วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Kawasaki Disease



               ในปี พ.ศ. 2510 นายแพทย์ Tomisaku Kawasaki ได้รายงานผู้ป่วยซึ่งเป็นที่รู้จักกันต่อมาในนามของ  Kawasaki disease หรือ mucocutaneous lymph node syndrome (MCLS, MLNS หรือ MCLNS) จากประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก  หลังจากนั้นได้มีรายงานของโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในประเทศญี่ปุ่น  ตลอดจนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย  ในระยะแรกเข้าใจกันว่า Kawasaki disease เป็นโรคที่ถึงแม้จะมีอาการรุนแรงแต่ผู้ป่วยก็หายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องรักษา  แต่ในระยะ 3 ปีหลังจากที่รู้จักโรคนี้กันแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น  พบว่าโรคนี้ทำให้เกิดการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน  และที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้ป่วยจะตายไปโดยไม่มีผู้ใดคาดคิดในระยะที่กำลังจะหายจากโรค คือในระยะฟักฟื้นหรือระยะรองเฉียบพลัน  การพบครั้งนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเข้าใจเดิมของแพทย์เกี่ยวกับลักษณะทางคลีนิก และการดำเนินของโรคอันนำไปสู่การเฝ้าระวังและการรักษาที่ต่างไปจากระยะแรกๆ

สาเหตุของโรค
               แม้จะได้มีการศึกษาอย่าง  มากมายก็ตามสาเหตุของ Kawasaki disease จนถึงปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบกัน

ลักษณะทางคลินิก
               Kawasaki disease มักเป็นในเด็กเล็ก โดย 80% ของผู้ป่วยจะมีอายุต่ำกว่า 5 ปี  median age ของ
ผู้ป่วยเท่ากับ 2 ปี พบในเพศชาย : เพศหญิง เท่ากับ 1.5 : 1 มีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงโดยมีระยะเวลาของการเป็นไข้นานตั้งแต่ 5 วัน ขึ้นไป ร่วมกับ

อาการอื่นๆ อีก 4 ใน 5 ข้อ  ดังต่อไปนี้

1. ตาแดง (ocular conjunctival injection) ทั้งสองข้าง
2.  การเปลี่ยนแปลงของริมฝีปากและในช่องปาก  ซึ่งอาจพบได้ดังนี้คือ ริมฝีปากแห้ง แดงแตก strawberry tongue และเยื่อบุในช่องปากแดง
3.  การเปลี่ยนแปลงของมือและเท้า  ซึ่งในระยะแรกจะพบฝ่ามือ ฝ่าเท้าแดงและ / หรือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าบวม ในระยะหลังประมาณวันที่สิบของโรคอาจพบการลอกของผิวหนังซึ่งจะเริ่มต้นที่บริเวณปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า  ในระยะเดือนที่สองของโรคอาจพบการเปลี่ยนแปลงบริเวณเล็บที่เรียกว่า transverse furrow
4.  ผื่นบริเวณลำตัวซึ่งได้มีหลายแบบ (polymorphous exanthema) แต่ส่วนใหญ่จะเป็น morbilliform maculopapular rash
5.  ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต  อาจจะมีอาการแดงของผิวหนังบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย

               นอกจากนั้น Kawasaki Disease ยังมีลักษณะทางคลินิกอื่นๆ ที่เกิดจากการมีรอยโรคในอวัยวะระบบต่างๆ ของร่างกายจะพบการเปลี่ยนแปลงในอวัยวะระบบต่างๆ เรียงจากมากไปหาน้อย  ดังนี้ 
1.  Anterior uveitis  พบจากการตรวจ slit lamp ซึ่งพบได้สูงถึง 83% ในสัปดาห์แรกของโรค
2.  Pyuria และ urethritis ซึ่งพบได้ 70% ในระยะเฉียบพลัน  ทำให้ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ  ซึ่งอาจพบได้มากถึง 100 เซลล์/มม.3 การตรวจปัสสาวะยังอาจพบ proteinuria ได้
3.   Arthralgia และ arttritis พบได้ 35 ถึง 40% มักพบได้ในสัปดาห์แรก  หรือในระยะรองเฉียบพลันและมักเป็นที่ข้อใหญ่ๆ เช่น เข่า ตะโพก ศอก บางครั้งจะมีน้ำในข้อร่วมด้วย  ซึ่งจะอยู่นานถึง  2 – 4 สัปดาห์ และหายได้เอง  น้ำในข้อมี neutrophil สูง   อาจสูงถึง   20,000–200,000 เซลล์/มม                                      
4.  Myositis และ myalgia
5.  Aseptic meningitis การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทกลางพบได้บ่อยโดยผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิด  งุ่นง่าน  อารมณ์เปลี่ยนง่าย  ประมาณ 1 ใน 3 มีอาการง่วงซึม  บางรายอาจเป็นมากจนไม่รู้สติไปเลย  การตรวจน้ำไขสันหลังพบลักษณะของ aseptic meningitis ได้ประมาณ 25% ของผู้ป่วย
6. Diarrhea ในบางครั้งอาจมี bloody diarrhea
7. Abdominal pain
8. Myocardiopathy
9. Pericardial effusion
10. Obstructive jaundice
11. Hydrops of gallbladder
12. Hepaittis พบตับอักเสบได้ประมาณ 10% ผู้ป่วยจะมีอาการเหลือง และมี serum transaminase เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
13. Acute mitral insufficiency
14. Myocardial infarction
15. Pneumonitis
16. Tympanitis

สำหรับการเปลี่ยนแปลงของการตรวจทางโลหิตวิทยาและชีวะเคมีของเลือด มีดังนี้คือ
1. จำนวนเม็ดเลือดขาว  และจำนวน neutrophil เพิ่มขึ้น
2. Hemoglobin ต่ำเล็กน้อย
3. ESR เพิ่มขึ้น
4. CRP เป็นบวก
5. Serum globulin สูงขึ้น
6. Thrombocyosis โดยจำนวนเกล็ดเลือดจะอยู่ระหว่าง 500,000 – 3,000,000 /มม3
7. ASO ไม่สูง

การวินิจฉัยโรค
               การวินิจฉัย Kawasaki disease ขึ้นกับลักษณะทางคลินิกต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว  ซึ่งอาจจะให้การวินิจฉัยได้ยากในระยะแรกของโรคที่ยังไม่มีอาการชัดเจน  นอกจากนั้นจะต้องวิเคราะห์แยกโรคที่มีส่วนคล้ายคลึงกันออกไปเช่น scarlet fever, staphylococcal scalded skin syndrome, toxic shock syndrome, measles, leptospirosis, Stevens-Johnson syndrome, juvenile rheumatoid arthritis เป็นต้น

โรคแทรกซ้อน
               โรคแทรกซ้อนที่สำคัญและอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตคือ  โรคแทรกซ้อนทางหัวใจได้แก่ anuerysm ของ coronary arteries และ large arteries อื่น , aneurysmal rupture, hemopericadium, coronary thrombosis, myocarditis, pericardial effusion, cardiac tamponade, arrhythmia และ mitral valve disease  การตายในระยะต้นเกิดจาก myocarditis และความผิดปกติของ conducting system เป็นส่วนใหญ่  ส่วนการตายในระยะหลังคือ สัปดาห์ที่ 2 – 4  เกิดจาก myocardial ischemia, acute myocardial infarction จาก aneurysmrupture หรือ thrombosis

                                                                                                                              

การรักษา
               การดูแลรักษาผู้ป่วย Kawasaki disease ควรจะเป็นการดูแลร่วมกันระหว่าง กุมารแพทย์  และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจเด็ก พบว่า Intravenous gammaglobulin (IVIG) ในขนาดสูงสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนทาง coronary artery ของผู้ป่วย Kawasaki disease โดยให้ในขนาด 2 กรัม/กก. ครั้งเดียว  ในกรณีที่ไข้ ไม่ลงใน 48 ชั่วโมง สามารถใชซ้ำได้อีกครั้ง และให้ aspirin 80-100 มก./กก. ในระยะเฉียบพลันของโรค และลดเป็น 5 มก./กก./วัน อีก 6-8 สัปดาห์



การพยากรณ์โรค
               ในผู้ป่วยที่ไม่พบโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจจะมี Complete recovery ในเด็กส่วนใหญ่ที่มีโรคแทรกซ้อนทางหัวใจมักจะสบายดีไม่มีอาการ จากการรวบรวมในญี่ปุ่นพบว่า 1-2 % ของผู้ป่วย Kawasaki disease เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจซึ่งมักเกิดใน 1-2 เดือน แต่การพยากรณ์โรคในระยะยาวยังไม่ทราบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น