ในตอนแรกเราได้รู้กันแล้วว่าอาการของโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร และการพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินก็จะทำให้ทราบว่ามีภาวะซึมเศร้า ซึ่งต้องให้การรักษา การได้ตรวจและรับคำปรึกษารวมทั้งยาจากจิตแพทย์ จะทำให้ได้รับผลการรักษาที่ดีมาก ลองมาทำความรู้จักกับกลุ่มยา และการรักษาวิธีต่าง ๆ กันนะครับ การรักษาด้วยยา ยาทั้งหลายจะเป็นการเข้าไปปรับเปลี่ยนระดับสารสื่อประสาทในสมองให้ทำงานเป็นปกติ |
มียาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าหลายชนิด แต่สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ • Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs). เป็นกลุ่มที่แพทย์หลายคนใช้ในการเริ่มต้นการรักษา เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อย ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น fluoxetine (Prozac), paroxetine (Paxil), sertraline (Zoloft), citalopram (Celexa) and escitalopram (Lexapro) ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ มีความต้องการทางเพศที่ลดลง แต่สามารถกลับเป็นปกติได้เมื่อร่างกายปรับตัวกับยาได้ บางรายอาจจะมีอาการทางเดินอาหาร ปวดหัว นอนไม่หลับ |
• Serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs). ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ duloxetine (Cymbalta), venlafaxine (Effexor) and desvenlafaxine (Pristiq). Side effects are similar to those caused by SSRIs. ในปริมาณยาที่สูงอาจจะทำให้มีอาการมึนงง และเหงื่อออกมาก และคนที่มีโรคตับไม่ควรใช้ยา duloxetine • Norepinephrine and dopamine reuptake inhibitors (NDRIs). Bupropion (Wellbutrin) เป็นยาเพียงไม่กี่ตัวที่ไม่มีผลต่อสมรรภาพทางเพศ แต่ในปริมาณสูงอาจจะทำให้เกิดการชักได้ • กลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ยาที่ไม่ได้อยู่ในสามกลุ่มแรก trazodone (Desyrel) and mirtazapine (Remeron). มักจะทำให้มีอาการง่วง หรืออาจจะเป็นตัวเสริมจากตัวอื่นเพื่อให้หลับได้ดีขึ้น • Tricyclic antidepressants. เป็นยากลุ่มที่ใช้กันมานานหลายปีแล้ว และยังมีประสิทธิภาพในการรักษาค่อนข้างดี แต่มีผลข้างเคียงจากยาค่อนข้างมาก จึงไม่ได้เลือกเป็นยากลุ่มแรกในการรักษา จะใช้ต่อเมื่อใช้ยาในกลุ่มข้างต้นแล้วไม่ได้ผล ผลข้างเคียงคือทำให้ความดันต่ำ ปากแห้ง ตามัว ท้องผูก หัวใจเต้นผิดปกติ หรือสับสน ผู้สูงอายุที่รับยานี้อาจมีปัญหากับความจำ หรือเห็นภาพหลอน และยากลุ่มนี้อาจจะทำให้น้ำหนักขึ้นได้ • Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs). MAOIs —ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ such as tranylcypromine (Parnate) and phenelzine (Nardil) — จะใช้ยากลุ่มนี้เมื่อกลุ่มอื่นไม่ได้ผล เพราะมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตราย โดยผู้รับยากลุ่มนี้ห้ามทานชีส แอลกอฮอล์ และยากลุ่มยาลดการคัดจมูก เพื่อป้องกันผลข้างเคียง การเลือกยาที่เหมาะสม แต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน และมีการตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางครั้งจะต้องมีการทดลองให้ยาและปรับยาจนกว่าจะได้ผลการรักษาที่ดี บางครั้งต้องใช้เวลาถึง 8 สัปดาห์หรือมากกว่าในการปรับยา บางครั้งถ้ามีผลข้างเคียงจากยา ควรจะต้องปรึกษาแพทย์ ไม่ควรหยุดการรักษาไปเอง ยาบางชนิด ต้องค่อย ๆ ลดปริมาณจนกระทั่งหยุดเพื่อป้องกันการกลับมามีอาการใหม่ หากการรักษาไม่ได้ผล แพทย์จำเป็นต้องตรวจพันธุกรรมที่เรียกว่า cytochrome P450 (CYP450) ซึ่งจะบอกได้ว่า ร่างกายจะมีการตอบสนองต่อยาได้ดีหรือไม่ และจะทำให้เลือกกลุ่มยาที่เหมาะสมได้ การบำบัดทางจิต Psychotherapy |
การให้คำปรึกษาทางจิต เป็นอีกเครื่องมือหลักในการรักษาโรคซึมเศร้า โดยอาศัยการพูดคุยถึงภาวะทางจิตใจและเรื่องราวต่าง ๆ กับแพทย์ผู้บำบัด ในระหว่างการพูดคุย ผู้เข้ารับการบำบัด จะได้เรียนรู้สาเหตุของภาวะซึมเศร้าทำให้เข้าใจมากขึ้น และได้เรียนรู้ในการจัดการกับความคิดหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และหาทางในการจัดการและแก้ไขกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และมีการตั้งเป้าหมายในชีวิต นอกจากนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะทำให้กลับมาสัมผัสกับความสุข และควบคุมชีวิตตนเอง รวมทั้งลดอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นความสิ้นหวัง หรือความโกรธได้ดีขึ้น มีหลักในการบำบัดหลายชนิด หนึ่งในวิธีเหล่านี้ที่เรียกว่า Cognitive behavioral therapy เป็นการบำบัดที่ใช้อย่างแพร่หลาย โดยการบำบัดนี้จะช่วยให้ค้นพบความเชื่อและพฤติกรรมในทางลบ และให้ทดแทนด้วยความคิดที่เป็นบวก โดยขึ้นอยู่กับความคิดของตนเอง โดยไม่ต้องไปพึงผู้อื่น หรือปัจจัยภายนอก ถึงแม้ว่าปัจจัยภายนอกจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่จะสามารถเปลี่ยนวิธีการคิดได้ Electroconvulsive therapy (ECT) |
เป็นการผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านสมอง ซึ่งเชือวว่าจะมีผลต่อระดับสารสื่อประสาท neurotransmitters ภายในสมอง การรักษานี้จะได้ผลทันทีในรายที่มีภาวะซึมเศร้าแบบรุนแรง แต่ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว คืออาจจะมีการสับสน เป็นได้ตั้งแต่ไม่กี่นาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง แต่การรักษานี้จะใช้เฉพาะในรายที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล และมีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย หรือไม่สามารถรับประทานยาได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามรักษา: • มีวินัยกับแผนการรักษา พบแพทย์ตามนัดทุกครั้งถึงแม้ว่าจะไม่อยากพบก็ตาม หรือแม้แต่รู้สึกปกติสบายดีก็ต้องพบตามนัด เพราะอาการอาจจะกลับมาได้ • เรียนรู้เกี่ยวภาวะซึมเศร้า • สนใจสังเกตสัญญาณเตือน • ออกกำลังกายเป็นประจำ • งดการดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด • พักผ่อนให้เพียงพอ |
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
โรคซึมเศร้า ตอนที่ 2 การรักษาและการปฏิบัติตัว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น