญ โชติกวณิชย์  และ นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล รวมถึงจิตใจอันเข้มแข็งของน้องแม็ก ทำให้ผลการผ่าตัดผ่านไปด้วยดี  น้องแม็กได้กลับบ้านไปใช้ชีวิตเด็กวัยรุ่น ได้กลับไปเรียนอีกครั้ง เพื่อเป็นความหวังให้กับคุณตา คุณยายต่อไป  โรคกระดูกสันหลังคดเป็นอย่างไร ร้ายแรงแค่ไหน เรามีข้อมูลสุขภาพน่ารู้ให้ติดตามกัน


โอกาสการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด
โรคกระดูกสันหลังคดเป็นได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงวัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงที่พบ ได้บ่อย มีสาเหตุมากมาย  ประมาณร้อยละ 80 เป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ จากการวิจัยพบว่าเด็กไทยมีกระดูกสันหลังคด ในอัตรา 1 ต่อ 10,000 คน แต่ระยะหลังพบเด็กเป็นโรคนี้มากขึ้น  พันธุกรรมก็อาจเป็นสาเหตุทำให้หลังคดได้ เนื่องจากพบว่าบางครอบครัวมี พี่น้องหลังคด  หรือฝาแฝดหลังคด  แต่บางครอบครัวมีลูกคนเดียว ก็อาจพบว่าเด็กเกิดมาหลังคดได้

โรคกระดูกสันหลังคด สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
  1. กระดูก สันหลังปกติตั้งแต่แรก แต่มาคดในภายหลัง ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่อาจเกี่ยวกับสารฮอร์โมนบางอย่าง ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรงตัว ทำให้มีผลต่อการเกิดหลังคดได้  พบได้ประมาณร้อยละ 80  แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอายุ
    – กลุ่มอายุ แรกเกิด – 1  ปี จะเริ่มยืนและเดิน  แต่กลุ่มนี้ร้อยละ  90 จะหายได้เอง
    – กลุ่มอายุ 3-10 มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเป็นมากไม่รักษาจะมีปัญหาในระยะยาวได้
    – กลุ่มอายุ 10-18 ปี กระดูกสันหลังคดในวัยรุ่นพบได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่น  ซึ่งหลังคดถ้าเป็นไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แพทย์แนะนำให้เฝ้าติดตามดูความเปลี่ยนแปลง  เพราะกระดูกสันหลังอาจคดมากขึ้นเรื่อยๆ และมากจนผิดปกติได้  ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายผิดปกติ แพทย์จะตรวจวัดองศาความคดของกระดูก ถ้าพบว่าคดระหว่าง 30-40 องศา ในอายุต่ำกว่า 15 ปี
  2. กระดูกสันหลังคดตั้งแต่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากยาที่แม่ รับประทานระหว่างตั้งครรภ์ กลุ่มนี้เกิดจากกระดูกผิดปกติ เช่น การเจริญของกระดูกสันหลังไม่เท่ากันหรือไม่สมดุลกัน  ถ้ากระดูกสันหลังคดแล้วจะคดมากขึ้นค่อนข้างเร็ว  แพทย์จะทำการรักษาทันที เพราะถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นอัมพาตได้
  3.  มีความผิดปกติเกี่ยวกับกล้าม เนื้อและระบบประสาทอยู่แล้ว เช่น มีความผิดปกติของสมอง   สมองพิการ โรคโปลิโอ โรคของระบบกล้ามเนื้อ ฯลฯ จะมีโอกาสทำให้กระดูกสันหลังคดเมื่อโตขึ้นได้
  4.  โรคเท้าแสนปม ร่างกายจะมีปุ่ม และหรือปานตามตัว และพบกระดูกสันหลังคดร่วมด้วยประมาณร้อยละ 30


สังเกตได้อย่างไร ว่าเด็กอาจเป็นกระดูกสันหลังคด
ผู้ปกครองสามารถตรวจกระดูกสันหลังของเด็กคร่าวๆได้ด้วยตัวเอง  โดยให้เด็กยืนตัวตรง แล้วดูแนวสันหลังว่าตรงหรือไม่ จากนั้นให้เด็กก้มหลังลง มือแตะพื้น ถ้ามองตามเส้นแนวกระดูกสันหลังแล้วไม่คด ก็แสดงว่าปกติ แต่ถ้ามีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง   ระดับหัวไหล่หรือบ่าทั้ง ข้างไม่เท่ากัน สะบักหรือกระดูกที่เป็นคล้ายๆ ปีกมีการนูนตัวมากกว่าอีกด้านหนึ่ง มีการเอียงของลำตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง กระดูกสันหลังคด ตั้งแต่วัยรุ่น ถ้าไม่รักษาจะคดเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อสุขภาพได้มาก  เช่น ตัวเอียง ไหล่ตกแนวสะโพกเอียง รูปร่างพิการ  ปวดหลัง มีปัญหาทางระบบหายใจ หอบเหนื่อยง่าย  เป็นโรคปอดบวม  ปอดอักเสบ หัวใจทำงานหนัก  อาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้  ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและติดตามผล ว่าอาจมีอาการมากขึ้นในระยะยาวต่อไปหรือไม่ในอนาคต


ทางเลือกในการรักษา
  • การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด ใช้ในกรณีที่เด็กมีมุมองศาที่คดไม่มาก โดยใช้การสังเกตอาการ รักษาทางกายภาพบำบัด หรืออาจใช้เสื้อเกราะในบางราย
  • กายภาพ  โดยการสอนการจัดท่าขณะนอน การทรงท่า และการออกกำลังกายต่างๆ ที่เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาให้กระดูกสันหลังกลับเข้าสู่แนวเดิม หรือให้ใกล้เคียงแนวปกติให้มากที่สุด การรักษาจะจำเพาะแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน และการให้การรักษานี้ควรเป็นนักกายภาพบำบัดที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังคด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้ในกรณีที่เด็กมีมุมองศาที่คดมาก หรือมีการเพิ่มของมุมองศาที่คดมากขึ้นขณะติดตามการรักษา

ปริญญาบัตร/วุฒิบัตร
Diploma of American Board of Orthopaedic Surgery, 1972.
สาขาออร์โธปิดิกส์ สาขาออร์โธปิดิกส์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น