วันนี้ต้องขอยืมคำคมของเจ้าของแบรนด์ดังมาใช้สักหน่อยค่ะ จะได้เห็นภาพชัด สำหรับนักกีฬาที่รู้สึกหมดหวังเมื่อได้รับบาดเจ็บ เพราะกลัวกลับมาเล่นไม่ได้อีก อย่ากลัวเลยค่ะ สมัยนี้ทุกอย่างซ่อมได้เกือบหมด ขอเพียงแต่ทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัดเท่านั้น ไอเกิล มีคำแนะนำดีๆ จาก รศ.ดร.ประวิตร เจนวรรธนะกุล นักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท มาฝากทุกท่านค่ะ
เมื่อดูเผินๆ จะพบว่า การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในนักกีฬานั้น ไม่ได้แตกต่างจากการบาดเจ็บที่พบในคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักกีฬา โดยลักษณะการบาดเจ็บที่พบในคนทั้งสองกลุ่มนั้นคล้ายๆ กัน ตัวอย่างเช่น ข้อแพลง ข้อเคลื่อน เอ็นกล้ามเนื้อ หรือ เอ็นข้อต่ออักเสบ เป็นต้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในนักกีฬาและคนทั่วไปก็คือ ถ้าเป็นนักกีฬา การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกายที่รุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างกับการเคลื่อนไหวร่างกายในกิจวัตรประจำวันทั่วไปโดยสิ้นเชิง เช่น ในการเล่นเทนนิสนั้น มือจะมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 76 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือในการเล่นกอล์ฟ ลำตัวจะมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 426 องศาต่อวินาที เป็นต้น
ดังนั้น ร่างกายของนักกีฬาจึงจำเป็นต้องมีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้าน อาทิ กล้ามเนื้อต้องมีความแข็งแรงอย่างมาก เนื้อเยื่อต้องมีความยืดหยุ่นในทุกทิศทาง ร่างกายต้องมีความทนทานที่จะสามารถเล่นกีฬาได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ระบบการรับรู้ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ต้องเฉียบคม และนักกีฬาต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่างๆ ที่ปกติ ราบรื่น และเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อที่นักกีฬาจะได้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างเต็มศักยภาพ เมื่อนักกีฬาภายหลังได้รับบาดเจ็บ ในระยะแรกนักกีฬาอาจไม่สามารถสังเกตพบความบกพร่องที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้เลย โดยเฉพาะในระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน ต่อเมื่อนักกีฬาเริ่มกลับไปเล่นกีฬาของตนเองอกี ครงั้ ภายหลงั ทอี่ าการบาดเจบ็ บรรเทาลงแล้วจะพบว่า ทักษะหรือความคล่องแคล่วในการเล่นกีฬาของตนเองลดลงหรือไม่เหมือนเดิมหลายคนเข้าใจไปว่าเกิดจากขาดการฝึกซ้อม หรือฝึกซ้อมน้อยลงในระหว่างที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วร่างกายของตนยังฟิตไม่เท่าเดิม ทั้งยังมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บซํ้าขึ้นอีก
การบาดเจ็บจะมีผลกระทบต่อร่างกายนักกีฬาดังนี้
• กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ความแข็งแรงและยืดหยุ่นตัวลดลง เกิดการเมื่อยล้าง่าย และที่สำคัญคือ การสั่งงานให้กล้ามเนื้อหดตัว ต้องใช้เวลามากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงผลการแข่งขันกีฬาได้ การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อดังกล่าวนี้ เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ 5-7 วันแรกหลังเกิดการบาดเจ็บ
• โครงสร้างภายในและรอบข้อต่อ ไม่ว่าจะเป็น เอ็นข้อต่อ เยื่อหุ้มข้อต่อ หรือกระดูกอ่อน จะมีความยืดหยุ่นลดลงหรือข้อต่อยึดติด ขยับได้น้อยลง เนื่องจากมีพังผืดไปยึดเกาะ ซึ่งกระบวนการยึดติดของข้อต่อนี้ เริ่มต้นภายหลังเกิดการบาดเจ็บผ่านไปประมาณ 4 วันเท่านั้น พังผืดที่มายึดเกาะเอ็นข้อต่อนี้ มีความเปราะ จึงทำให้เอ็นข้อต่อไม่แข็งแรงเหมือนเดิม เกิดการฉีกขาดซํ้าได้ง่าย นอกจากนี้ หากเกิดภาวะบวมนานๆ จะทำให้ข้อต่อไม่มั่นคงส่งเสริมให้เกิดภาวะข้อเสื่อมขึ้นอย่างช้าๆ
• สำหรับตัวกระดูกเอง หากในระหว่างที่มีการบาดเจ็บ ทำให้ไม่สามารถลงนํ้าหนักตัวได้เหมือนปกติ หรือไม่มีการทำงานของกล้ามเนื้อในบริเวณที่บาดเจ็บอย่างเพียงพอ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการสูญเสียเนื้อกระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็ง และความยืดหยุ่นลดลง จึงเปราะและหักได้ง่าย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เริ่มเกิดขึ้น ภายหลังเกิดการบาดเจ็บผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์
• เส้นประสาท เป็นอีกโครงสร้างหนึ่งของร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากการบาดเจ็บ แต่มักไม่ค่อยได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร โดยการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะโดยตรงต่อเส้นประสาทหรือกับเนื้อเยื่อข้างเคียงที่อยู่ใกล้กับเส้นประสาท จะทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทขึ้นและมีพังผืดมาเกาะที่เส้นประสาท เมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เส้นประสาทจะไม่สามารถเคลื่อนไหว ยืดหรือหดได้เหมือนปกติ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดขึ้นมาได้
ดังนั้น การรักษานักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจึงแตกต่างจากการรักษาการบาดเจ็บในคนทั่วไป โดยนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บ ควรได้รับการรักษาทางการแพทย์ ควบคู่ไปกับการรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเล่นกีฬาอีกครั้ง
การดูแลรักษานักกีฬาหลังจากได้รับการบาดเจ็บ หรือ rehabilitation จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายของนักกายภาพบำบัดเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะต้องมีความเข้าใจเป็นอย่างดี ถึงการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อต่างๆ ภายหลังเกิดการบาดเจ็บแล้ว ยังต้องสร้างความมั่นใจให้นักกีฬาในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนดูแลให้นักกีฬาที่จะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิมโดยเร็ว และไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บซํ้าด้วย
การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายทางกายภาพบำบัดนั้น จึงมีเป้าหมายเพื่อรักษาสภาพของกล้ามเนื้อ ข้อต่อกระดูก เอ็นและเส้นประสาทภายหลังเกิดการบาดเจ็บ ให้เป็นปกติมากที่สุดพร้อมๆ กันไป นักกายภาพบำบัดจะสร้างโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย เพื่อให้นักกีฬาสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายที่สร้างขึ้น มีความจำเพาะเจาะจงกับชนิดของกีฬา ตำแหน่งและระดับที่เล่น ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน การออกแบบโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายที่เหมาะสมกับแต่ละคนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่าโดยธรรมชาติ เนื้อเยื่อของร่างกายจะมีการปรับตัวให้เข้ากับการใช้งาน หากโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงร่างกายโดยรวม ไม่พร้อมหรือสมบูรณ์เต็มที่สำหรับการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เป็นสาเหตุให้เล่นได้ไม่เต็มที่ที่สำคัญคือ นอกจากการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีความพร้อม สำหรับการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาแล้ว หลังการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย นักกีฬาควรให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจประเมินเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ และทำการแก้ไขเพื่อป้องกัน ไม่ให้นักกีฬาได้รับการบาดเจ็บซํ้าอีกในอนาคตด้วย เห็นไหมคะว่า วิทยาการด้านการแพทย์สมัยนี้ ไปไกลจริงๆ ดังนั้น นักกีฬาที่ได้รับการบาดเจ็บ อย่าหมดหวังนะคะ ชัยชนะไม่มีที่สิ้นสุดนั้นเป็นไปได้ ถ้าคุณใส่ใจค่ะ
Victory Never Dies
I had to borrow this phrase from that famous brand for this article because I want to make a point about how important it is for the athletes to recover 100% after injuries. Otherwise, their career and fortune may disappear right before their eyes.
Injuries will have the following effects on athletes:
• Muscle atrophy will cause a decrease in strength and flexibility. The muscle will also become stiff and tired easily. Most importantly, it will take a longer time for muscle contraction, which can be detrimental in athletic competition. Such change in the muscle will begin within 5 – 7 days of the injury.
• The structures around the joints such as the soft tissues and soft bones will have less flexibility or lock up due to fibrosis. The buildup of extra connective tissues occurs around 4 days after the injury and will weaken the existing ligament, causing it to be injured easily. If the inflammation persists, the ligament will no longer be enduring and can slowly cause deterioration of the joints.
• As for the bone, since injury allows for less movement, less pressure or less weight than normal, bone loss will occur, thereby resulting in less flexibility and strength to the bone. It will become more brittle over time. Such changes can occur within two weeks of the injury.
• The nerve is another structure that is affected by injury, but it does not receive as much attention as other tissues. When an injury occurs directly on the nerve or the tissue around the nerve, it will cause inflammation and fibrosis on the nerve.
When there is body movement, the nerve will not move with the body and will stir up pain instead. Therefore, it is crucial to their career that athletes fully recover before they strut on their field after injuries. Rehabilitation plays an important role in this case. Skilled therapists can help an athlete design a program that is tailored to the kind of sport and need for each athlete. More importantly, once the injury is fully healed, the therapist should recommend how to be in ‘ship shape’ to prevent future injuries.
There’s hope yet for all injuries, so don’t give up… your victory never dies if you care.