วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รู้ทัน ... ป้องกันกระดูกพรุน

 







ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย โดยมักจะเกิดขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน ซึ่ง

ภาวะกระดูกพรุนนี้   เป็นสภาวะที่มวลกระดูกลดลง พร้อมกับมีการเสื่อมและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงสร้างภายในของกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะบาง ความแข็งแรงลดลง และแตกหักได้ง่าย หากไม่ดูแลป้องกัน หรือรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน รวมถึงกระดูกหัก ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก 

โรคกระดูกพรุนนี้ แบ่งเป็น 2 ชนิด 
1. โรคกระดูกพรุนแบบปฐมภูมิ (Primary osteoporosis) มักเกิดขึ้นกับ 

หญิงวัยหมดประจำเดือน (Post-menopausal osteoporosis)
คนสูงอายุ (Senile osteoporosis)  
2. โรคกระดูกพรุนแบบทุติยภูมิ  (Secondary osteoporosis) มักเกิดกับผู้ที่ได้รับผลกระทบต่างๆ ซึ่งมีอันตรายต่อกระดูก
•    โภชนาการ คนที่ทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ทานเค็ม หรือทานเนื้อสัตว์มาก
•    ชีวิตประจำวัน ไม่ชอบออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัด
•    โรคภัยไข้เจ็บ เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก ไตวายเรื้อรัง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รังไข่ฝ่อ การตัดมดลูก ความผิดปกติของฮอร์โมน
•    ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาทดแทนทัยรอยด์ ยากันชัก  ยาเตตร้าซันคลิน ยารักษาวัณโรค ไอโซไนเอซิค
•    รูปร่าง หากมีรูปร่างผอมบาง น้ำหนักตัวน้อย มีความเสี่ยงสูง 

อาการโรคกระดูกพรุน
ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยกระดูกพรุนจะมีกระดูกสันหลังยุบ โดยมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และหากกระดูกสันหลังยุบหลายๆ ปล้อง หลังจะโก่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก ซึ่งมีอันตรายสูง จึงควรได้รับการป้องกันและรักษาโดยทันที  

การตรวจความหนาแน่นของกระดูก (BMD) 
วิธีนี้ ช่วยในการวินิฉัยเพื่อบ่งชี้ความหนาแน่นของมวลกระดูกในโรคกระดูกพรุน ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจหนาแน่น คือ ผู้หญิงที่อยู่ระหว่าง และหลังหมดประจำเดือน ที่จะให้ฮอร์โมนทดแทน ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนวัย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติกระดูกเปราะหัก มีประวัติครอบครัวมีโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหัก มีน้ำหนักตัวน้อย และมีการใช้สารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน    

เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรทานแคลเซียมอย่างน้อย 1,200-1,500 มิลิกรัม และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ ควรทานวิตามินดีเสริม ออกกำลังกายที่ช่วยในการลดน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน และงดการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ พยายามหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้ม  แต่ถ้าหากตรวจพบว่ามีภาวะกระดูกพรุน  ควรได้รับการรักษาทางยาร่วมด้วย โดยปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น