วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เมื่อผมผ่าตัดครบหนึ่งโหล

การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) สามารถใช้ได้กับการผ่าตัดทางนรีเวชเกือบทุกชนิดเช่น การผ่าตัดมดลูก การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ การผ่าตัดปีกมดลูก เป็นต้น กล้องที่ใช้ในการผ่าตัดมีกำลังขยายทำให้มองเห็นอวัยวะต่างๆได้ชัดเจน และสามารถเข้าไปถึงตำแหน่งต่างๆในอุ้งเชิงกรานได้ง่ายกว่าการผ่าตัดเปิดหน้า ท้องแบบดั้งเดิม โดยไม่ทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ดังเช่นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบดั้งเดิม ผู้ป่วยปวดแผลน้อยกว่าและฟื้นตัวเร็วกว่า ทำให้พักอยู่ในโรงพยาบาลไม่นานก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น ในบางรายสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียว และส่วนใหญ่ก็สามารถใช้ชีวิตเกือบปกติได้ในหนึ่งสัปดาห์

สิบสองปีที่ผ่านไปได้ทำให้ผมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในเสี้ยวหนึ่งของชีวิต ได้รับใช้ประชาชนไปกว่า2000 ราย แต่เมื่อเทียบกับงานทั้งประเทศที่มีนับหมื่นในแต่ละปีถือว่าน้อยมาก  แต่ประสบการณ์ที่ค่อยๆสะสมมา และความรับผิดชอบที่สูงมากๆก็เป็นประวัติศาสตร์แห่งชีวิตอีกบทหนึ่งที่เกิด ขึ้นมาแล้วกับตัวผมเอง

หลังจากจบหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางในสาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาแล้ว ผมก็มีหนทางการดำเนินชีวิตไม่ต่างจากแพทย์ร่วมสายวิชาชีพท่านอื่นๆมากนัก นั่นก็คือการแสวงหาสถานที่ในการปฏิบัติงาน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายคือการนำวิชาการที่ได้ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น 9 ปี ลงสู่สนามการทำงานจริงอย่างสมบูรณ์นั่นเอง

 แต่ในชีวิตจริงนั้นมิได้เป็นเช่นดังที่คาดหวังไว้ การใช้ชีวิตมิได้หยุดนิ่ง เช่นเดียวกับการเรียนรู้  ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากข่าวสารข้อมูลที่ได้รับแตกต่างออกไปจากที่เรียนมาทีละเล็กทีละน้อย การที่จะพยายามไม่รับรู้สิ่งต่างๆจากภายนอกเป็นไปไม่ได้  เนื่องจากความจำเจเริ่มคืบคลานเข้ามา ความเบื่อหน่ายก็เข้ามาแทนที่ในชีวิต ทำให้การรับฝากครรภ์ การทำคลอด การทำหมัน การตรวจภายใน การผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานโดยการเปิดหน้าท้องแบบดั้งเดิม เป็นสิ่งที่ไม่ท้าทายเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกไร้พรหมแดนเช่นปัจจุบัน

ในปีพ.ศ. 2537 ผมได้เห็นประกาศการรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการผ่าตัดผ่านกล้องทาง นรีเวชกรรม จากภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมนีเป็นวิทยากร ทำให้ข้าพเจ้าสนใจขึ้นมาทันที เนื่องจากสมัยเรียนนั้น การผ่าตัดผ่านกล้องไม่เห็นมีอะไรแปลกใหม่เลยนอกเสียจากการส่องกล้องเพื่อการ ตรวจวินิจฉัย และการทำหมันแห้งเท่านั้น แต่นี่กลับมีการผ่าตัดได้ด้วย อีกทั้งในช่วงนั้นได้มีรายงานทางการแพทย์ฉบับหนึ่งได้กล่าวถึงการผ่าตัด มดลูกผ่านกล้องส่องช่องท้องสำเร็จเป็นรายแรกของโลกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534 โดยนายแพทย์ แฮรี่ ริชท์ จากสหรัฐอเมริกา จึงเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น และหากเราได้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติม ขึ้นมาอีกเป็นแน่

สามวันผ่านไปอย่างรวดเร็วกับการฝึกอบรมระยะสั้นครั้งนั้น ผมได้อะไรน้อยมากเนื่องจากมีผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมมากมายเกือบร้อยคน ประกอบกับระยะเวลาการเรียนรู้มีจำกัด แต่สิ่งที่ผมได้เยอะมากที่สุดก็คือ ความประทับใจในความคิดและจินตนาการของมนุษย์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ในการแก้ปัญหาความเจ็บไข้ของมวลมนุษย์ให้ลุล่วงไปอย่างดีที่สุด ผมได้นำความรู้มาปฏิบัติตามแต่ก็เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นเท่าใดนักและนั่นทำ ให้ผมตัดสินใจเดินหน้าต่อไปเพื่อไปให้ถึงความสามารถดังเช่นแพทย์จากประเทศ ที่เจริญแล้วเค้ามีกัน

ผมเริ่มต้นการเดินทางค้นหาความจริงด้วยการไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลในประเทศ เยอรมนี และ
เน เธอร์แลนด์ ได้พบเห็นการผ่าตัดผ่านกล้องสดๆด้วยตาของตนเองเป็นครั้งแรกเป็นการผ่าตัดเอา มดลูกออกทางช่องคลอดโดยใช้กล้องส่องช่องท้องช่วย แทบจะไม่เชื่อสายตาแต่ความเป็นจริงได้อุบัติขึ้นแล้วในโลกใบนี้ แต่เราก็ไม่สามารถจะเรียนรู้ได้อย่างถึงแก่นซะทีเดียว ผมจึงได้ติดต่อไปยังประธานสมาคมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องนานาชาติแห่งสหรัฐ อเมริกาขณะนั้นคือนายแพทย์ เจมส์ แดเนียล เพื่อขอเข้ารับการฝึกอบรมอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผมก็ได้รับความกรุณาจากท่านอย่างเต็มที่โดยมิได้เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่าง ใด

ประสบการณ์ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อนั้น ผมได้ให้บริการการผ่าตัดผ่านกล้องแก่ผู้ป่วยไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 80 ราย ซึ่งขณะนั้นคิดว่าหากท่านอาจารย์ถามอะไรมา เราก็คงสามารถแสดงตัวเลขได้อย่างสมศักดิ์ศรีบ้างพอสมควร แต่เพื่อความไม่ประมาทไหนๆก็จะมาเรียนแล้วระหว่างโดยสารอยู่บนเครื่องบินก็ บันทึกคำถามเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคที่ผ่านๆมา นึกไปนึกมาได้ประมาณ 5 หน้าสมุดบันทึกทีเดียว

วันแรกแห่งการเรียนรู้อย่างจริงจังในปีพ.ศ. 2539 ก็ทำให้คำถามต่างๆที่เตรียมมาได้รับคำตอบที่น่าพอใจถึง 3 หน้าทีเดียวส่วนที่เหลือก็คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก แต่ก็ทำให้อุ่นใจได้ว่า.......เรามาถูกทางแล้ว ประสบกาณ์ที่ผ่านมา 80 รายภายในสองปีนั้นดูด้อยลงถนัดตาเมื่อเทียบกับสถิติการผ่าตัดผ่านกล้องในโรง พยาบาลเซนเทนเนียล เมดดิอลเซนเตอร์ มลรัฐเทนเนสซี่  มีมากถึงเดือนละ 300 ราย ผมถึงกับอุทานอยู่ในใจว่า โอ้มายก๊อด สัปดาห์ต่อมาผมได้ร่วมเดินทางไปประชุมวิชาการสามัญประจำปีของสมาคมที่ อาจารย์ของผมเป็นประธานอยู่ ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองชิคาโก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 600 คนจากทั่วโลกทำให้เราได้เห็นว่า เป็นโอกาสที่ดีมากที่ได้มาพบปะผู้สนใจวิชาการการผ่าตัดผ่านกล้องมากมายเช่น นี้เชียวหรือ ทำให้มีกำลังใจในการตั้งใจนำความรู้กลับมาให้บริการแก่ประชาชนมากขึ้นอีก เป็นทวีคูณ

การเรียนรู้เริ่มต้นด้วยการอ่านตำราต่างๆ จากนั้นจึงเข้าห้องผ่าตัดเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์วิธีการผ่าตัด และเมื่อมีเวลาว่างก็มานั่งดูวิดีโอการผ่าตัดชนิดต่างๆที่ได้บันทึกไว้ ในวันหยุดก็ฝึกการใช้เครื่องมือการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยใช้หุ่นยนต์มาเป็นเครื่องช่วยการเรียนรู้ จากนั้นก็ฝึกการผ่าตัดจริงในสัตว์ทดลองซึ่งก็น่าสงสารเจ้าหมูน้อยน้ำหนัก 25 กิโลกรัมเสียจริงๆ เนื่องจากต้องได้รับการฉีดยาให้เสียชีวิตไปหลังจากการเรียนรู้สิ้นสุดลง เมื่อการฝึกปฏิบัติมาถึงบทท้ายๆ ผมได้มายืนเคียงข้างเตียงผ่าตัดคู่กับผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดผ่านกล้องที่มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก ร่วมกันผ่าตัด ร่วมกันเยี่ยมผู้ป่วยหลังการผ่าตัด คนแล้วคนเล่า จนแน่ใจว่าจะสามารถจดจำสิ่งที่มีประโยชน์มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้ ดีที่สุดให้จงได้   จากการเรียนรู้ที่ผ่านไป ทำให้เห็นความสามารถและประสิทธิภาพของการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชกรรม ที่ทำพลิกความคิดแบบเดิมๆไปสู่ความรู้อีกหน้าหนึ่งของศาสตร์ทางการแพทย์สมัย ใหม่ ทั้งๆที่วิธีการเหล่านี้มีผู้ค้นคิดมานับร้อยปีแล้ว แต่พึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เพียงสองทศวรรษเท่านั้น เนื่องจากได้มีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีต่างๆเช่น ใยแก้วนำแสง เทคโนโลยีการถ่ายทอดสัญญาณภาพ หรือการใช้หุ่นยนต์เป็นต้น

ก่อนกลับท่านอาจารย์ได้ฝากข้อคิดสำคัญไว้ว่า One who does not learn Laparoscopy will be history (ผู้ใดไม่เรียนรู้การผ่าตัดผ่านกล้อง จะเป็นคนในยุกต์ประวัติศาสตร์ซะแล้ว) ผมก็ได้ถ่ายทอดให้รุ่นต่อๆมารับทราบเมื่อมีโอกาส และดูเหมือนจะใกล้ความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ

จากวันแรกเริ่มที่ผมจับเครื่องมือการผ่าตัดผ่านกล้องจนถึงวันนี้ ครบสิบสองปีแล้ว  ผู้ป่วยที่มารับบริการการผ่าตัดสามารถเข้าใจวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรี เวชกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแพทย์ไทยเราที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศขณะนี้ได้มีการเรียนรู้ เพิ่มเติมมากขึ้น และได้มีการกระจายความรู้ความเข้าใจออกไปอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนได้มีการเรียนการสอนในทุกสถาบันการแพทย์ของประเทศให้แพทย์มีความรู้ พื้นฐานในการขวนขวายต่อไปในภายภาคหน้า จนผมสังเกตพบว่าผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 เลยทีเดียวที่มีข้อมูลของการผ่าตัดผ่านกล้อง วิธีการผ่าตัดก็สามารถทำได้โดยการเป่าลมเข้าสู่ช่องท้อง แล้วใช้กล้องที่มีแสงสว่างอยู่ด้วยสอดผ่านแผลขนาด 5 มิลลิเมตรบริเวณสะดือลงสู่ภายในช่องท้อง เพื่อทำการตรวจสภาพภายในช่องท้องจากนั้นจึงสอดเครื่องมือขนาดเล็กผ่านแผล บริเวณท้องน้อยทั้งสองข้างเพื่อทำการผ่าตัด

สิบสองปีที่ผ่านไปได้ทำให้ผมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในเสี้ยวหนึ่งของชีวิต ได้รับใช้ประชาชนไปกว่า 2000 ราย แต่เมื่อเทียบกับงานทั้งประเทศที่มีนับหมื่นในแต่ละปีถือว่าน้อยมาก แต่ก็นับได้ว่าเป็นฟันเฟืองส่วนหนึ่งที่พยายามนำพาวิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง ให้ไปสู่จุดหมายที่แท้จริง เพราะนอกจากจะให้บริการผู้เจ็บป่วยแล้ว ยังได้ร่วมกับชมรมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องแห่งประเทศไทย เผยแพร่ความรู้อย่างต่อเนื่องอีก ด้วย                                                                         

จะเห็นได้ว่าการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชกรรมสามารถนำมาให้บริการแก่ผู้ป่วย ได้อย่างหลากหลาย โดยที่ข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดมีมากขึ้นและข้อห้ามก็จะลดลงตามลำดับ แปรตามจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจวิธีการทางด้านนี้ได้ขยายวงกว้างออกไป เรื่อยๆ   แต่ในขณะเดียวกันผลข้างเคียงก็อาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว    

จากประสบการณ์ดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนเห็นว่ามีสิ่งที่น่าจะสามารถนำมาบอก เล่า   ถึงศักยภาพของการนำวิธีการทางการแพทย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มารับ บริการอย่างสูงสุด อันเป็นการ transfer technology  จากอดีตมาสู่ยุคสมัยปัจจุบันเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ให้มากขึ้นในอนาคต

เขียนโดย:
นพ. มงคล จันทาภากุล
สูติ นรีเวชวิทยา - ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น