วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

exercise during pregnancy


จะทำอย่างไรให้มีสุขภาพครรภ์ที่ดี
การออกกำลังกายเป็นทางออกอย่างหนึ่ง หลายคนอาจจะสงสัยว่าการออกกำลังกายขณะออกกำลังกายจะปลอดภัยหรือไม่ ก่อนอื่นคงต้องปรึกษากับสูตินรีแพทย์ที่ฝากครรภ์ก่อนว่า ถึงแม้ว่าจะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับผลของการออกกำลังกาย แต่ก็ไม่มีผลเสียจากการออกกำลังกาย ยังไม่มีการวิัจัยที่บอกว่าจะทำให้ทารกแข็งแรงขึ้น แต่สำหรับคุณแม่แล้วจะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ดีมาก การออกกำลังกายยังช่วยทำให้บรรเทาอาการต่าง ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ และยังเป็นการเตรียมสำหรับการคลอดด้วยจากการที่เพิ่มความแข็งแรงและกล้ามเนื้อดีขึ้น ถ้าคุณไม่มีโรคประจำตัว และไม่มีการแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ็ ก็ควรจะวางแผนการออกกำลังกายด้วย

จะเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกายได้อย่า่งไร

การปรึกษาแพทย์เป็นเรื่องแรกที่ต้องทำ เพราะความผิดปกติบางอย่างจะมีข้อห้ามในการออกกำลังกายเพราะอาจมีความเสี่ยงกับทารก ถ้าแพทย์อนุญาต คุณสามารถเริ่มออกกำลังกายได้ ในระดับที่ไม่มีอาการเจ็บ ไม่ถึงกับหอบเหนื่อยหายใจไม่ทัน หรือเหนื่อยมากเกินไป การเิริ่มออกกำลังกายต้องเริ่มอย่างช้าๆ ทีละน้อย ถ้าเริ่มมีอาการผิดปกติเช่น เหนื่อยกว่าปกติ หายใจไม่ทัน คุณควรจะต้องออกกำลังกายให้เบาลง ถ้าคุุณเป็นคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว มันก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์ แต่ถ้าไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ควรเริ่มต้นออกกำลังกายช้ำ ๆ

แล้วคนตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างไหนดี

การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือการออกกำลังกายที่ร่างกายไม่ต้องรับน้ำหนักของร่างกาย เช่น การว่ายน้ำ ส่วนการเดิน หรือการออกกำลังกายชนิดแอโรบิกเบา ๆ (low-impact aerobics) ก็เป็นอีกทางเลือก

ควรจะต้องระวังอะไรสำหรับการออกกำลังกาย

กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้เสี่ยงในการพลัดตกหกล้ม หรือการบาดเจ็บ เช่น กีฬาที่อาจมีการปะทะ หรือ กีฬาที่เล่นหนักมาก ควรจะต้องหลีกเลี่ยง การบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงหรือการกระทบกระแทกแม้จะเป็นตำแหน่งท้องส่วนบนเช่นส่วนที่ตรงกัีบกระเพาะก็ยังมีอันตรายต่อครรภ์ได้ หลังจากที่ตั้งครรภ์เกินกว่าสามเดือนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมการออกกำลังกายในท่านอน เพราะว่าน้ำหนักของท่าทารกจะรบกวนการไหลเวียนเลือด ท่ายืนที่นานเกินไปก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงด้วย
ถ้าอากาศร้อนเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย โดยไปออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนมากเิกินไปหรือเสียเหงื่อมากเกินไป ถ้าออกกำลังกายในร่ม ควรจะต้องดูเรื่องการหมุนเวียนอากาศที่เพียงพอ ดื่มน้ำให้มากพอ ถึงแม้ว่าจะยังไม่รู้สึกหิวน้ำก็ควรจิบน้ำบ่อย ๆ

เรื่องของอาหารก็เป็นเรื่องที่ต้องควบคุมให้เหมาะสม โดยปกติในขณะตั้งครรภ์ร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 300 แคลอรีต่อวัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ออกกำลังกายเลย

อาการที่ควรปรึกษาแพทย์
มีเลือดหรือมีน้ำออกมาทางช่องคลอด
มีอาการปวดท้องรุนแรง หรือปวดช่องคลอด
มีการบีบตัวsหรือเกร็งของมดลูกเกินกว่า 30 นาที
เจ็บหน้าอก
หอบเหนี่อย หายใจไม่ทัน
ปวดหัวรุนแรง หรือปวดติดต่อกันนาน
มึนงงเวียนหัว คลื่นไส้
ตามัว มองเห็นไม่ัชัด

ลองเริ่มต้นวางแผนการออกกำลังกายโดยปรึกษาสูตินรีแพทย์ของคุณนะครับ

จาำก www.facebook/drcarebear

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น