วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

คู่มือสำหรับผู้ป่วย อาการปวดใต้ส้นเท้า

คู่มือสำหรับผู้ป่วย อาการปวดใต้ส้นเท้า  Plantar fasciitis

ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดใต้ส้นเท้าโดยเฉพาะตอนตื่นนอน ตอนเช้าทำให้คุณรู้สึกว่าเช้าแรกของวันใหม่ เริ่มต้นด้วยความเจ็บปวด คุณหรือเขาเหล่านั้นจะรู้จักถึงอาการเจ็บส้นเท้าเป็นอย่างดี ในบางครั้งคุณอาจจะพบว่ามีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับโรคเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบที่คุณยังไม่ทราบหรือคิดไม่ถึง เอกสารฉบับนี้จะสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับอาการเจ็บส้นเท้าของคุณได้

เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ คืออะไร
เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดใต้ส้นเท้าอาจทำให้มีอาการปวดรู้สึกร้อน บวม หรือ มีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ แสดงถึงการเกิดการอักเสบ โดยเฉพาะที่ชั้นพังพืดในฝ่าเท้า ซึ่งมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อเหนียวชั้นบางๆ อาการปวดโดยส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อเหยียบพื้นก้าวแรกในตอนเช้า

สาเหตุของการเกิดอาการปวดใต้ฝ่าเท้า
โดยทั่วไปแล้วสาเหตุอาจเกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อฝ่าเท้า และกล้ามเนื้อน่อง อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อฝ่าเท้า การใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการใช้งาน เช่น  การวิ่งมากกว่าที่เคยวิ่ง การเดินมากกว่าที่เคยเดิน  หรือการออกกำลังหักโหมมากกว่าปกติ  หรือการออกกำลังกายที่อาจเกิดอันตรายต่อพังผืดฝ่าเท้าได้

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยปวดใต้ส้นเท้า
มีวิธีการการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธีอยู่หลายวิธีด้วยกันคือ
1. ลดน้ำหนัก การที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ จะทำให้พังพืดใต้ฝ่าเท้าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และมีอาการปวดมากขึ้น

2. เปลี่ยนรองเท้าหรือใช้อุปกรณ์เสริมส้นเท้า ในชีวิตประจำวันเราต้องมีการเดิน ควรใช้รองเท้าส้นเตี้ยหรือรองเท้าที่ไม่มีส้น วัสดุที่เป็นพื้นรองเท้าควรจะมีลักษณะหนานุ่ม  หรือใช้อุปกรณ์รองเสริมบริเวณส้นเท้า

3. การนวดส้นเท้า การนวดเป็นการรักษาอาการปวดส้นเท้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะตอนตื่นนอนยังไม่ควรรีบลงมาเดิน ให้ผู้ป่วยนั่งข้างเตียงทำการนวดฝ่าเท้าโดยใช้นิ้วมือ กดบริเวณฝ่าเท้าตั้งแต่ใต้ส้นเท้า ไล่ขึ้นไปจนถึงบริเวณข้อเท้า ดังรูปที่ 1 ทำจนรู้สึกฝ่าเท้านุ่ม ผ่อนคลายจึงลุกมาเดิน นอกจากนี้ในระหว่างเวลากลางวัน ผู้ป่วยก็ยังสามารถที่จะนวดฝ่าเท้าได้โดยการใช้ขวดน้ำทรงกระบอกไม้ไผ่ หรือกะลาผ่าครึ่งซีก นำมาวางบนพื้นใช้ฝ่าเท้าบริเวณอุ้งเท้าคลึงนวดเบา ๆ กระทำบ่อย ๆ ดังรูปที่ 2


4. การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาอาการปวดใต้ส้นเท้าเนื่องจากสาเหตุหนึ่งของอาการปวดคอ คือ กล้ามเนื้อในฝ่าเท้า และบริเวณน่องอ่อนแรงลง การบริหารจะสามารถทำได้โดย
        ท่าที่ 1 ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง ก้าวขาข้างใดข้างหนึ่งออกไปข้างหน้าให้ขาหลังงอเล็กน้อย ใช้มือทั้งสองข้างยันกำแพงพร้อมกันกับเหยียดขาหลังให้กล้ามเนื้อตึง ทำสลับกันสองข้าง ครั้งละ 10 วินาที วันละหลาย ๆ รอบ


        ท่าที่ 2 นั่งบนเก้าอี้วางเท้าบนพื้นที่ปูผ้าผืนเล็ก ๆ ไว้ พยายามใช้นิ้วเท้าจิกผ้าและดึงเข้าหาตัว หรือฝึกใช้นิ้วเท้าหยิบของบนพื้น


        ท่าที่ 3 นั่งบนเก้าอี้ วางเท้าบนพื้น พยายามเหยียด และยกนิ้วเท้าทั้งหมดขึ้น จากพื้น โดยให้ฝ่าเท้ายังชิดกับพื้น หัดเคาะพื้นโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าเพียงนิ้วเดียว

5. การใช้ยาต้านการอักเสบ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย มีข้อดีหลายประการ คือ จะช่วยให้อาการปวดและการเคลื่อนไหวดีขึ้น ในกรณีที่เริ่มเป็น การรับประทานยาต้านการอักเสบ มักจะได้ผลดี แต่เมื่อมีอาการปวดมาเป็นเวลานาน ๆ หรือรับประทานยา ไม่ได้ผล มักจะแนะนำให้ทำการฉีดยา สตีรอยด์ พบว่าสามารถออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 2 เดือน ผลข้างเคียงต่ำมาก สามารถฉีดซ้ำได้ 3-4 ครั้ง

6. การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ไม่ตอบสนองต่อการรักษา การผ่าตัดมักจะนิยมเปิดแผลบริเวณด้านในของส้นเท้า ในปัจจุบัน สามารถทำการผ่าตัดโดยการใช้ส่องกล้องข้อเจาะเป็นรูเข้าไปทำการผ่าตัดได้ 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น