ความแก่เป็นศัตรูที่แฝงตัวมาในหลายรูปแบบ บางคนก็ถูกโจมตีด้วยริ้วรอยเหี่ยวย่น บางคนก็หน้าบอกอายุจากความหย่อนคล้อย แต่บางคน หน้าก็ตึงกระชับ ริ้วรอยก็ไม่ค่อยมี แต่กลับมีจุดด่างดำ ตกกระ รอยหมองคล้ำต่างๆบ่งวัยเต็มใบหน้า กลุ่มผู้ที่เม็ดสีขยันทำงานเกินกว่าเหตุนี้ มักมาจากหลายสาเหตุประกอบกัน
แต่สาเหตุหลักเลยคือการถูกทำลายสะสมจากรังสียูวีในแสงแดด แต่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฮอร์โมน ทั้งจากฮอร์โมนเพศหญิงที่มีอยู่แล้วในร่างกาย และมักจะมีระดับที่สูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนสังเคราะห์จากยาคุมกำเนิด กรรมพันธุ์ ปฏิกริยาไกลเคชั่นจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง รวมไปถึงความร้อนจากการซาวน่า ก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยร่วมที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ของเม็ดสีบนใบหน้าทั้งสิ้น
กายวิภาคความแก่ที่ส่งผลให้เกิดเป็นรอยกระดำกระด่างบนใบหน้า อาจจำแนกได้ง่ายๆเป็นดังนี้
กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis)
เป็นตุ่มเนื้อ นูนขึ้นมาจากผิวหนัง หากเม็ดใหญ่จะเห็นลักษณะขรุขระเล็กน้อยที่ผิวด้านบน มักมีสีเฉดน้ำตาล ในวัยสาว อาจเริ่มมีจุดเล็กๆ สีอ่อน ซ่อนอยู่ตามหนังตา โหนกแก้ม สาเหตุที่เกิดขึ้นคือ อายุ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับกรรมพันธุ์ ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ก็รักษาได้ไม่ยาก วิธีที่ได้ผลเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ การจี้ออกด้วยเลเซอร์ในกลุ่มคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (CO2 laser) โดยจี้เพียงครั้งเดียวก็หาย หลังจี้จะเป็นสะเก็ดบางๆ คล้ายรอยถลอกอยู่ 3-7 วัน ขึ้นกับความลึกของกระเนื้อ หายแล้วมักไม่เหลือรอยแผลเป็น
กระตื้นและกระลึก
กระตื้น แบ่งออกเป็นกระที่เรียกว่า Freckles ซึ่งมักจะปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยสาว คนที่มีผิวขาวจัด จะมีกระเป็นของแถมบนใบหน้าด้วยเสมอ และมักจะสีเข้มขึ้นในช่วงฤดูร้อน และจางลงในช่วงฤดูหนาวที่ไม่ค่อยโดนแดด ส่วนกระตื้นอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Solar Lentigo (Lentigo = จุดดำ, Solar = แสงแดด) พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการกระตุ้นโดยแสงแดด มักเริ่มปรากฏในวัยยี่สิบตอนปลาย เป็นการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีที่บ่งอายุรูปแบบหนึ่ง พบมากบริเวณโหนกแก้ม หลังมือ แขนด้านที่ถูกแสงแดด การรักษากระตื้นที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ การใช้เลเซอร์หรือแสงความเข้มสูงIPL ในช่วงความยาวคลื่นที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเม็ดสี ทำให้เม็ดสีดูดซับความร้อน และตกเป็นสะเก็ดดำเข้มขึ้นแล้วหลุดออกมา โดยรักษาซ้ำมากน้อยขึ้นกับความลึกของเม็ดสี
ส่วนกระลึก มีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นสีน้ำตาลปนเทาบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง มักเริ่มปรากฏในวัยประมาณ 30 ปี มีชื่อเป็นทางการที่แพทย์เรียกกันว่า Hori’s macules (โฮริ) มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์มากกว่าแสงแดด เป็นกระที่รักษายาก ต้องใช้การยิงเลเซอร์ที่จำเพาะเจาะจงต่อเม็ดสีซ้ำหลายครั้ง (โดยเฉลี่ย 3-5 ครั้ง ห่างกันทุก 6-10 สัปดาห์) กว่าจะหาย และเมื่อหายแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการกลับขึ้นมาเป็นซ้ำอีกด้วย
ฝ้า (Melasma/Mask of Pregnancy)
บ่อยครั้งที่ฝ้าจะปรากฏตัวมาทักทายหญิงสาวขณะตั้งครรภ์ แต่ปัญหาคือ ฝ้ามักจะมาทักทายแล้วไม่ยอมโบกมือลา หลังคลอดก็แล้ว ให้นมเลี้ยงลูกจนโตก็แล้ว ส่งเสียลูกเข้ามหาวิทยาลัย หรือเป็นฝั่งเป็นฝาย้ายออกจากบ้านไปแล้ว ฝ้าก็ยังคงอยู่กับคุณดั่งหน้ากากติดแน่นตลอดไป เช่นเดียวกับโรคผิวหนังอีกมากมาย ฝ้าเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งกรรมพันธุ์ แสงแดด และฮอร์โมน ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่มีส่วนสำคัญต่อการเกิดฝ้า ฝ้าต่างจากกระคือ ฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นคล้ายถูกระบายสีน้ำเป็นพื้นหลัง แต่กระมีลักษณะเป็นจุด คล้ายถูกแต้มด้วยปากกาเมจิก สีของฝ้านั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคนขึ้นกับความลึกในการฝังตัวของเม็ดสี
การรักษาฝ้าโดยพื้นฐานมีอยู่สามขั้นด้วยกัน คือ
เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้ ให้ผลดีในรายที่ฝ้าตื้น แต่หากฝ้าลึก ผลการรักษายังไม่แน่นอน แต่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการพยายามนำเทคโนโลยีในกลุ่มเลเซอร์ปรับสภาพผิวแบบแยกส่วนมาใช้ในการรักษาฝ้า และพบว่าได้ผลดีพอสมควรในคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยเฉพาะเลเซอร์ตัวแม่ในกลุ่มนี้คือ Fraxel® ได้ผ่านการอนุมัติจาก FDA ของสหรัฐอเมริกา ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาฝ้า
โดยสรุปแล้ว โซลูชั่นในการรักษาฝ้า ยังไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่หลักการเบื้องต้นที่คนเป็นฝ้าทุกคนควรปฏิบัติคือ หลีกเลี่ยงแสงแดด ความร้อน และฮอร์โมนเพศจากภายนอก ทาครีมกันแดด และยารักษาฝ้าอย่างเคร่งครัด ส่วนการจะเลือกใช้เทคโนโลยีใด ก็ต้องแล้วแต่ลักษณะโหงวเฮ้งฝ้า และดุลยพินิจของแพทย์ผิวหนังของคุณ
แพทย์หญิงธิดากานต์ รัตนบรรณางกูร
แพทย์ผิวหนัง และ Anti-Aging
สถาบันสุขภาพผิวพรรณ และ Life Center โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
แต่สาเหตุหลักเลยคือการถูกทำลายสะสมจากรังสียูวีในแสงแดด แต่ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฮอร์โมน ทั้งจากฮอร์โมนเพศหญิงที่มีอยู่แล้วในร่างกาย และมักจะมีระดับที่สูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนสังเคราะห์จากยาคุมกำเนิด กรรมพันธุ์ ปฏิกริยาไกลเคชั่นจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง รวมไปถึงความร้อนจากการซาวน่า ก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยร่วมที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ของเม็ดสีบนใบหน้าทั้งสิ้น
กายวิภาคความแก่ที่ส่งผลให้เกิดเป็นรอยกระดำกระด่างบนใบหน้า อาจจำแนกได้ง่ายๆเป็นดังนี้
กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis)
เป็นตุ่มเนื้อ นูนขึ้นมาจากผิวหนัง หากเม็ดใหญ่จะเห็นลักษณะขรุขระเล็กน้อยที่ผิวด้านบน มักมีสีเฉดน้ำตาล ในวัยสาว อาจเริ่มมีจุดเล็กๆ สีอ่อน ซ่อนอยู่ตามหนังตา โหนกแก้ม สาเหตุที่เกิดขึ้นคือ อายุ จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับกรรมพันธุ์ ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ก็รักษาได้ไม่ยาก วิธีที่ได้ผลเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ การจี้ออกด้วยเลเซอร์ในกลุ่มคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (CO2 laser) โดยจี้เพียงครั้งเดียวก็หาย หลังจี้จะเป็นสะเก็ดบางๆ คล้ายรอยถลอกอยู่ 3-7 วัน ขึ้นกับความลึกของกระเนื้อ หายแล้วมักไม่เหลือรอยแผลเป็น
กระตื้นและกระลึก
กระตื้น แบ่งออกเป็นกระที่เรียกว่า Freckles ซึ่งมักจะปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยสาว คนที่มีผิวขาวจัด จะมีกระเป็นของแถมบนใบหน้าด้วยเสมอ และมักจะสีเข้มขึ้นในช่วงฤดูร้อน และจางลงในช่วงฤดูหนาวที่ไม่ค่อยโดนแดด ส่วนกระตื้นอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Solar Lentigo (Lentigo = จุดดำ, Solar = แสงแดด) พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการกระตุ้นโดยแสงแดด มักเริ่มปรากฏในวัยยี่สิบตอนปลาย เป็นการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีที่บ่งอายุรูปแบบหนึ่ง พบมากบริเวณโหนกแก้ม หลังมือ แขนด้านที่ถูกแสงแดด การรักษากระตื้นที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ การใช้เลเซอร์หรือแสงความเข้มสูงIPL ในช่วงความยาวคลื่นที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเม็ดสี ทำให้เม็ดสีดูดซับความร้อน และตกเป็นสะเก็ดดำเข้มขึ้นแล้วหลุดออกมา โดยรักษาซ้ำมากน้อยขึ้นกับความลึกของเม็ดสี
ส่วนกระลึก มีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นสีน้ำตาลปนเทาบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง มักเริ่มปรากฏในวัยประมาณ 30 ปี มีชื่อเป็นทางการที่แพทย์เรียกกันว่า Hori’s macules (โฮริ) มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์มากกว่าแสงแดด เป็นกระที่รักษายาก ต้องใช้การยิงเลเซอร์ที่จำเพาะเจาะจงต่อเม็ดสีซ้ำหลายครั้ง (โดยเฉลี่ย 3-5 ครั้ง ห่างกันทุก 6-10 สัปดาห์) กว่าจะหาย และเมื่อหายแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการกลับขึ้นมาเป็นซ้ำอีกด้วย
ฝ้า (Melasma/Mask of Pregnancy)
บ่อยครั้งที่ฝ้าจะปรากฏตัวมาทักทายหญิงสาวขณะตั้งครรภ์ แต่ปัญหาคือ ฝ้ามักจะมาทักทายแล้วไม่ยอมโบกมือลา หลังคลอดก็แล้ว ให้นมเลี้ยงลูกจนโตก็แล้ว ส่งเสียลูกเข้ามหาวิทยาลัย หรือเป็นฝั่งเป็นฝาย้ายออกจากบ้านไปแล้ว ฝ้าก็ยังคงอยู่กับคุณดั่งหน้ากากติดแน่นตลอดไป เช่นเดียวกับโรคผิวหนังอีกมากมาย ฝ้าเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งกรรมพันธุ์ แสงแดด และฮอร์โมน ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่มีส่วนสำคัญต่อการเกิดฝ้า ฝ้าต่างจากกระคือ ฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นคล้ายถูกระบายสีน้ำเป็นพื้นหลัง แต่กระมีลักษณะเป็นจุด คล้ายถูกแต้มด้วยปากกาเมจิก สีของฝ้านั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคนขึ้นกับความลึกในการฝังตัวของเม็ดสี
การรักษาฝ้าโดยพื้นฐานมีอยู่สามขั้นด้วยกัน คือ
• หาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้า หลีกเลี่ยงความร้อนที่มากระตุ้น ฮอร์โมน หรือยาคุม โดยปรึกษาแพทย์ว่าสามารถเปลี่ยนมาใช้วิธีอื่นคุมกำเนิดได้หรือไม่
• ทายาที่ใช้สำหรับรักษาฝ้า ซึ่งมีทั้งแบบที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป และแบบที่แพทย์ผิวหนังสั่งจ่าย หากซื้อเอง ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า เป็นยาที่ผ่านการตรวจสอบจากอ.ย.แล้วเท่านั้น เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผิวหรือเกิดเป็นฝ้าถาวรได้
• การใช้เทคโนโลยีต่างๆทางการแพทย์เพื่อรักษาฝ้า ได้แก่ กลุ่มที่ใช้หลักการผลัดเซลล์ผิว โดยอาจใช้เป็นกรดอ่อนๆ หรือ พลังน้ำผลัดเซลล์ผิว กลุ่มที่ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้เกิดการผลักยาฝ้าเข้าสู่ผิวหนัง เช่น ไอออนโตโฟเรซิส อิเลคโตรโพเรชั่น และกลุ่มสุดท้ายคือ ใช้เลเซอร์ที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อเม็ดสี ยิงให้เม็ดสีเข้มขึ้น และถูกเม็ดเลือดขาวเข้ามาเก็บกวาดเพื่อให้ฝ้าจางลง
• ทายาที่ใช้สำหรับรักษาฝ้า ซึ่งมีทั้งแบบที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป และแบบที่แพทย์ผิวหนังสั่งจ่าย หากซื้อเอง ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า เป็นยาที่ผ่านการตรวจสอบจากอ.ย.แล้วเท่านั้น เพราะอาจเกิดอันตรายต่อผิวหรือเกิดเป็นฝ้าถาวรได้
• การใช้เทคโนโลยีต่างๆทางการแพทย์เพื่อรักษาฝ้า ได้แก่ กลุ่มที่ใช้หลักการผลัดเซลล์ผิว โดยอาจใช้เป็นกรดอ่อนๆ หรือ พลังน้ำผลัดเซลล์ผิว กลุ่มที่ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้เกิดการผลักยาฝ้าเข้าสู่ผิวหนัง เช่น ไอออนโตโฟเรซิส อิเลคโตรโพเรชั่น และกลุ่มสุดท้ายคือ ใช้เลเซอร์ที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อเม็ดสี ยิงให้เม็ดสีเข้มขึ้น และถูกเม็ดเลือดขาวเข้ามาเก็บกวาดเพื่อให้ฝ้าจางลง
เทคโนโลยีที่กล่าวมานี้ ให้ผลดีในรายที่ฝ้าตื้น แต่หากฝ้าลึก ผลการรักษายังไม่แน่นอน แต่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการพยายามนำเทคโนโลยีในกลุ่มเลเซอร์ปรับสภาพผิวแบบแยกส่วนมาใช้ในการรักษาฝ้า และพบว่าได้ผลดีพอสมควรในคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยเฉพาะเลเซอร์ตัวแม่ในกลุ่มนี้คือ Fraxel® ได้ผ่านการอนุมัติจาก FDA ของสหรัฐอเมริกา ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาฝ้า
โดยสรุปแล้ว โซลูชั่นในการรักษาฝ้า ยังไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่หลักการเบื้องต้นที่คนเป็นฝ้าทุกคนควรปฏิบัติคือ หลีกเลี่ยงแสงแดด ความร้อน และฮอร์โมนเพศจากภายนอก ทาครีมกันแดด และยารักษาฝ้าอย่างเคร่งครัด ส่วนการจะเลือกใช้เทคโนโลยีใด ก็ต้องแล้วแต่ลักษณะโหงวเฮ้งฝ้า และดุลยพินิจของแพทย์ผิวหนังของคุณ
แพทย์หญิงธิดากานต์ รัตนบรรณางกูร
แพทย์ผิวหนัง และ Anti-Aging
สถาบันสุขภาพผิวพรรณ และ Life Center โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น