วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาการปวดที่พบได้บ่อยในคนทำงาน

Myofascial pain (MP) เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง ที่ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของร่างกาย อาการที่พบได้คือจะมีอาการปวดที่กล้ามเนื้อจดุใดจุดหนึ่ง อาการปวดอาจจะเป็นปวดร้าว ตึง เจ็บ แปล๊บ ตึง ๆ หรือทำให้เจ็บเวลาขยับ อาจจะมีจุดที่กดเจ็บชัดเจนบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการ เรียกว่า มี trigger point พบว่ามากกว่า 70% ของจุดนี้จะตอบสนองได้ดีด้วยการฝังเข็ม
ในบางคนไม่มีอาการปวดแต่ เมื่อทำการตรวจร่่างกายจะพบว่ามีความตึงของกล้ามเนื้อ
 และมีจุดที่กดเจ็บชัดเจน บางครั้งจะมีอาการคล้ายกับการปวดกล้ามเนื้อธรรมดา
แต่บางที่แตกต่างคือ ภาวะ MP นี้จะมีจุดที่เป็น trigger point ที่ชัดเจน
กล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัวเป็นเส้น จะเป็นจุดที่ทำให้ต่อไปกลายเป็น trigger point
ส่วนใหญ่แล้วคนที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อแบบนี้จะไม่มีอาการ ปัจจัยกระตุ้นให้มีอาการ
 เช่น ความเครียด การใช้งานกล้ามเนื้อ ท่านั่งทำงาน ท่ายกของหรือท่านอนทีทำให้มี
การเกณ็งของกล้ามเนื้อ


อาการ  
ผู้ป่วยที่มี MP มักจะมีอาการนำมาด้วยอาการปวดเฉพาะที่ หรือ มีอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อ
หรือข้อต่อ นอกจากนี้อาจจะมีอาการชาร่วมด้วย ลักษณะของการปวด อาจจะแตกต่างกัน
ไปในแต่ละส่วนของกล้ามเนื้อที่เป็น ในระยะแรกอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการใช้งาน
ผิดวิธี เช่นการยกของ การเอี้ยวตัวบิดตัว หลายคนจะมีอาการจนทำให้หลับไม่สนิท
 มีอาการเวลาพลิกตัว ในหลายรายจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลง หรืออาจจะทำ
ของหล่นง่ายกว่าเดิม


การตรวจร่างกาย  
การตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็เพียงพอต่อการให้การวินิจฉัยโรคนี้
จุด trigger point ที่ตรวจพบจะเป็นตัวสำคัญที่ประกอบการวินิจฉัย  โดยแต่ละคนก็จะมีจุดที่
เป็น trigger point ที่แตกต่างกัน เมื่อตรวจพบจุดที่เป็น trigger point แล้ว จะพบว่าจุดนั้น
มีกล้ามเนื้อแข็งกว่าจุดอื่น อาจจะตรวจง่าย ๆ ด้วยการค่อย ๆ กดไล่ไปบนกล้ามเนื้อบริิเวณ
ที่มีอาการปวด และจะเป็นจุดที่เมื่อกดไปจะเจ็บมากกว่าบริเวณอื่นด้วย ในบางรายอาจจะ
รู้สึกชาที่ผิวหนังตำแหน่งนั้นด้วย
ตัวบ่งชี้ที่บอกว่าเป็นจุด trigger point ได้แก่
  • มีจุดที่มีกล้ามเนื้อแข็งเกร็งกว่าจุื่อื่น
  • มีอาการเจ็บชัดเจนเมื่อมีการกดที่จุดนั้น
  • อาการเจ็บตำแหน่งนั้นทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้เต็มที่ 
สำหรับการตรวจเพื่อที่จะยื่นยัน อาจจะำทำหด้โดยการตรวจพิเศษ เช่นการตรวจด้วย
กระแสไฟฟ้า หรือการถ่ายภาพรังสีแบบพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีความจำเป็นใน
การตรวจเหล่านี้


สาเหตุ
มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิด MP เช่น การที่เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลัน
จากการใช้งานผิดท่าทาง บ่อยครั้งที่พบในคนที่มีความยาวขาสองข้า้งไม่เท่ากัน
หรือมีโครงกระดูกที่ผิดรูปร่าง รวมทั้งในคนที่นั่งทำงานกับโต๊ะทั้งวันและมีท่านั่งที่
ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการทำงานที่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ก็ทำให้มีอาการได้
 ภาวะที่เกี่ยวข้องจากเรื่องสารอาหารเช่น ภาวะโลหิตจาง การขาดแคลเซียม
โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามิน B1 – 6 – 12 ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นเช่น โรคติดเชื้อเรื้อรัง การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
ไทรอยด์ต่ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ และกรดยูริคในเลือดสูงผิดปกติ


การรักษา การทำกายภาพบำบัด  
เป้าหมายของการทำกายภาพ เพื่อแก้ไขการหดสั้นเกร็งของกล้ามเนื้อโดยการยืดกล้ามเนื้อ
สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และแก้ไขลักษณะท่าทาง ท่านั่ง ท่ายืน ให้เหมาะสม
การแก้ไขภาวะที่ความยาวของขาสองข้างไม่เท่ากัน แก้ไขได้ง่าย ๆ โดยการใส่อุปกรณ์ที่
หนุนส้นเท้าให้สูงขึ้น
ยังมีเทคนิคอีกหลายอย่างที่นำมาใช้ในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
  • Indomethacin phonophoresis คือการใช้ยาลดการอักเสบผ่านทางผิวหนังด้วยคลื่นเสียง
  • การนวด และการบริหารร่างกาย
  • การยืดกล้ามเนื้อ
  • การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า
การใช้เครื่องอัลตราซาวน์
อาชีวบำบัด Occupational Therapy
เป็นการช่วยให้มีท่าทาง การจัดอุปกรณ์สำนักงาน ความสูงของเก้าอี้และโต๊ะ
การจัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม จะช่วยแก้ปัญหา MP ได้เช่นเดียวกัน

 การฉีดยาลดการอักเสบหรือ steroid ที่ trigger point
ในบางกรณีจะให้การรักษาโดยการฉีดยาเข้าตำแหน่ง trigger point เพื่อลดการปวดหรือ
การอักเสบบริเวณนั้น ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่ดี แต่อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเช่น
การมีเลือดออก การติดเชื้อหรือมีการบาดเจ็บต่อเส้นเลือดเส้นประสาทได้

การรักษาด้วยยา 
ยาคลายกล้ามเนื้อและยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ NSAIDs เช่น Ibruprofen, Naproxen,
diclofenac จะเป็นการรักษาที่เสริมจากการรักษาข้างต้น การใช้ยาที่ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ในขนาดต่ำ ๆ เช่น amitriptyline สามารถช่วยได้ในผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
หรือเรื่องความเครียด

 การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น
  • การฝังเข็ม พบว่าได้ผลดีสำหรับ MP เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น