วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์การได้ยิน

                โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้จึงจัดตั้ง ศูนย์การได้ยิน เพื่อตรวจวินิจฉัยให้การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินและการพูดอย่างครบวงจร

                เด็ก : ทารกคลอดปกติ 1-3 ใน 1,000 คน มีปัญหาการได้ยินและทารกกลุ่มเสี่ยง 1-3 / เด็กกลุ่มเสี่ยงเด็กที่มีความผิดปกติทางการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดหรืออายุน้อย จะมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูด ทำให้เด็กพูดช้า พูดไม่สมวัย พูดไม่ชัด มีปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม การเรียนรู้ และการศึกษา
                ผู้ใหญ่ : การสูญเสียการได้ยินทำให้มีปัญหาในการติดต่อสื่อสาร การทำงาน และการเข้าสังคม 

                การตรวจพบความผิดปกติทางการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดหรืออายุน้อย ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาด้านต่างๆได้ เช่น เด็กหูตึง/หูหนวกสามารถแก้ไขโดยใส่เครื่องช่วยฟัง (hearing aid) หรือ cochlear implant ตามความเหมาะสม และฝึกพูด เป็นต้น นอกจากนี้ การสูญเสียการได้ยินบางชนิดสามารถป้องกันได้ เช่น มารดาฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้ที่ทำงานในสถานที่เสียงดัง ใส่เครื่องป้องกันเสียง เป็นต้น
การให้บริการ 
                • ตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด – เด็กวัยเรียน โดยใช้ otoacoustic emissions (  OAE ) และ / หรือ automated auditory brainstem response ( A-ABR )
                • ตรวจการได้ยินเด็ก อายุ 6 เดือน – 3 ปี ด้วย visual reinforcement audiometry ( VRA)
                • ตรวจการได้ยินเด็กอายุมากกว่า 3 ปี และผู้ใหญ่ด้วย pure tone audiometry
                • ตรวจการได้ยินในเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ เช่น ออทิสติก หรือเด็กที่มีปัญหาด้านสติปัญญา และอารมณ์ เป็นต้น โดย auditory brainstem response ( ABR)
                • ตรวจวัดระดับการได้ยินความถี่ต่างๆ โดย auditory steady state response (ASSR)
                • ตรวจการทำงานของหูชั้นใน electocochleaography 
                • P 300
                • ตรวจการทำงานของหูชั้นกลาง โดย tympanometry
                • ใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมแก่เด็กเละผู้ใหญ่
                • ผ่าตัดประมาทหูเทียม ( cochlear implant )
                • ติดตามการใช้เครื่องช่วยฟัง ปรับเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสม ดูแล และแก้ไขปัญหาเครื่องช่วยฟัง
                • ฝึกฟังและฝึกพูดภายหลังการใส่เครื่องช่วยฟัง
                • ตรวจคัดกรองการได้ยินและตรวจการได้ยินสำหรับพนักงานโรงงาน
                • ตรวจ ABR แก่ผู้ป่วยด้านการทรงตัวและสมอง
                • ให้คำปรึกษาด้านการได้ยินและการพูด
                • ผ่าตัดและแก้ไขปัญหาของหู
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ศูนย์การได้ยิน โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
เวลาทำการ 07.00 – 20.00 น.
โทรศัพท์ 02-378-9220-1 แฟกซ์ 02-731-7044

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น