วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทำอย่าไร.. เมื่อลดเท่าไหร่ก็ไม่ลง


หลายๆคนคงเคยเจอกับปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน และรู้สึกเป็นเรื่องยากที่จะลดน้ำหนักลงเพียงแค่ 2-3 กิโล ทั้งออกกำลังกายและควบคุมอาหาร แต่พยายามเท่าไหร่ก็ลดไม่ลงสักที เพราะการที่มีน้ำหนักเกินนั้นไม่ใช่แค่เรื่องของปริมาณการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง บางทีอาจเป็นสาเหตุซ่อนเร้นที่เรานึกไม่ถึง จึงทำให้การลดน้ำหนักไม่ประสบความสำเร็จสักที

นักวิจัยพบว่าการอักเสบเรื้อรังเป็นผลมาจากการทานอาหารแบบ SAD “Standard American Diet” ที่รับประทานแล้ว ต้องเศร้า เพราะ SAD ก็คืออาหารสไตล์อเมริกันที่มีน้ำตาลสูง มีไขมันแปลงรูปสูง (Trans fat พบในกลุ่มเบเกอรี่ และอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำๆ) มีกรดไขมันโอเมก้า 6 สูง (พบมากในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง ที่มักใช้มาปรุงอาหาร) แต่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ต่ำ นอกจากนั้น นักวิจัยยังพบว่าการรับประทานอาหารที่แพ้ หรือที่ร่างกายรับไม่ได้เป็นประจำ (Food sensitivity หรือ Food intolerance) ก็ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังแบบน้อยๆ และทำให้เกิดอาการบวมน้ำร่วมด้วย

เมื่อรับประทานอาหารไม่เหมาะสมแล้ว ก็จะเกิดการสะสมเซลล์ไขมันในร่างกายไปเรื่อยๆ ซึ่งไขมันเหล่านั้นไม่ได้แฝงตัวอยู่เฉยๆ แต่จะสร้างสารเคมีแห่งการอักเสบออกมาด้วยตัวหนึ่งก็คือ CRP ทำให้ร่างกายและสมองดื้อต่อฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำหนัก ตัวแรกคือ “เลปติน (Leptin)” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่บอกให้คุณรู้ว่าคุณอิ่มแล้ว ถ้าคุณเกิดดื้อต่อ เลปตินขึ้นมาก็ทำให้ ทานเยอะขึ้น อิ่มยาก ตัวที่สองคือ “อินซูลิน (Insulin)” การอักเสบเรื้อรังจะเข้าไปรบกวนการทำงานของอินซูลิน ถ้าเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ก็จะมีระดับอินซูลินในเลือดสูง ซึ่งจะไปยับยั้งการสลายไขมัน ทำให้คุณมีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พุงใหญ่ขึ้น และภัยร้ายในอนาคตก็คือ เบาหวาน นั่นเอง

และนั่นก็เป็นอีกสาเหตุของการลดน้ำหนักไม่ลงของหลายๆคนในปัจจุบัน แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ คุณสามารถตรวจวัดการอักเสบเรื้อรังในร่างกายได้โดยวิธีตรวจเลือด เช่น

CRP (C-Reactive Protein) Test เป็นการวัดหาระดับ CRP ซึ่งเป็นโปรตีนที่บอกถึงการอักเสบในร่างกาย ซึ่งการตรวจนี้บางครั้งเอามาใช้หลังการผ่าตัด หลังรักษาภาวะติดเชื้อ หรือใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต ซึ่งช่วยประเมินการอักเสบที่ผนังหลอดเลือดแดงได้

Fasting Blood Insulin Test เป็นการวัดระดับอินซูลินในเลือด หลังอดอาหารนาน 10-12 ชั่วโมง อินซูลินที่สูง เป็นตัวบอกได้ว่าร่างกายมีการอักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นแล้ว ระดับอินซูลินในเลือดหลังอดอาหารยิ่งสูง แสดงว่าการอักเสบยิ่งมาก

เมื่อทราบผลการตรวจแล้ว คุณก็จะทราบว่าการอักเสบเรื้อรังเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คุณลดความอ้วนไม่ลงหรือไม่ จากนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะการหาแนวทางการดูแลสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของร่างกายคุณอย่างแท้จริงนั้น คุณสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ที่ไลฟ์เซ็นเตอร์ ได้ค่ะ ฟังอย่างนี้แล้วค่อยมีกำลังใจในการลดน้ำหนัก ให้ฟิตแอนด์เฟิร์มกันหน่อยใช่ไหมคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น