ส่งท้ายปลายปีด้วยการมอบของขวัญสุขภาพดีให้กับตัวเองและคนที่คุณรัก เพื่อให้พร้อมเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ด้วยความสดใส และแข็งแรง กับแพคเกจตรวจเช็คสุขภาพ และแพคเกจความงามเฉพาะคุณ รับส่วนลดมากกว่า 50 http://samitivejhospitals.com/price_package_detail/reward_yourself_2012_639/th% ตั้งแต่ 1 ต.ค. - 30 พ.ย. 2555 ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ โทร. 02-3789000 ดูรายละเอียดคลิ๊ก : http://bit.ly/S4rD9y
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555
อีก 1 รางวัล แห่งความเชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ในระดับสากลมาตรฐาน
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ได้รับหนังสือรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล
ในการดูแลรักษาโรคเฉพาะทาง สำหรับโรคหืดในเด็ก (JCI CCPC CHILDHOOD ASTHMA PROGRAM)
เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก นอกประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจและมั่นใจที่พร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดในเด็กอย่างครอบคลุมในทุกขั้นตอน โดยผู้ป่วยเด็กจะได้รับการดูแลแบบมีแบบแผนและมาตรฐานการรักษาระดับสากล เนื่องจากในปัจจุบันโรคหืดในเด็กไทยได้เพิ่มขึ้น จากปัจจัยด้านพันธุกรรมและสารก่อภูมิแพ้รอบๆตัวเราที่มีมากขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้เราเข้าใจกลไกและพยาธิกำเนิดของโรคได้ดีขึ้น ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคและให้การรักษาอย่างเหมาะสม รวมถึงให้การดูแลและการเฝ้าระวังการกำเริบของโรคหืดได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนคริทร์ มีกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนบุคลากรด้านต่างๆ เพื่อบริการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดให้ได้ผลดีที่สุด โดยจะดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบและครบวงจร ทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะจับหืดเฉียบพลัน พร้อมติดตามการรักษาและประเมินภาวะโรคหืดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการรักษาด้วยยาที่เหมาะสม มีการประเมินภาวะภูมิแพ้ในร่างกายของผู้ป่วย ร่วมกับการประเมินสมรรถภาพการทำงานของปอด (ตามเกณฑ์อายุที่เหมาะสม) ให้การดูแลแนะนำป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ และการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ รวมถึงมีแผนการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืดเบื้องต้นในกรณีที่เกิดภาวะจับหืดเฉียบพลันที่บ้าน จากการดูแลจากทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักกายภาพบำบัด การอบรมค่ายเด็กโรคหืด (Childhood Asthma Camp) สำหรับผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยเด็กโรคหืดมีการควบคุมอาการของโรคได้อย่างดียิ่งขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อาทิ การเสื่อมสมรรถภาพการทำงานของปอดในภายหลังเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กโรคหืดสามารถมีชีวิตได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทีมแพทย์ของทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องให้ความรู้และดูแลไปพร้อมๆกัน ร่วมกับครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังเช่นนี้
นอกจากนี้ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ยังได้รับการรับรองมาตรฐานจากการรักษา จาก JCI ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
(JCI CCPC PRIMARY STROKE PROGRAM) และ โรคปวดหลัง (JCI CCPC LOW BACK PAIN PROGRAM)
(JCI CCPC PRIMARY STROKE PROGRAM) และ โรคปวดหลัง (JCI CCPC LOW BACK PAIN PROGRAM)
ปี พ.ศ. 2555 |
เรื่องการรักษาโรคหืดในเด็ก |
ปี พ.ศ. 2555 |
เรื่องการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง |
ปี พ.ศ. 2555 |
เรื่องการรักษาโรคปวดหลัง |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : คลิ๊ก http://bit.ly/PrH7jN
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
488 ถนนศรีนครินทร์ สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร: +66 (0) 2378-9000
โทรสาร: +66 (0) 2731-7044
อีเมล์: info.srinakarin@samitivej.co.th
488 ถนนศรีนครินทร์ สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร: +66 (0) 2378-9000
โทรสาร: +66 (0) 2731-7044
อีเมล์: info.srinakarin@samitivej.co.th
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555
Workshop "ชวนกินเจ เมนูดีเพื่อสุขภาพ" ในช่วงเทศกาลกินเจ
มีคนกล่าวว่า "หนึ่งมื้อกินเจ หมื่นชีวิตรอดตาย"
ถ้าท่านเป็นหนึ่งที่ตั้งใจเอาไว้ว่าจะกินเจ อิ่มกาย อิ่มใจ อิ่มบุญ ในเทศกาลปีนี้
มาร่วม Workshop "ชวนกินเจ เมนูดีเพื่อสุขภาพ" เรียนรู้วิธีทำอาหารเจกับเมนูเด็ด ให้กลายเป็นความไม่จำเจด้วยตัวคุณเอง กับ อ.เฉลิมชาติ ประไพ ผู้เชี่ยวชาญอาหารเจมากกว่า 30 ปีพร้อมคำแนะนำดีๆ ในการดูแลสุขภาพจาก พญ.มรกต ดีสมศักดิ์ อายุรแพทย์สาขาโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ในประเด็น "กินอย่างไร ให้ลำไส้ดี" และพบกับบูธผลิตภัณฑ์เจเพื่อสุขภาพในงาน
เราควรใส่ใจเรื่องกิน ไม่ใช่แค่เพียงเทศกาลเจเท่านั้น เพราะนั้นหมายถึง
"สุขภาพดี ที่ได้คุณภาพชีวิตที่ดี"
ในวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2555 เวลา 09.30-12.00 น.
ณ ห้องประชุมบัญชา ล่ำซำ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
สำรองร่วมกิจกรรมที่ Call Center โทร 0-2711-8181 (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
สนใจลงทะเบียน-----> Click
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555
เทคนิคการเลี้ยงลูกให้เก่งและดี ดีกรีฮาร์วาร์ด
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ ร่วมกับ บริษัท แม่เด็ก จำกัด ได้จัดให้มีงาน สัมมาเรื่อง เทคนิคการเลี้ยงลูกให้เก่งและดี ดีกรีฮาร์วาร์ด
- อยากให้ลูกเก่ง
- อยากให้ลูกดี
- อยากให้ลูกทั้งดีและเก่ง
- ถ่ายทอดประสบการณ์ จากการเลี้ยงลูกตลอดระยะเวลา 30 ปี โดย ศ.นพ.พิภพ จิรภิญโญ กุมารแพทย์สาขาวิชาโภชนาการและพฤติกรรมโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2555 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ณ Auditorium Room ชั้น 7 โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
สำรองที่นั่งโทร.
คุณสุนันทา เทียนแก้ว โทร. 086-7558890
คุณวิภาวี ไหมทอง โทร. 083-3945396
Link web: http://bit.ly/SNmUDH
อีกระดับการรักษากับปัญหานิ่วในถุงน้ำดี ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องที่ให้แผลเล็ก
อีกระดับการรักษา ที่ให้ แผลเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่า และฟื้นตัวเร็วกว่า
Minilaparoscopic Surgery
หากคุณมีอาการเหล่านี้
• ท้องอืด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หลังรับประทานอาหาร
• ปวดท้องรุนแรง โดยเฉพาะแถวใต้ชายโครงขวา
• ไข้สูงเฉียบพลัน
คุณอาจมีปัญหานิ่วในถุงน้ำดี ยิ่งถ้าคุณเครียดง่าย แถมชอบกินอาหารไขมันสูง ยิ่งเสี่ยง! หากคุณเริ่มมีอาการปวดท้องนานเกิน 4 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์ทันที ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ กับการผ่าตัดผ่านกล้องที่ให้แผลเล็ก จากเดิม 5 มม. เหลือเพียง 3 มม. ลดภาวะแทรกซ้อนและปลอดภัยสูง เพื่อช่วยให้คุณกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น และนอกจากนี้ยังสามารถช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน ไส้ติ่งและอื่นๆ ด้วยนวัตกรรมดังกล่าว ที่ให้แผลเล็กกว่าเดิมได้อีกด้วย
นพ.ภัคพงศ์ วัฒนโอฬาร
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้อง
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
เรื่องหญิงๆ ที่ผู้หญิงควรระวัง
เดือนสิงหาคมทีไร เป็นต้องให้คิดถึงสุขภาพของคุณผู้หญิงทุกที
ผู้หญิงด้วยกันต้องเล่าเรื่องสำคัญๆ
สู่กันฟังจะได้ดูแลป้องกันตัวเองให้ห่างจากโรคภัยไข้เจ็บนะคะ
ถ้าเป็นเรื่องผู้หญิงแล้วล่ะก็ มีหลายเรื่องที่ต้องเล่าสู่กันฟัง วันนี้เราเอาเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงค่ะ นั่นคือเรื่อง มะเร็งปากมดลูกค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทราบไหมคะว่าจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองของมะเร็งในสตรีไทยรองจาก มะเร็งเต้านมเลยล่ะค่ะ โดยมีอัตราอุบัติการณ์ปรับมาตรฐานตามอายุ (age-standardized incidence rate : ASR)ประมาณ 18.6 รายต่อประชากรสตรี 100,000 คนต่อปี นับว่าไม่น้อยทีเดียว
อาจารย์ยุทธศิลป์ เลื่อมประภัศร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาล สมิติเวช ศรีราชา ฝาก เตือนท่านผู้อ่านไอเกิลที่รักทุกท่านว่า อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกจะลดลงได้ถ้ามีการดำเนินการตรวจคัดกรองอย่างมี ระบบ โดยใช้วิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิผล ซึ่งจะทำให้คุณผู้หญิงทุกคนมีโอกาสได้ตรวจและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก
อาจารย์ยุทธศิลป์ เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูกว่า“เนื่องจากการเกิดมะเร็งปากมดลูก มีการดำเนินโรคก่อนการเป็นมะเร็งค่อนข้างนาน ทำ ให้คนไข้ที่มีความผิดปกติที่ปากมดลูกมีโอกาสได้รับการรักษาก่อนเป็นมะเร็ง ปากมดลูก ดังนั้นอาการเริ่มต้นจึงไม่มี แต่เมื่อไรก็ตามที่คนไข้ท่านนั้นมีอาการผิดปกติแล้ว นั่นหมายความว่าอาจเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้วก็ได้”
อาการของมะเร็งปากมดลูก
1. ตกขาว มีกลิ่นเหม็น
2.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน
3.อาการปวดหลัง ปวดกระดูกในอุ้งเชิงกราน
4. ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด
อาจารย์ยุทธศิลป์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “อาการในข้อ 3 และ 4 จะพบในผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 4 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อปล่อยให้มีอาการแล้ว ระยะของโรคอาจจะมากกว่าระยะที่ 1 หรือ 2” อาจารย์จึงอยากให้คุณ ผู้หญิงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตามคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์สัมพันธ์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นการตรวจแบบมาตรฐานเลยทีเดียว
1. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเซลล์วิทยา ควรเริ่มเมื่ออายุ 25 ปี ในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และ 30 ปี สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 25 ปี พบได้น้อยมาก(น้อยกว่า ร้อยละ 0.5)
2. ผู้ที่มีอายุ 25-65 ปี ควรตรวจคัดกรองทุก 2 ปี ส่วนการตรวจภายในเพื่อตรวจหาโรคอื่นๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์ ควรทำเป็นประจำทุกปี
3. ผู้ที่มีอายุ มากกว่า 30 ปี ที่เคยตรวจคัดกรองไม่พบเซลล์ผิดปกติ ติดต่อกัน 3 ครั้งและไม่เคยมีประวัติได้รับการรักษารอยโรคก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูก และไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ให้ทำการตรวจซํ้าได้ทุก 3-5 ปี
4. ถ้าตรวจคัดกรองด้วยเซลวิทยาร่วมกับ HPV DNA test ควรทำในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีโดยถ้าผลตรวจไม่พบเชื้อ HPV และเซลล์มะเร็งทั้ง 2 วิธี ควรตรวจซํ้าทุก 3 ปี
5. ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน HPV vaccine ควรได้รับการตรวจคัดกรองเช่นเดียวกับสตรีทั่วไป
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องควรตรวจคัดกรองทุก 6 เดือนในปีแรกหลังวินิจฉัยโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หลังจากนั้นจึงตรวจปีละ 1 ครั้งตลอดไป
7. ผู้ที่เคยได้รับการรักษารอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง หรือเคยเป็นมะเร็งปากมดลูกยังคงมีความเสี่ยงต่อการคงอยู่หรือกลับเป็นซํ้า ของโรค จึงควรได้รับการตรวจติดตามด้วยความถี่ตามคำแนะนำ
อาจารย์ยุทธศิลป์ ให้กำลังใจผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรค มะเร็งปากมดลูกว่า ในกรณีที่ผลการตรวจพบเซลล์ผิดปกติ ควรสังเกตอาการตัวเองอย่างใกล้ชิดและปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจติดตามอีก 3 ถึง 6 เดือน เนื่องจากภาวะเซลล์ผิดปกตินั้น ถ้าไม่รุนแรง หรือพบเซลล์มะเร็งนั้น ร่างกายสามารถกำจัดเซลล์ผิดปกตินั้นได้
2. ตรวจเพิ่มเติมด้วยการส่องกล้อง colposcope และตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูก เพื่อทำการวินิจฉัยว่าเป็นอะไร
3. ตรวจหาไวรัส HPV ในกรณีที่ยังไม่ตรวจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
โอย….ฟังเพลินๆ อยู่ดีๆ ต้องมีการส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อด้วย แล้วจะเจ็บมั้ยนี่ อาจารย์ยุทธศิลป์ ยืนยันว่าเหมือนโดนหยิกเดียวเท่านั้น แต่การตรวจด้วย คอลโปสโคป (colposcope) จะให้ประโยชน์มากใน
การตรวจหารอยโรคหรือความผิดปกติที่ปากมดลูก
“กล้อง colposcope นี้จะมีกำลังขยาย 6 ถึง 40 เท่าเพื่อดูการติดสีที่ผิดปกติขอบและความคมชัดของรอยโรค เส้นเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งจะช่วยกำหนดตำแหน่งที่แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อทำการตรวจหาภาวะความผิด ปกติของปากมดลูก ซึ่งเมื่อได้ตัดชิ้นเนื้อตรวจและได้ผลชิ้นเนื้อแล้วจึงจะสามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ” สำหรับการรักษาภาวะผิดปกติก่อนการเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจติดตาม ในกรณี รอยโรคเป็นไม่มาก และไม่รุนแรง
2. การจี้ความเย็น
3. การตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกด้วยลวดไฟฟ้า
4. การตัดมดลูกในกรณี สตรีมีบุตรเพียงพอแล้ว หรืออยู่ในช่วงใกล้หมดประจำเดือน
อาจารย์ยุทธศิลป์ฝากทิ้งท้ายเป็นกำลังใจให้ทุกท่านว่า “ส่วนใหญ่ ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภาวะผิดปกติก่อนการเป็นมะเร็งของปากมดลูกนั้น จะหายจากภาวะผิดปกติ และไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก แต่ต้องมีการตรวจติดตามอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับ มะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นโรคที่ป้องกันได้ แต่ต้องใส่ใจตนเอง พาตัวมาตรวจภายในและเช็คมะเร็งปากมดลูก ซึ่งความเชื่อเก่าๆ หรือความกลัว เช่นกลัวว่าตรวจแล้วจะเจอ คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ ให้เป็นแบบนี้ คือ เจอก่อนหายก่อนสบายก่อน และหมดกังวลก่อน”
ใครบ้านอยู่แถวศรีราชาสงสัยอะไรเรื่องมะเร็งปากมดลูก แวะไปขอคำปรึกษากับอาจารย์ได้นะคะ
ถ้าเป็นเรื่องผู้หญิงแล้วล่ะก็ มีหลายเรื่องที่ต้องเล่าสู่กันฟัง วันนี้เราเอาเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงค่ะ นั่นคือเรื่อง มะเร็งปากมดลูกค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทราบไหมคะว่าจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองของมะเร็งในสตรีไทยรองจาก มะเร็งเต้านมเลยล่ะค่ะ โดยมีอัตราอุบัติการณ์ปรับมาตรฐานตามอายุ (age-standardized incidence rate : ASR)ประมาณ 18.6 รายต่อประชากรสตรี 100,000 คนต่อปี นับว่าไม่น้อยทีเดียว
อาจารย์ยุทธศิลป์ เลื่อมประภัศร์ ผู้อำนวยการ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาล สมิติเวช ศรีราชา ฝาก เตือนท่านผู้อ่านไอเกิลที่รักทุกท่านว่า อุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกจะลดลงได้ถ้ามีการดำเนินการตรวจคัดกรองอย่างมี ระบบ โดยใช้วิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิผล ซึ่งจะทำให้คุณผู้หญิงทุกคนมีโอกาสได้ตรวจและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก
อาจารย์ยุทธศิลป์ เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูกว่า“เนื่องจากการเกิดมะเร็งปากมดลูก มีการดำเนินโรคก่อนการเป็นมะเร็งค่อนข้างนาน ทำ ให้คนไข้ที่มีความผิดปกติที่ปากมดลูกมีโอกาสได้รับการรักษาก่อนเป็นมะเร็ง ปากมดลูก ดังนั้นอาการเริ่มต้นจึงไม่มี แต่เมื่อไรก็ตามที่คนไข้ท่านนั้นมีอาการผิดปกติแล้ว นั่นหมายความว่าอาจเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้วก็ได้”
อาการของมะเร็งปากมดลูก
1. ตกขาว มีกลิ่นเหม็น
2.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน
3.อาการปวดหลัง ปวดกระดูกในอุ้งเชิงกราน
4. ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด
อาจารย์ยุทธศิลป์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “อาการในข้อ 3 และ 4 จะพบในผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 4 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อปล่อยให้มีอาการแล้ว ระยะของโรคอาจจะมากกว่าระยะที่ 1 หรือ 2” อาจารย์จึงอยากให้คุณ ผู้หญิงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตามคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์สัมพันธ์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นการตรวจแบบมาตรฐานเลยทีเดียว
1. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเซลล์วิทยา ควรเริ่มเมื่ออายุ 25 ปี ในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และ 30 ปี สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 25 ปี พบได้น้อยมาก(น้อยกว่า ร้อยละ 0.5)
2. ผู้ที่มีอายุ 25-65 ปี ควรตรวจคัดกรองทุก 2 ปี ส่วนการตรวจภายในเพื่อตรวจหาโรคอื่นๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์ ควรทำเป็นประจำทุกปี
3. ผู้ที่มีอายุ มากกว่า 30 ปี ที่เคยตรวจคัดกรองไม่พบเซลล์ผิดปกติ ติดต่อกัน 3 ครั้งและไม่เคยมีประวัติได้รับการรักษารอยโรคก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูก และไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ให้ทำการตรวจซํ้าได้ทุก 3-5 ปี
4. ถ้าตรวจคัดกรองด้วยเซลวิทยาร่วมกับ HPV DNA test ควรทำในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีโดยถ้าผลตรวจไม่พบเชื้อ HPV และเซลล์มะเร็งทั้ง 2 วิธี ควรตรวจซํ้าทุก 3 ปี
5. ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน HPV vaccine ควรได้รับการตรวจคัดกรองเช่นเดียวกับสตรีทั่วไป
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องควรตรวจคัดกรองทุก 6 เดือนในปีแรกหลังวินิจฉัยโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หลังจากนั้นจึงตรวจปีละ 1 ครั้งตลอดไป
7. ผู้ที่เคยได้รับการรักษารอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง หรือเคยเป็นมะเร็งปากมดลูกยังคงมีความเสี่ยงต่อการคงอยู่หรือกลับเป็นซํ้า ของโรค จึงควรได้รับการตรวจติดตามด้วยความถี่ตามคำแนะนำ
อาจารย์ยุทธศิลป์ ให้กำลังใจผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรค มะเร็งปากมดลูกว่า ในกรณีที่ผลการตรวจพบเซลล์ผิดปกติ ควรสังเกตอาการตัวเองอย่างใกล้ชิดและปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจติดตามอีก 3 ถึง 6 เดือน เนื่องจากภาวะเซลล์ผิดปกตินั้น ถ้าไม่รุนแรง หรือพบเซลล์มะเร็งนั้น ร่างกายสามารถกำจัดเซลล์ผิดปกตินั้นได้
2. ตรวจเพิ่มเติมด้วยการส่องกล้อง colposcope และตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูก เพื่อทำการวินิจฉัยว่าเป็นอะไร
3. ตรวจหาไวรัส HPV ในกรณีที่ยังไม่ตรวจ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก
โอย….ฟังเพลินๆ อยู่ดีๆ ต้องมีการส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อด้วย แล้วจะเจ็บมั้ยนี่ อาจารย์ยุทธศิลป์ ยืนยันว่าเหมือนโดนหยิกเดียวเท่านั้น แต่การตรวจด้วย คอลโปสโคป (colposcope) จะให้ประโยชน์มากใน
การตรวจหารอยโรคหรือความผิดปกติที่ปากมดลูก
“กล้อง colposcope นี้จะมีกำลังขยาย 6 ถึง 40 เท่าเพื่อดูการติดสีที่ผิดปกติขอบและความคมชัดของรอยโรค เส้นเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งจะช่วยกำหนดตำแหน่งที่แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อทำการตรวจหาภาวะความผิด ปกติของปากมดลูก ซึ่งเมื่อได้ตัดชิ้นเนื้อตรวจและได้ผลชิ้นเนื้อแล้วจึงจะสามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ” สำหรับการรักษาภาวะผิดปกติก่อนการเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจติดตาม ในกรณี รอยโรคเป็นไม่มาก และไม่รุนแรง
2. การจี้ความเย็น
3. การตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกด้วยลวดไฟฟ้า
4. การตัดมดลูกในกรณี สตรีมีบุตรเพียงพอแล้ว หรืออยู่ในช่วงใกล้หมดประจำเดือน
อาจารย์ยุทธศิลป์ฝากทิ้งท้ายเป็นกำลังใจให้ทุกท่านว่า “ส่วนใหญ่ ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภาวะผิดปกติก่อนการเป็นมะเร็งของปากมดลูกนั้น จะหายจากภาวะผิดปกติ และไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก แต่ต้องมีการตรวจติดตามอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับ มะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นโรคที่ป้องกันได้ แต่ต้องใส่ใจตนเอง พาตัวมาตรวจภายในและเช็คมะเร็งปากมดลูก ซึ่งความเชื่อเก่าๆ หรือความกลัว เช่นกลัวว่าตรวจแล้วจะเจอ คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ ให้เป็นแบบนี้ คือ เจอก่อนหายก่อนสบายก่อน และหมดกังวลก่อน”
ใครบ้านอยู่แถวศรีราชาสงสัยอะไรเรื่องมะเร็งปากมดลูก แวะไปขอคำปรึกษากับอาจารย์ได้นะคะ
ประโยชน์ของไฟเบอร์ อาหารที่หมอหมีแนะนำเป็นประจำ
หมอหมีขอก้าวต่อไปในการรณรงค์ให้ผู้อ่านไอเกิลทุกท่านมีสุขภาพดี คราวที่แล้วเราพูดถึงการออกกำลังกายกันไปแล้วนะครับ คราวนี้เรามาพูดถึงเรื่องอาหารกันบ้าง หมอหมีขอยกเรื่องไฟเบอร์ มาอย่างเดียวก่อนนะครับ
ไฟเบอร์ในอาหาร อีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในอาหารสุขภาพ หลาย คนคงเคยได้ยินคำแนะนำที่ว่าให้พยายามทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง แต่อาจจะไม่รู้ว่ามันดีต่อสุขภาพสุดๆ ได้ยังไง วันนี้หมอหมีขอเฉลยให้ทราบกันจะๆ ไปเลยดีกว่าครับ
ไฟเบอร์ในอาหารพบได้จากผลไม้ ผัก ธัญพืช เรื่องที่ทราบกันดีอยู่แล้วก็คือ อาหารกลุ่มนี้จะสามารถป้องกันท้องผูกได้ ยิ่งไปกว่านั้นอาหารกลุ่มนี้ยังสามารถลด ความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเบาหวานได้ด้วย
ไฟเบอร์ในอาหารคืออะไร?
ไฟเบอร์ในอาหารหรืออาหารที่มีกาก เช่น อาหารที่มาจากพืชที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและไม่สามารถดูดซึมได้ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่เป็นแป้ง ไขมันหรือโปรตีน ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ ดังนั้น กลุ่มไฟเบอร์นี้จะผ่านไปตามทางเดินอาหารทั้งๆ ที่ดูเหมือนไม่มีหน้าที่อะไร แต่อันที่จริงแล้วมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพ
ไฟเบอร์สามารถแบ่งออกเป็น สองกลุ่ม คือกลุ่มที่ละลายนํ้า กับกลุ่มที่ไม่ละลายนํ้า
• ชนิดไม่ละลายนํ้า Insoluble fiber กลุ่มนี้จะช่วยให้การเคลื่อนของอาหารทาง ทางเดินอาหารดีขึ้นและทำให้มีกากทำให้ป้องกันท้องผูกได้ดี เช่นจาก whole-wheat flour, wheat bran, ถั่วและผักชนิดต่างๆ
• ชนิดละลายนํ้าได้ Soluble fiber กลุ่มนี้เมื่อละลายนํ้าแล้วจะมีลักษณะคล้ายเจลจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และระดับนํ้าตาลได้ กลุ่มนี้พบใน ถั่ว แอปเปิ้ล ผลไม้เปรี้ยว แครอท เป็นต้น เพื่อให้ได้ไฟเบอร์ทั้งสองกลุ่มควรเลือกทานอาหารกลุ่มที่มีไฟเบอร์สูงให้ได้ หลากหลายชนิด
ประโยชน์จากอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
• ช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นปกติ โดยจะเพิ่มนํ้าหนักและขนาดของอุจจาระ รวมทั้งทำให้นุ่มขึ้น สามารถผ่านได้สะดวก และลดการเกิดท้องผูก ยังช่วยลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวนได้ด้วย
• ช่วยคงความแข็งแรงของลำไส้สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดริดสีดวงและติ่งเนื้อในลำไส้
• ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ไฟเบอร์กลุ่มที่ละลายนํ้าพบในถั่ว oats, flax seed สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยลดไขมันตัวไม่ดี LDL นอกจากนี้มีวิจัยที่บ่งถึงการลดระดับความดันโลหิต และการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย
• ช่วยควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด Helps control blood sugar levels ไฟเบอร์ชนิดละลายนํ้าได้ จะช่วยลดการดูดซึมของนํ้าตาล ในผู้ป่วยเบาหวานจะทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดดีขึ้น ส่วนไฟเบอร์ชนิดที่ ไม่ละลายนํ้าจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ได้
• ช่วยในการลดนํ้าหนัก Aids in weight loss อาหารไฟเบอร์สูงมักจะใช้เวลาในการเคี้ยวมากกว่า ทำให้ร่างกายมีเวลาที่จะรับรู้ว่าเราไม่หิวได้นานขึ้น (ประมาณ 20 นาที หลังจากเริ่มทานอาหารกว่าที่สมองจะรับรู้สัญญาณอิ่มหรือหิว) การทานช้าลงจะช่วยป้องกันการับประทานมากเกินไปได้ นอกจากนี้ยังทำให้อิ่มและอยู่ท้องได้นานกว่า รวมถึงกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พลังงานไม่สูงมากเกินไป
• ผลในเรื่องการป้องกันมะเร็งลำไส้ Uncertain effect on colorectal cancer เรื่องนี้ยังมีวิจัยที่ขัดแย้งกัน บางวิจัยบอกลดความเสี่ยงได้ บางวิจัยบอกว่าไม่แตกต่าง
ปริมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับต่อวัน
• ผู้ชาย อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 38 กรัมต่อวัน
• ผู้ชาย อายุมากกว่า 51 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 30 กรัมต่อวัน
• ผู้หญิง อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 25 กรัมต่อวัน
• ผู้หญิง อายุมากกว่า 50 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 21 กรัมต่อวัน
แหล่งอาหารไฟเบอร์ที่ดีได้แก่
• ธัญพืช และ ผลิตภัณฑ์ whole grain
• ผลไม้
• ผัก
• ถั่วชนิดต่าง ๆ
• ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืช
• ข้าวกล้อง
การรับประทานธัญพืชที่ขัดสี นอกจากจะทำให้ไฟเบอร์ลดลงแล้ว ยังทำให้เสียวิตามินไปบางส่วนด้วย เช่นเดียวกับการรับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกออกหมดการเสริมอาหารเสริมพวกไฟ เบอร์แนะนำให้ใช้ต่อเมื่อการรับประทานปกติแล้วยังไม่สามารถได้ไฟเบอร์อย่าง เพียงพอ
เทคนิคในการทานไฟเบอร์ให้ได้มากขึ้นลองแบบนี้ดูนะครับ
• เริ่มต้นตั้งแต่มื้อแรกของวัน เพิ่มไฟเบอร์ เช่น ซีเรียล เข้าไปในอาหารเช้าหรือเติม wheat bran เข้าไปในอาหาร หนึ่งช้อนโต๊ะ จะได้ ไฟเบอร์ ไปแล้ว 5 กรัม
• เปลี่ยนเป็น ข้าวกล้อง หรือขนมปัง whole wheat จะได้เพิ่มไฟเบอร์อีกประมาณ 2 กรัมต่อserving
• เพิ่มผักหรือผลไม้ในอาหาร ในซุปหรือซอสที่ราดอาหาร เติมผักและผลไม้เข้าไป
• รับประทานถั่วชนิดต่างๆ ให้มากขึ้น
• รับประทานผลไม้ทุกมื้อ
• ปรับเปลี่ยนอาหารว่างของคุณ มาเป็นผลไม้แห้ง popcorn ไขมันตํ่าหรือ cracker ธัญพืช หรือว่าถั่วสักหนึ่งกำมือ แทนของหวานหรือขนมอื่นๆ
• อ่านฉลากโภชนาการเพื่อเลือกอาหารที่ไฟเบอร์สูง เลือกดูดีๆ นะครับ ตัวอย่างที่นำมาให้ดูนี้ แสดงให้เห็นว่ารับประทานอาหารในกล่องนี้ครึ่งถ้วยหรือ 130 กรัม จะได้ประมาณ 140 แคลอรี่ มีไขมัน 0.5 กรัม มีโซเดียม 510 มิลลิกรัม มีไฟเบอร์ 6 กรัม นํ้าตาล 11 กรัม โปรตีน 6 กรัม
• เวลาอ่านอย่าดูแต่ไฟเบอร์อย่างเดียวนะครับ ดูให้ครบถ้วน อย่างกล่องนี้ทานแค่กล่องเดียวคุณผู้หญิงจะได้ไฟเบอร์เกือบครบตามที่หมอหมี บอก คือ 21 กรัม แต่ถ้าทานหมดกล่องก็ฟาดเข้าไปเกือบ 500 แคลอรี่แล้วล่ะครับ นํ้าตาลเกือบ 40 กรัม ไม่ดีแน่เพราะสำหรับคุณผู้หญิง 20 กรัม ประมาณ 5 ช้อนชา ก็เต็มที่แล้วครับ
• การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงดีต่อร่างกาย แต่ถ้าหากว่ารับประทานทีละมากๆ อย่างรวดเร็ว จะทำให้มีลมในท้องมากเกินไปได้ หรือทำให้ปวดเกร็งท้องได้ ค่อยๆ เพิ่มไฟเบอร์ในอาหารของคุณทีละน้อย และดื่มนํ้าให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ไฟเบอร์ทำงานได้อย่างเต็มที่
รู้อย่างนี้แล้ว มื้อต่อไปของคุณเพิ่มไฟเบอร์ให้ร่างกายหน่อยนะครับ ฉบับหน้าหมอหมีจะเล่าเรื่องปริมาณอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละมื้อนะครับ ใครสงสัยอะไร tweet หรือ facebook หาหมอหมีได้นะครับที่ #drcarebear
ไฟเบอร์ในอาหาร อีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในอาหารสุขภาพ หลาย คนคงเคยได้ยินคำแนะนำที่ว่าให้พยายามทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง แต่อาจจะไม่รู้ว่ามันดีต่อสุขภาพสุดๆ ได้ยังไง วันนี้หมอหมีขอเฉลยให้ทราบกันจะๆ ไปเลยดีกว่าครับ
ไฟเบอร์ในอาหารพบได้จากผลไม้ ผัก ธัญพืช เรื่องที่ทราบกันดีอยู่แล้วก็คือ อาหารกลุ่มนี้จะสามารถป้องกันท้องผูกได้ ยิ่งไปกว่านั้นอาหารกลุ่มนี้ยังสามารถลด ความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคเบาหวานได้ด้วย
ไฟเบอร์ในอาหารคืออะไร?
ไฟเบอร์ในอาหารหรืออาหารที่มีกาก เช่น อาหารที่มาจากพืชที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและไม่สามารถดูดซึมได้ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่เป็นแป้ง ไขมันหรือโปรตีน ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ ดังนั้น กลุ่มไฟเบอร์นี้จะผ่านไปตามทางเดินอาหารทั้งๆ ที่ดูเหมือนไม่มีหน้าที่อะไร แต่อันที่จริงแล้วมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพ
ไฟเบอร์สามารถแบ่งออกเป็น สองกลุ่ม คือกลุ่มที่ละลายนํ้า กับกลุ่มที่ไม่ละลายนํ้า
• ชนิดไม่ละลายนํ้า Insoluble fiber กลุ่มนี้จะช่วยให้การเคลื่อนของอาหารทาง ทางเดินอาหารดีขึ้นและทำให้มีกากทำให้ป้องกันท้องผูกได้ดี เช่นจาก whole-wheat flour, wheat bran, ถั่วและผักชนิดต่างๆ
• ชนิดละลายนํ้าได้ Soluble fiber กลุ่มนี้เมื่อละลายนํ้าแล้วจะมีลักษณะคล้ายเจลจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และระดับนํ้าตาลได้ กลุ่มนี้พบใน ถั่ว แอปเปิ้ล ผลไม้เปรี้ยว แครอท เป็นต้น เพื่อให้ได้ไฟเบอร์ทั้งสองกลุ่มควรเลือกทานอาหารกลุ่มที่มีไฟเบอร์สูงให้ได้ หลากหลายชนิด
ประโยชน์จากอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
• ช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นปกติ โดยจะเพิ่มนํ้าหนักและขนาดของอุจจาระ รวมทั้งทำให้นุ่มขึ้น สามารถผ่านได้สะดวก และลดการเกิดท้องผูก ยังช่วยลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวนได้ด้วย
• ช่วยคงความแข็งแรงของลำไส้สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดริดสีดวงและติ่งเนื้อในลำไส้
• ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ไฟเบอร์กลุ่มที่ละลายนํ้าพบในถั่ว oats, flax seed สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยลดไขมันตัวไม่ดี LDL นอกจากนี้มีวิจัยที่บ่งถึงการลดระดับความดันโลหิต และการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย
• ช่วยควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด Helps control blood sugar levels ไฟเบอร์ชนิดละลายนํ้าได้ จะช่วยลดการดูดซึมของนํ้าตาล ในผู้ป่วยเบาหวานจะทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดดีขึ้น ส่วนไฟเบอร์ชนิดที่ ไม่ละลายนํ้าจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ได้
• ช่วยในการลดนํ้าหนัก Aids in weight loss อาหารไฟเบอร์สูงมักจะใช้เวลาในการเคี้ยวมากกว่า ทำให้ร่างกายมีเวลาที่จะรับรู้ว่าเราไม่หิวได้นานขึ้น (ประมาณ 20 นาที หลังจากเริ่มทานอาหารกว่าที่สมองจะรับรู้สัญญาณอิ่มหรือหิว) การทานช้าลงจะช่วยป้องกันการับประทานมากเกินไปได้ นอกจากนี้ยังทำให้อิ่มและอยู่ท้องได้นานกว่า รวมถึงกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พลังงานไม่สูงมากเกินไป
• ผลในเรื่องการป้องกันมะเร็งลำไส้ Uncertain effect on colorectal cancer เรื่องนี้ยังมีวิจัยที่ขัดแย้งกัน บางวิจัยบอกลดความเสี่ยงได้ บางวิจัยบอกว่าไม่แตกต่าง
ปริมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับต่อวัน
• ผู้ชาย อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 38 กรัมต่อวัน
• ผู้ชาย อายุมากกว่า 51 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 30 กรัมต่อวัน
• ผู้หญิง อายุน้อยกว่า 50 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 25 กรัมต่อวัน
• ผู้หญิง อายุมากกว่า 50 ปี ควรจะได้รับไฟเบอร์ 21 กรัมต่อวัน
แหล่งอาหารไฟเบอร์ที่ดีได้แก่
• ธัญพืช และ ผลิตภัณฑ์ whole grain
• ผลไม้
• ผัก
• ถั่วชนิดต่าง ๆ
• ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืช
• ข้าวกล้อง
การรับประทานธัญพืชที่ขัดสี นอกจากจะทำให้ไฟเบอร์ลดลงแล้ว ยังทำให้เสียวิตามินไปบางส่วนด้วย เช่นเดียวกับการรับประทานผลไม้ที่ปอกเปลือกออกหมดการเสริมอาหารเสริมพวกไฟ เบอร์แนะนำให้ใช้ต่อเมื่อการรับประทานปกติแล้วยังไม่สามารถได้ไฟเบอร์อย่าง เพียงพอ
เทคนิคในการทานไฟเบอร์ให้ได้มากขึ้นลองแบบนี้ดูนะครับ
• เริ่มต้นตั้งแต่มื้อแรกของวัน เพิ่มไฟเบอร์ เช่น ซีเรียล เข้าไปในอาหารเช้าหรือเติม wheat bran เข้าไปในอาหาร หนึ่งช้อนโต๊ะ จะได้ ไฟเบอร์ ไปแล้ว 5 กรัม
• เปลี่ยนเป็น ข้าวกล้อง หรือขนมปัง whole wheat จะได้เพิ่มไฟเบอร์อีกประมาณ 2 กรัมต่อserving
• เพิ่มผักหรือผลไม้ในอาหาร ในซุปหรือซอสที่ราดอาหาร เติมผักและผลไม้เข้าไป
• รับประทานถั่วชนิดต่างๆ ให้มากขึ้น
• รับประทานผลไม้ทุกมื้อ
• ปรับเปลี่ยนอาหารว่างของคุณ มาเป็นผลไม้แห้ง popcorn ไขมันตํ่าหรือ cracker ธัญพืช หรือว่าถั่วสักหนึ่งกำมือ แทนของหวานหรือขนมอื่นๆ
• อ่านฉลากโภชนาการเพื่อเลือกอาหารที่ไฟเบอร์สูง เลือกดูดีๆ นะครับ ตัวอย่างที่นำมาให้ดูนี้ แสดงให้เห็นว่ารับประทานอาหารในกล่องนี้ครึ่งถ้วยหรือ 130 กรัม จะได้ประมาณ 140 แคลอรี่ มีไขมัน 0.5 กรัม มีโซเดียม 510 มิลลิกรัม มีไฟเบอร์ 6 กรัม นํ้าตาล 11 กรัม โปรตีน 6 กรัม
• เวลาอ่านอย่าดูแต่ไฟเบอร์อย่างเดียวนะครับ ดูให้ครบถ้วน อย่างกล่องนี้ทานแค่กล่องเดียวคุณผู้หญิงจะได้ไฟเบอร์เกือบครบตามที่หมอหมี บอก คือ 21 กรัม แต่ถ้าทานหมดกล่องก็ฟาดเข้าไปเกือบ 500 แคลอรี่แล้วล่ะครับ นํ้าตาลเกือบ 40 กรัม ไม่ดีแน่เพราะสำหรับคุณผู้หญิง 20 กรัม ประมาณ 5 ช้อนชา ก็เต็มที่แล้วครับ
• การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงดีต่อร่างกาย แต่ถ้าหากว่ารับประทานทีละมากๆ อย่างรวดเร็ว จะทำให้มีลมในท้องมากเกินไปได้ หรือทำให้ปวดเกร็งท้องได้ ค่อยๆ เพิ่มไฟเบอร์ในอาหารของคุณทีละน้อย และดื่มนํ้าให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ไฟเบอร์ทำงานได้อย่างเต็มที่
รู้อย่างนี้แล้ว มื้อต่อไปของคุณเพิ่มไฟเบอร์ให้ร่างกายหน่อยนะครับ ฉบับหน้าหมอหมีจะเล่าเรื่องปริมาณอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละมื้อนะครับ ใครสงสัยอะไร tweet หรือ facebook หาหมอหมีได้นะครับที่ #drcarebear
ลูกจ๋า…แม่ปวดหลังจ้ะ
ลูก คือ ของขวัญล้ำค่าสำหรับผู้เป็นแม่ ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่ไปกว่า การได้เห็นลูกน้อยเกิดมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง1แต่กว่าที่ทารกน้อยคนหนึ่งจะ ออกมาลืมตาดูโลกได้อย่างสมบูรณ์นั้น แม่ต้องอุ้มท้องนานถึง 9 เดือน ในช่วงตั้งครรภ์นี้1ต้องแบกรับภาระทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสรีระที่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักตัวที่มากขึ้นเพื่อรองรับทารก ความแปรปรวนทางด้านอารมณ์1และจิตใจ1แต่ไม่ว่าจะหนักแค่ไหน คุณแม่ทุกคนก็พร้อมจะรับมืออย่างไม่รู้จักเหนื่อยหน่าย
ด้วยนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์นี่เอง เวลาคุณแม่จะลุก นั่ง ยืน หรือเดิน จึงต้องเกร็งและแอ่นหลังมากขึ้น แม้เพียงยืนเฉยๆ ก็ทำให้ปวดหลังได้แล้ว อาการปวดหลังจึงเป็นปัญหายอดฮิตของผู้หญิงตั้งครรภ์ ถึงแม้จะไม่อันตรายแต่ก็เป็นปัญหากวนใจให้กับคุณแม่หลายๆ ท่าน และบางท่านอาจปวดมากจนต้องปรึษาแพทย์ก็มีในช่วง 3-4 เดือนแรก อาจมีอาการปวดไม่มากนัก แต่เมื่อเข้าสู่เดือนหลังๆ นํ้าหนักยิ่งเพิ่มมากขึ้น ท้องก็ยิ่งเริ่มคล้อยตํ่า และถ่วงไปด้านหน้ามากขึ้น จึงต้องออกแรง และเกร็งมากขึ้น ลุก นั่ง ลำบากมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดอาการปวดหลัง
สาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง ก็คือ กระดูกสันหลังของคนเราประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆ เรียงต่อกัน ในแต่ละข้อมีหมอนรองกระดูกและเส้นเอ็นเพื่อช่วยในการยึดให้กระดูกเชื่อมต่อ กันอย่างแข็งแรง แต่เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง อย่างน่ามหัศจรรย์ สามารถปรับตัวให้ยืดหยุ่น ตามร่างกายที่ต้องขยายขึ้น ทำให้ข้อต่อต่างๆ หลวมมากขึ้น รวมถึงกระดูกเชิงกรานขยายมากขึ้น เพื่อให้คลอดลูกได้ง่าย เหมือนกับการคลายน๊อตให้หลวม ดังนั้น เวลายืน หรือเดินจึงต้องออกแรงเกร็ง และพยายามถ่วงนํ้าหนักไปด้านหลัง เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถเดินได้อย่างปกติ จึงทำให้ปวดขาและปวดหลังมากนั่นเอง
คุณแม่บางคนโชคดีไม่ต้องทำงาน สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ อาการปวดหลังจึงอาจไม่เป็นปัญหามากนัก แต่ก็เห็นใจคุณแม่ส่วนใหญ่ที่ยังคงต้องทำงาน บางคนต้องทำงานที่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ ด้วยแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง เมื่อยืนไปซักพักควรหาเวลานั่งพัก เพื่อให้หลังได้ผ่อนคลายบ้าง ลำพังคนปกติอย่างเราๆ หากต้องทำงานหนัก หรือยืนเป็นเวลานานๆ ก็เกิดอาการปวดหลังได้อยู่แล้ว นี่เป็นคนท้องที่ต้องแบกนํ้าหนักของลูกไว้ด้วย ไม่อยากจะคิดเลยว่าจะต้องปวดหลังซักแค่ไหนกัน นอกจากนํ้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้น แล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่ก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้ปวดหลัง
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์
• เวลาจะลุก นั่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวใดๆ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเสมอ ถ้ายังคงต้องทำงาน ควรหาเวลาพักให้มากขึ้นกว่าตอนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
• เวลานั่ง ต้องนั่งหลังตรง พิงพนักเก้าอี้ หากมีหมอนใบเล็กๆ มารองบริเวณบั้นเอว และต้นคอ จะทำให้สบายขึ้น
• เวลานอน ควรนอนบนที่นอนที่ไม่อ่อนนุ่มเกินไป เพราะทำให้หลังงอและปวดหลังได้ ควรนอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งโดยเอาหมอน ใส่ไว้ระหว่างขาเพื่อช่วยหนุนขา ให้หลับสบายขึ้น
• อย่ายืนเป็นเวลานานๆ ควรสลับไปนั่งหรือนอนบ้าง หากจำเป็นต้องยืนนานๆ ควรยกขาข้างหนึ่งยืนบนกล่องหรือหาเก้าอี้มารองเท้า เพื่อช่วยให้ยืนสบายยิ่งขึ้น
• หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
• หลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิด
การเตรียมความพร้อมก่อนคลอดเป็นสิ่งสำคัญ ที่คุณแม่ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม คุณพ่อเองก็ควรมีส่วนช่วยเป็นกำลังเสริมให้กับคุณแม่ด้วย ควรเรียนรู้ไปด้วยกัน ช่วยเหลือกัน เป็นกำลังใจให้กันและกัน เพราะช่วงที่ผู้หญิงคลอดลูก จะเป็นช่วงที่อ่อนแอมาก ร่างกายอ่อนเพลีย เนื่องจากมีการเสียเลือดมาก แต่ด้วยความเป็นแม่ แม้ร่างกายจะอ่อนแรงซักแค่ไหน ก็ยังต้องดูแลและคอยให้นมลูก คุณพ่อจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญและเป็นกำลังใจที่ดีที่สุดในช่วงนี้
ในปัจจุบัน มีการเปิดคอร์ส สอนคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพื่อเตรียมตัวก่อนคลอด จะได้ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง และดูแลลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย ควรจูงมือไปด้วยกันเลยนะคะ
สถานที่พักฟื้นหลังคลอดก็เป็นเรื่องสำคัญต้องมีความปลอดภัย สำหรับทั้งแม่และลูก สุขภัณฑ์ที่เลือกใช้ต้องไม่ลื่น ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่บางครั้งอาจหลงลืมไป ซึ่งอาจารย์มัฆวัน บอกว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้อย่างอื่นเลย คือ สายชำระนั่นเอง “อย่าลืมปรับระดับนํ้าให้อยู่ในระดับเบาที่สุด” การ คลอดลูกนั้นมี 2 แบบ คือ แบบผ่าคลอด และแบบคลอดเองตามธรรมชาติ สำหรับการคลอดแบบธรรมชาตินั้น ผู้หญิงจะมีแผลบริเวณช่องคลอด ลองนึกถึงตอนโดนมีดบาด เวลาล้างมือยังเจ็บแทบแย่ แล้วแผลที่บริเวณจุดซ่อนเร้นของผู้หญิงนั้น มีผิวที่บอบบางยิ่งกว่า จะเจ็บขนาดไหน หากระดับนํ้าแรงเกินไป คุณหมอบอกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้ามเลยนะคะ
ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นมีสุขภัณฑ์ฝาชำระล้างแบบอัตโนมัติ สามารถปรับระดับความแรงของนํ้าได้หลายระดับ สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน เพียงปลายนิ้วสัมผัส หากคุณแม่ท่านไหนอยากได้มาเป็นเครื่องทุนแรงก็คงไม่ผิดอะไรนะคะ
ด้วยนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์นี่เอง เวลาคุณแม่จะลุก นั่ง ยืน หรือเดิน จึงต้องเกร็งและแอ่นหลังมากขึ้น แม้เพียงยืนเฉยๆ ก็ทำให้ปวดหลังได้แล้ว อาการปวดหลังจึงเป็นปัญหายอดฮิตของผู้หญิงตั้งครรภ์ ถึงแม้จะไม่อันตรายแต่ก็เป็นปัญหากวนใจให้กับคุณแม่หลายๆ ท่าน และบางท่านอาจปวดมากจนต้องปรึษาแพทย์ก็มีในช่วง 3-4 เดือนแรก อาจมีอาการปวดไม่มากนัก แต่เมื่อเข้าสู่เดือนหลังๆ นํ้าหนักยิ่งเพิ่มมากขึ้น ท้องก็ยิ่งเริ่มคล้อยตํ่า และถ่วงไปด้านหน้ามากขึ้น จึงต้องออกแรง และเกร็งมากขึ้น ลุก นั่ง ลำบากมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดอาการปวดหลัง
สาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง ก็คือ กระดูกสันหลังของคนเราประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆ เรียงต่อกัน ในแต่ละข้อมีหมอนรองกระดูกและเส้นเอ็นเพื่อช่วยในการยึดให้กระดูกเชื่อมต่อ กันอย่างแข็งแรง แต่เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง อย่างน่ามหัศจรรย์ สามารถปรับตัวให้ยืดหยุ่น ตามร่างกายที่ต้องขยายขึ้น ทำให้ข้อต่อต่างๆ หลวมมากขึ้น รวมถึงกระดูกเชิงกรานขยายมากขึ้น เพื่อให้คลอดลูกได้ง่าย เหมือนกับการคลายน๊อตให้หลวม ดังนั้น เวลายืน หรือเดินจึงต้องออกแรงเกร็ง และพยายามถ่วงนํ้าหนักไปด้านหลัง เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถเดินได้อย่างปกติ จึงทำให้ปวดขาและปวดหลังมากนั่นเอง
คุณแม่บางคนโชคดีไม่ต้องทำงาน สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ อาการปวดหลังจึงอาจไม่เป็นปัญหามากนัก แต่ก็เห็นใจคุณแม่ส่วนใหญ่ที่ยังคงต้องทำงาน บางคนต้องทำงานที่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ ด้วยแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง เมื่อยืนไปซักพักควรหาเวลานั่งพัก เพื่อให้หลังได้ผ่อนคลายบ้าง ลำพังคนปกติอย่างเราๆ หากต้องทำงานหนัก หรือยืนเป็นเวลานานๆ ก็เกิดอาการปวดหลังได้อยู่แล้ว นี่เป็นคนท้องที่ต้องแบกนํ้าหนักของลูกไว้ด้วย ไม่อยากจะคิดเลยว่าจะต้องปวดหลังซักแค่ไหนกัน นอกจากนํ้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้น แล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่ก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้ปวดหลัง
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์
• เวลาจะลุก นั่ง หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวใดๆ ต้องทำด้วยความระมัดระวังเสมอ ถ้ายังคงต้องทำงาน ควรหาเวลาพักให้มากขึ้นกว่าตอนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
• เวลานั่ง ต้องนั่งหลังตรง พิงพนักเก้าอี้ หากมีหมอนใบเล็กๆ มารองบริเวณบั้นเอว และต้นคอ จะทำให้สบายขึ้น
• เวลานอน ควรนอนบนที่นอนที่ไม่อ่อนนุ่มเกินไป เพราะทำให้หลังงอและปวดหลังได้ ควรนอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งโดยเอาหมอน ใส่ไว้ระหว่างขาเพื่อช่วยหนุนขา ให้หลับสบายขึ้น
• อย่ายืนเป็นเวลานานๆ ควรสลับไปนั่งหรือนอนบ้าง หากจำเป็นต้องยืนนานๆ ควรยกขาข้างหนึ่งยืนบนกล่องหรือหาเก้าอี้มารองเท้า เพื่อช่วยให้ยืนสบายยิ่งขึ้น
• หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
• หลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิด
การเตรียมความพร้อมก่อนคลอดเป็นสิ่งสำคัญ ที่คุณแม่ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม คุณพ่อเองก็ควรมีส่วนช่วยเป็นกำลังเสริมให้กับคุณแม่ด้วย ควรเรียนรู้ไปด้วยกัน ช่วยเหลือกัน เป็นกำลังใจให้กันและกัน เพราะช่วงที่ผู้หญิงคลอดลูก จะเป็นช่วงที่อ่อนแอมาก ร่างกายอ่อนเพลีย เนื่องจากมีการเสียเลือดมาก แต่ด้วยความเป็นแม่ แม้ร่างกายจะอ่อนแรงซักแค่ไหน ก็ยังต้องดูแลและคอยให้นมลูก คุณพ่อจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญและเป็นกำลังใจที่ดีที่สุดในช่วงนี้
ในปัจจุบัน มีการเปิดคอร์ส สอนคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพื่อเตรียมตัวก่อนคลอด จะได้ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง และดูแลลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย ควรจูงมือไปด้วยกันเลยนะคะ
สถานที่พักฟื้นหลังคลอดก็เป็นเรื่องสำคัญต้องมีความปลอดภัย สำหรับทั้งแม่และลูก สุขภัณฑ์ที่เลือกใช้ต้องไม่ลื่น ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่บางครั้งอาจหลงลืมไป ซึ่งอาจารย์มัฆวัน บอกว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้อย่างอื่นเลย คือ สายชำระนั่นเอง “อย่าลืมปรับระดับนํ้าให้อยู่ในระดับเบาที่สุด” การ คลอดลูกนั้นมี 2 แบบ คือ แบบผ่าคลอด และแบบคลอดเองตามธรรมชาติ สำหรับการคลอดแบบธรรมชาตินั้น ผู้หญิงจะมีแผลบริเวณช่องคลอด ลองนึกถึงตอนโดนมีดบาด เวลาล้างมือยังเจ็บแทบแย่ แล้วแผลที่บริเวณจุดซ่อนเร้นของผู้หญิงนั้น มีผิวที่บอบบางยิ่งกว่า จะเจ็บขนาดไหน หากระดับนํ้าแรงเกินไป คุณหมอบอกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้ามเลยนะคะ
ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นมีสุขภัณฑ์ฝาชำระล้างแบบอัตโนมัติ สามารถปรับระดับความแรงของนํ้าได้หลายระดับ สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน เพียงปลายนิ้วสัมผัส หากคุณแม่ท่านไหนอยากได้มาเป็นเครื่องทุนแรงก็คงไม่ผิดอะไรนะคะ
Tips for a healthy weight#4 เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน Change your eating habit
เรื่องเลือกอาหารเราได้เล่าให้ฟังกันไปบ้างแล้ว เป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือพฤติกรรมการรับประทาน เคล็ดลับง่าย ๆ
1. ทานให้ช้าลง หลาย คนคงเคยไ้ด้ยินเรื่องนี้มาบ้างแล้ว เหตุผลที่สำคัญก็คือ กว่าที่สมองเราจะรับรุ้ว่าอาหารได้ไปอยู่ในท้องจนรู้สึกอิ่มแล้วนั้น ต้องผ่านไป 20 นาที ดังนั้นถ้าเราทานช้าลง เมืื่อผ่านไป 20 นาทีเราจะเริ่มรุ้สึกทานได้น้อยลงแถมยังช่วยลดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ อีกด้วย วิธีที่ช่วยให้ช้าลงที่ง่าย ๆ จนเราคิดกันไม่ถึง คือ การพยายาม ลิ้มรส อาหารเหมือนการละเลียดทานให้รับรสของอาหารให้ชัดเจน 2.พยายาม วางช้อนส้อมลงบ้าง ไม่ต้องถือช้อนส้อมตักอาหารรอคำต่อไปไว้ตลอด พยายามหั่นอาหารเป็นชิ้น เล็ก ๆ ให้พอดีคำ ถ้ามีเพื่อนในกลุ่มทานช้าที่สุด พยายามเอาจังหวะของคนนั้นมาใช้ 3. ดื่มน้ำก่อนอาหาร การดื่มน้ำก่อนอาหารหรือระหว่างมืื้ออาหารจะช่วยให้รู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น 4. ไม่สั่งอาหารมากเิกินไปเวลาหิวววว 5. จำกัดสถานที่ที่รับประทาน เช่น เฉพาะในห้องครัว หรือโต๊ะอาหาร ไม่รับประทานหน้าโทรทัศน์ 6. อย่าจับคู่กิจกรรมต่าง ๆ กับอาหาร เช่น โรงหนัง คู่กับ Pop corn, เที่ยวต่างจังหวัด คู่กับ ขนมขบเคี้ยว 7. หลีกเลี่ยงการมีของว่างบนโต๊ะทำงาน หรือ ห้องนั่งเล่นใครมีพฤติกรรมที่อยากจะแบ่งปันช่วยโพสดูเพิ่มเติมหน่อยนะครับ |
จาำก www.facebook/drcarebear |
บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง ลดพุงกันดีกว่า
พุงมาจากไหน
|
ตรงไปตรงมาก็คือ ไขมันที่ไปสะสมอยู่ที่บริเวณท้อง แต่ว่าไขมันในส่วนนี้มีทั้งไขมันที่อยู่ในช่องท้อง และไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนัง โดยผลรวมของไขมันทั้งสองชนิดจะออกมาให้เราวัดได้เป็นรอบเอว รอบสะโพกนั่นเอง ความ สำคัญของไขมันโดยเฉพาะในส่วนที่อยู่ในช่องท้อง visceral fat ก็คือ คนที่มีไขมันสูงกว่าจะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวานมากขึ้น ในผู้หญิงยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมด้วยดังนั้นการตั้งใจที่ จะลดไขมันในส่วนนี้นอกจากจะช่วยให้สวยดูดีแล้ว ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังได้ด้วย การวัดไขมัน อันดับ แรก ดูน้ำหนักโดยรวมก่อนนะครับ ว่าน้ำหนัก เกินมาตรฐานหรือเปล่า โดยการวัด BMI หรือดัชนีมวลกาย โดยเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วย ความสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง (เอาน้ำหนักตั้งหารด้วยส่วนสูงสองครั้ง) ถ้า BMI เกิน 23 แปลว่าน้ำหนักเกินมาตรฐาน จำเป็นจะต้องลดน้ำหนักลง เมื่อสามารถลดน้ำหนักลง รอบเอว รอบสะโพกก็จะลดลงด้วยแน่นอน อันดับสอง ดู รอบ เอวกับรอบสะโพก โดยวัดรอบเอวหารด้วยรอบสะโพกหากมากกว่า 0.8 แปลว่ามีความเสี่ยงโรคหัวใจและเส้นเลือดสมองสูงขึ้น ส่วน สำคัญในการลดน้ำหนัก ไม่พ้นเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย และการสร้างกล้ามเนื้อ ที่สำคัญที่สุดคือความตั้งใจและวินัยในการควบคุมตนเอง ลองอ่านบทความก่อน ๆ เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ได้นะครับ สำหรับคนที่น้ำหนักไม่เิกิน มาตรฐาน แต่มีหน้าท้อง แปลว่า ขาดการออกกำลังที่สร้างกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหน้าท้องแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนบน ส่วนล่าง ด้านข้าง ดังนั้นเวลาจะสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องต้องแยกออกเป็นสามส่วน |
กล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนบน ก็ใช้วิธี sit up แต่ไม่ต้องยกหัวขึ้นมาสูงจนถึงเข่าแค่ผงกหัวให้ท้องส่วนบนเกร็งก็ใช้ได้แล้ว ครับ |
ล้ามเนื้อท้องส่วนล่าง ให้นอนหงาย ยกขาสองข้างขึ้นลง จะรู้สึกเกร็งตรงท้องส่วนบน เมื่อยต้นขาเล็กน้อย ถ้ายังไม่เก่งไม่้ต้องยกลำตัวขึ้นมานะครับ ให้นอนราบยกขาสองข้างเท่านั้นพอ |
กล้ามเนื้อด้าน ข้้าง อันนี้ซับซ้อนหน่อย ทำคล้าย sit up แต่ ให้สลับขาขึ้นมาทีละข้างด้วย เืวลาที่ยกขาซ้ายขึ้น ก็ให้ยกตัวขึ้นศอกขวาไปแตะเข่าซ้ายนั้น อีกข้างก็ทำสลับกัน |
พยายามฝึกแบบนี้ทุกวัน ทำ 3 set setละ 15 รอบ แรก ๆ จะยากหน่อยนะครับ ขอแค่กำลังใจ และวินัย พอผ่านไปสองสัปดาห์ รับรองว่าจะเห็นผลทันตาครับ |
จาำก www.facebook/drcarebear |
สรุป link บทความสำหรับคนต้องการลดน้ำหนักโดย Dr.carebear Samitivej
มีหลายท่านถามถึงเรื่องการลดน้ำหนัก เคยเขียนไว้หลายเรื่อง หลายเดือนแล้ว เลยขอสรุปไว้ให้หาอ่านกันได้ง่าย ๆ นะครับ
1. เรื่องฉลากโภชนาการสำหรับเวลาเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ใน supermarket
http://www.facebook.com/note.php?note_id=294411465591
เวลาไปเลือกซื้อของใน supermarket มีใครได้ลองอ่านฉลากโภชนาการที่ติดอยู่ข้างกล่องบ้างไหมครับ
2. tips for healthy weight #1 จดทุกอย่างที่คุณรับประทาน
http://www.facebook.com/note.php?note_id=308226935591
3. tips for healthy weight#2 ที่คุณต้องทำคือ วางแผนและพร้อมจะเปลี่ยน
http://www.facebook.com/note.php?note_id=310370180591
4. tips for healthy weight#3 เปลี่ยนทัศนคติเปลี่ยนวิธีคิด
http://www.facebook.com/note.php?note_id=318446540591
5. Tips for a healthy weight#4 เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน Change your eating habit
http://www.facebook.com/note.php?note_id=336858915591
6.หลักการในการเลือกอาหารสำหรับลดไขมัน TLC Therapeutic lifestyle change
http://www.facebook.com/note.php?note_id=349117875591
7. แนะนำการเลือกทานอาหารเช้าในโรงแรม
http://www.facebook.com/note.php?note_id=361003710591
8. tip for a healthy weight#5 เปลี่ยนอย่างละนิด ก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้
http://www.facebook.com/note.php?note_id=381908650591
จาำก www.facebook/drcarebear
1. เรื่องฉลากโภชนาการสำหรับเวลาเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ใน supermarket
http://www.facebook.com/note.php?note_id=294411465591
เวลาไปเลือกซื้อของใน supermarket มีใครได้ลองอ่านฉลากโภชนาการที่ติดอยู่ข้างกล่องบ้างไหมครับ
2. tips for healthy weight #1 จดทุกอย่างที่คุณรับประทาน
http://www.facebook.com/note.php?note_id=308226935591
3. tips for healthy weight#2 ที่คุณต้องทำคือ วางแผนและพร้อมจะเปลี่ยน
http://www.facebook.com/note.php?note_id=310370180591
4. tips for healthy weight#3 เปลี่ยนทัศนคติเปลี่ยนวิธีคิด
http://www.facebook.com/note.php?note_id=318446540591
5. Tips for a healthy weight#4 เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน Change your eating habit
http://www.facebook.com/note.php?note_id=336858915591
6.หลักการในการเลือกอาหารสำหรับลดไขมัน TLC Therapeutic lifestyle change
http://www.facebook.com/note.php?note_id=349117875591
7. แนะนำการเลือกทานอาหารเช้าในโรงแรม
http://www.facebook.com/note.php?note_id=361003710591
8. tip for a healthy weight#5 เปลี่ยนอย่างละนิด ก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นได้
http://www.facebook.com/note.php?note_id=381908650591
จาำก www.facebook/drcarebear
คู่มือสำหรับผู้ป่วย อาการปวดใต้ส้นเท้า
คู่มือสำหรับผู้ป่วย อาการปวดใต้ส้นเท้า Plantar fasciitis
ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดใต้ส้นเท้าโดยเฉพาะตอนตื่นนอน ตอนเช้าทำให้คุณรู้สึกว่าเช้าแรกของวันใหม่ เริ่มต้นด้วยความเจ็บปวด คุณหรือเขาเหล่านั้นจะรู้จักถึงอาการเจ็บส้นเท้าเป็นอย่างดี ในบางครั้งคุณอาจจะพบว่ามีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับโรคเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบที่คุณยังไม่ทราบหรือคิดไม่ถึง เอกสารฉบับนี้จะสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับอาการเจ็บส้นเท้าของคุณได้
เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ คืออะไร
เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดใต้ส้นเท้าอาจทำให้มีอาการปวดรู้สึกร้อน บวม หรือ มีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ แสดงถึงการเกิดการอักเสบ โดยเฉพาะที่ชั้นพังพืดในฝ่าเท้า ซึ่งมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อเหนียวชั้นบางๆ อาการปวดโดยส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อเหยียบพื้นก้าวแรกในตอนเช้า
สาเหตุของการเกิดอาการปวดใต้ฝ่าเท้า
โดยทั่วไปแล้วสาเหตุอาจเกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อฝ่าเท้า และกล้ามเนื้อน่อง อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อฝ่าเท้า การใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการใช้งาน เช่น การวิ่งมากกว่าที่เคยวิ่ง การเดินมากกว่าที่เคยเดิน หรือการออกกำลังหักโหมมากกว่าปกติ หรือการออกกำลังกายที่อาจเกิดอันตรายต่อพังผืดฝ่าเท้าได้
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยปวดใต้ส้นเท้า
มีวิธีการการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธีอยู่หลายวิธีด้วยกันคือ
1. ลดน้ำหนัก การที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ จะทำให้พังพืดใต้ฝ่าเท้าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และมีอาการปวดมากขึ้น
2. เปลี่ยนรองเท้าหรือใช้อุปกรณ์เสริมส้นเท้า ในชีวิตประจำวันเราต้องมีการเดิน ควรใช้รองเท้าส้นเตี้ยหรือรองเท้าที่ไม่มีส้น วัสดุที่เป็นพื้นรองเท้าควรจะมีลักษณะหนานุ่ม หรือใช้อุปกรณ์รองเสริมบริเวณส้นเท้า
3. การนวดส้นเท้า การนวดเป็นการรักษาอาการปวดส้นเท้าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะตอนตื่นนอนยังไม่ควรรีบลงมาเดิน ให้ผู้ป่วยนั่งข้างเตียงทำการนวดฝ่าเท้าโดยใช้นิ้วมือ กดบริเวณฝ่าเท้าตั้งแต่ใต้ส้นเท้า ไล่ขึ้นไปจนถึงบริเวณข้อเท้า ดังรูปที่ 1 ทำจนรู้สึกฝ่าเท้านุ่ม ผ่อนคลายจึงลุกมาเดิน นอกจากนี้ในระหว่างเวลากลางวัน ผู้ป่วยก็ยังสามารถที่จะนวดฝ่าเท้าได้โดยการใช้ขวดน้ำทรงกระบอกไม้ไผ่ หรือกะลาผ่าครึ่งซีก นำมาวางบนพื้นใช้ฝ่าเท้าบริเวณอุ้งเท้าคลึงนวดเบา ๆ กระทำบ่อย ๆ ดังรูปที่ 2
4. การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาอาการปวดใต้ส้นเท้าเนื่องจากสาเหตุหนึ่งของอาการปวดคอ คือ กล้ามเนื้อในฝ่าเท้า และบริเวณน่องอ่อนแรงลง การบริหารจะสามารถทำได้โดย
ท่าที่ 1 ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง ก้าวขาข้างใดข้างหนึ่งออกไปข้างหน้าให้ขาหลังงอเล็กน้อย ใช้มือทั้งสองข้างยันกำแพงพร้อมกันกับเหยียดขาหลังให้กล้ามเนื้อตึง ทำสลับกันสองข้าง ครั้งละ 10 วินาที วันละหลาย ๆ รอบ
ท่าที่ 2 นั่งบนเก้าอี้วางเท้าบนพื้นที่ปูผ้าผืนเล็ก ๆ ไว้ พยายามใช้นิ้วเท้าจิกผ้าและดึงเข้าหาตัว หรือฝึกใช้นิ้วเท้าหยิบของบนพื้น
ท่าที่ 3 นั่งบนเก้าอี้ วางเท้าบนพื้น พยายามเหยียด และยกนิ้วเท้าทั้งหมดขึ้น จากพื้น โดยให้ฝ่าเท้ายังชิดกับพื้น หัดเคาะพื้นโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าเพียงนิ้วเดียว
5. การใช้ยาต้านการอักเสบ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย มีข้อดีหลายประการ คือ จะช่วยให้อาการปวดและการเคลื่อนไหวดีขึ้น ในกรณีที่เริ่มเป็น การรับประทานยาต้านการอักเสบ มักจะได้ผลดี แต่เมื่อมีอาการปวดมาเป็นเวลานาน ๆ หรือรับประทานยา ไม่ได้ผล มักจะแนะนำให้ทำการฉีดยา สตีรอยด์ พบว่าสามารถออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 2 เดือน ผลข้างเคียงต่ำมาก สามารถฉีดซ้ำได้ 3-4 ครั้ง
6. การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ไม่ตอบสนองต่อการรักษา การผ่าตัดมักจะนิยมเปิดแผลบริเวณด้านในของส้นเท้า ในปัจจุบัน สามารถทำการผ่าตัดโดยการใช้ส่องกล้องข้อเจาะเป็นรูเข้าไปทำการผ่าตัดได้
อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส
คู่มือ สำหรับผู้ป่วย ในการเข้ารับการรักษา อาการปวดข้อศอกทางด้านนอก ( Tennis Elbow )
รศ. นพ. ชาติชาย ภูกาญจนมรกต
อาการเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก หรือ อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส (Tennis Elbow) เป็นอาการที่พบมานานกว่า 100 ปี ปัจจุบัน นักกีฬาเทนนิสประมาณครึ่งหนึ่งอาจจะเคยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคนี้ในระดับหนึ่ง แต่จริงๆแล้วผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยโรคนี้จะเป็นนักกีฬาเทนนิสประมาณ 5% เท่านั้น
สาเหตุของเส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ คืออะไร
สาเหตุที่ทำให้เส้นเอ็นข้อศอกทางด้านนอกมีอาการอักเสบ เกิดจากมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่มายึดเกาะบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก สาเหตุอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน เช่นอุบัติเหตุ หรือ เกิดจาการใช้งานซ้ำๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นเอ็น เช่น การเล่นกีฬาโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะกับสรีรของร่างกาย การเล่นกีฬาผิดท่า อาชีพที่ต้องยกของหรือ ลากของบ่อยๆ เช่น แม่บ้าน (กวาดบ้าน, บิดผ้า, ทำครัว)
เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บ ประกอบกับวัยที่เริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็นบริเวณที่มีการฉีกขาดยังไม่หายสนิท แต่ถูกกลับไปใช้งานอีก เกิดการฉีกขาดซ้ำ ทำให้มีการอักเสบ บวม การซ่อมแซมของร่างกายจะช้ากว่าปกติ อาจใช้เวลา นานถึง 6-12 สัปดาห์
อาการอักเสบบริเวณข้อศอก อาจจะเกิดเฉพาะเพียงส่วนของเส้นเอ็น (tendonitis) แต่บ่อยครั้งที่อาการอักเสบจะครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เกาะของเส้นเอ็นบนกระดูกและข้อใกล้เคียง (epicondylitis)
อาการและอาการแสดง
- อาการปวด เป็นๆ หายๆ ของปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก
- อาจมีอาการปวดร้าวบริเวณหลังแขน ลงไปถึงข้อมือ
- อาการปวดจะเป็นมากขึ้น เวลายกของ โดยเฉพาะท่าที่คว่ำฝ่ามือทำงาน เช่น กวาดบ้าน, ลากของ, ผัดกับข้าว
- บางรายอาจมีอาการปวดมาก ไม่สามารถเหยียดแขนได้สุด แปรงฟันไม่ได้
การวินิจฉัย
การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยง่าย จากประวัติ และการตรวจร่างกาย ตามอาการแสดงข้างต้น แต่มีกลุ่มอาการที่มักจะเข้าใจผิดว่าเป็น Tennis elbow บ่อยๆ เช่น อาการปวดของปุ่มข้อศอกด้านใน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาการปวดข้อศอกของนักก็อลฟ์ (Golfer's elbow ) ส่วนอีกอาการหนึ่ง คือ อาการปวดบริเวณปลายข้อศอกทางด้านหลัง เป็นบริเวณที่ใช้ยันข้อศอก สาเหตุมาจาก ถุงน้ำบริเวณข้อศอกอักเสบ (Bursitis)
อาการปวดบริเวณ ข้อศอก แบบอื่นๆ
Golfer’s Elbow Medial Epicondylitis
อาการปวดข้อศอกด้านใน อาการปวดเหมือน Tennis Elbow เพียงแต่จะมีอาการปวดปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน
Olecranon Bursitis
อาการปวดข้อศอกด้านหลัง มักมีสาเหตุมาจากการใช้ข้อศอกเท้าแขนกับโต๊ะหรือได้รับการกระแทกโดยตรง มักจะคลำพบก้อนหรือถุงน้ำบริเวณนี้
แนวทางการรักษา
เนื่องจากอาการปวด เกิดจาก การบาดเจ็บของเส้นเอ็นบริเวณดังกล่าว ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุด คือ การพัก หยุดการใช้งานแขนข้างที่ปวด หรือการกระทำที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หลังจากการพักให้อาการปวดดีขึ้น ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น ตามคำแนะนำด้านหลัง ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องกลับไปทำงานที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวด ก็จะทำให้เกิดอาการขึ้นมาใหม่ได้ ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อก่อนใช้งาน บริหารแต่ละครั้ง ควรใช้เวลานานประมาณ 5-10 นาที
การรักษาโดยใช้ยา
โดยทั่วไปแพทย์มักจะให้ยาต้านการอักเสบในผู้ป่วยที่มีอาการระยะแรก และมีอาการปวดไม่มากนัก ในกรณีที่ใช้ยาต้านการอักเสบไม่ได้ผล แพทย์มักจะแนะนำให้ทำการฉีดยาประเภทเสตียรอยด์ เข้าเส้นเอ็นบริเวณที่มีอาการปวด ซึ่งสามารถระงับอาการปวด อักเสบ ได้รวดเร็ว แต่ไม่ควรใช้บ่อยๆ ติดต่อเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น เป็นรอยด่างขาวบริเวณที่ฉีดยา, ชั้นไขมันใต้ผิวหนังยุบตัว หรือ เส้นเอ็นฝ่อได้
ถ้าการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล ควรพิจารณาทำการผ่าตัด (ประมาณ 3% ของผู้ป่วยที่มารับการรักษา) เพื่อไปทำการขูดเอาเนื้อเยื่อที่เสียออก และทำการปรับแต่งเส้นเอ็นไม่ไห้ตึงเกินไป
การป้องกัน
- ยกของโดยหงายฝ่ามือขึ้น
- บริหารยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ
- ทำการยืดกล้ามเนื้อก่อนการใช้งานเสมอ
ท่าที่ 1: การบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ โดยการเหยียดแขนตรงไปข้างหน้า คว่ำฝ่ามือลง แล้วทำการหักข้อมือลงสุด จนรู้สึกกล้ามเนื้อต้นแขนส่วนบนตึง
ท่าที่ 2: การบริหารกล้ามเนื้อท้องแขน โดยการเหยียดแขนตรงไปข้าหน้า หงายฝ่ามือขึ้น แล้วทำการดัดข้อมือลงเข้าหาตัว
ท่าบริหารทั้งสองท่า เป็นท่าบริหารที่ใช้ในการยืดกล้ามเนื้อ ควรทำทั้งสองท่า ครั้งละ 15 วินาที ทำซ้ำๆ 2-3 ครั้ง วันละ 3 รอบ หลังจากการบริหารโดยการยืดกล้ามเนื้อแล้ว ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยการวางแขน บนโต็ะ ให้ส่วนของข้อมือ และ มือ พ้นโต๊ะออกไป หรือ นั่งบนเก้าอี่ที่มีพนักวางแขน ใช้น้ำหนักเบา ที่มีขนาดถือถนัดมือ เช่น ขวดน้ำ กระทำในท่าที่ 3-6 ซ้ำๆ กัน ประมาณ 30 ครั้ง
ท่าที่ 3: การบริหารกล้ามเนื้อแขน โดยการถือน้ำหนักที่เตรียมไว้ คว่ำฝ่ามือลง กระดกข้อมือขึ้นค้างไว้ 5 วินาที แล้วผ่อนลงช้าๆ
ท่าที่ 4: การบริหารกล้ามเนื้อท้องแขน โดยการถือน้ำหนักที่เตรียมไว้ หงายฝ่ามือขึ้น กระดกข้อมือขึ้นค้างไว้ 5 วินาที แล้วผ่อนลงช้าๆ
ท่าที่ 5: การบริหารกล้ามเนื้อแขนด้านข้าง โดยการถือน้ำหนักที่เตรียมไว้ในแนวดิ่ง ทำการกระดกข้อมือขึ้น-ลง
ท่าที่ 6: การบริหารกล้ามเนื้อแขนรอบข้อมือ โดยการบริหารต่อจากท่าที่แล้ว แต่ทำการหมุนข้อมือแทน โดยการหมุนข้อมือเข้าใน ให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าในให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหมุนออกนอกตัวให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำๆประมาณ 30 ครั้ง
ท่าที่ 7: บริหารโดยการนวด ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางทำการนวดเบาๆบริเวณที่ปวด อาจจะใช้ยาทาร่วมด้วย นวดคลึงเบาๆประมาณ 5 นาที หลังการนวด ถ้ารู้สึก ปวด ระบม ควรใช้น้ำแข็งประคบ
ข้อควรระวัง
- หยุดการใช้งาน หรือ ท่าที่ทำให้มีแรงกระทำต่อข้อศอกจนรู้สึกปวด ถ้าจำเป็นต้องทำ ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อก่อน ประมาณ 5 - 10 นาที แล้วประคบเย็นทันทีที่เสร็จกิจกรรม หยุดพักเป็นระยะบ่อยๆ
- ใช้แผ่นผ้ายืด หรือ อุปกรณ์ป้องกันสำเร็จรูป รัดแขนบริเวณต่ำกว่าข้อศอก จะช่วยลดแรงที่มากระทำได้ ควรใช้เวลาเล่นกีฬา หนือ ยกของหนัก
- ปรึกษาแพทย์ หากอาการปวดไม่ดีขึ้นติดต่อกันหลายวัน เพราะหากปล่อยไว้ให้มีอาการปวดเรื้อรัง จะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างถาวรได้ หรือ อาจจะเป็นอาการปวดที่มาจากสาเหตุอื่น เช่น เก็าท์, การอักเสบติดเชื้อ หรือ การกดทับเส้นประสาทบริเวณคอ
รศ. นพ. ชาติชาย ภูกาญจนมรกต
อาการเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก หรือ อาการเจ็บข้อศอกของนักเทนนิส (Tennis Elbow) เป็นอาการที่พบมานานกว่า 100 ปี ปัจจุบัน นักกีฬาเทนนิสประมาณครึ่งหนึ่งอาจจะเคยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคนี้ในระดับหนึ่ง แต่จริงๆแล้วผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยโรคนี้จะเป็นนักกีฬาเทนนิสประมาณ 5% เท่านั้น
สาเหตุของเส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ คืออะไร
สาเหตุที่ทำให้เส้นเอ็นข้อศอกทางด้านนอกมีอาการอักเสบ เกิดจากมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่มายึดเกาะบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก สาเหตุอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน เช่นอุบัติเหตุ หรือ เกิดจาการใช้งานซ้ำๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นเอ็น เช่น การเล่นกีฬาโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะกับสรีรของร่างกาย การเล่นกีฬาผิดท่า อาชีพที่ต้องยกของหรือ ลากของบ่อยๆ เช่น แม่บ้าน (กวาดบ้าน, บิดผ้า, ทำครัว)
เมื่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บ ประกอบกับวัยที่เริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เส้นเอ็นบริเวณที่มีการฉีกขาดยังไม่หายสนิท แต่ถูกกลับไปใช้งานอีก เกิดการฉีกขาดซ้ำ ทำให้มีการอักเสบ บวม การซ่อมแซมของร่างกายจะช้ากว่าปกติ อาจใช้เวลา นานถึง 6-12 สัปดาห์
อาการอักเสบบริเวณข้อศอก อาจจะเกิดเฉพาะเพียงส่วนของเส้นเอ็น (tendonitis) แต่บ่อยครั้งที่อาการอักเสบจะครอบคลุมถึงตำแหน่งที่เกาะของเส้นเอ็นบนกระดูกและข้อใกล้เคียง (epicondylitis)
อาการและอาการแสดง
- อาการปวด เป็นๆ หายๆ ของปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก
- อาจมีอาการปวดร้าวบริเวณหลังแขน ลงไปถึงข้อมือ
- อาการปวดจะเป็นมากขึ้น เวลายกของ โดยเฉพาะท่าที่คว่ำฝ่ามือทำงาน เช่น กวาดบ้าน, ลากของ, ผัดกับข้าว
- บางรายอาจมีอาการปวดมาก ไม่สามารถเหยียดแขนได้สุด แปรงฟันไม่ได้
การวินิจฉัย
การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยง่าย จากประวัติ และการตรวจร่างกาย ตามอาการแสดงข้างต้น แต่มีกลุ่มอาการที่มักจะเข้าใจผิดว่าเป็น Tennis elbow บ่อยๆ เช่น อาการปวดของปุ่มข้อศอกด้านใน หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาการปวดข้อศอกของนักก็อลฟ์ (Golfer's elbow ) ส่วนอีกอาการหนึ่ง คือ อาการปวดบริเวณปลายข้อศอกทางด้านหลัง เป็นบริเวณที่ใช้ยันข้อศอก สาเหตุมาจาก ถุงน้ำบริเวณข้อศอกอักเสบ (Bursitis)
อาการปวดบริเวณ ข้อศอก แบบอื่นๆ
Golfer’s Elbow Medial Epicondylitis
อาการปวดข้อศอกด้านใน อาการปวดเหมือน Tennis Elbow เพียงแต่จะมีอาการปวดปุ่มกระดูกข้อศอกด้านใน
Olecranon Bursitis
อาการปวดข้อศอกด้านหลัง มักมีสาเหตุมาจากการใช้ข้อศอกเท้าแขนกับโต๊ะหรือได้รับการกระแทกโดยตรง มักจะคลำพบก้อนหรือถุงน้ำบริเวณนี้
แนวทางการรักษา
เนื่องจากอาการปวด เกิดจาก การบาดเจ็บของเส้นเอ็นบริเวณดังกล่าว ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุด คือ การพัก หยุดการใช้งานแขนข้างที่ปวด หรือการกระทำที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หลังจากการพักให้อาการปวดดีขึ้น ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น ตามคำแนะนำด้านหลัง ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องกลับไปทำงานที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวด ก็จะทำให้เกิดอาการขึ้นมาใหม่ได้ ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อก่อนใช้งาน บริหารแต่ละครั้ง ควรใช้เวลานานประมาณ 5-10 นาที
การรักษาโดยใช้ยา
โดยทั่วไปแพทย์มักจะให้ยาต้านการอักเสบในผู้ป่วยที่มีอาการระยะแรก และมีอาการปวดไม่มากนัก ในกรณีที่ใช้ยาต้านการอักเสบไม่ได้ผล แพทย์มักจะแนะนำให้ทำการฉีดยาประเภทเสตียรอยด์ เข้าเส้นเอ็นบริเวณที่มีอาการปวด ซึ่งสามารถระงับอาการปวด อักเสบ ได้รวดเร็ว แต่ไม่ควรใช้บ่อยๆ ติดต่อเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น เป็นรอยด่างขาวบริเวณที่ฉีดยา, ชั้นไขมันใต้ผิวหนังยุบตัว หรือ เส้นเอ็นฝ่อได้
ถ้าการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล ควรพิจารณาทำการผ่าตัด (ประมาณ 3% ของผู้ป่วยที่มารับการรักษา) เพื่อไปทำการขูดเอาเนื้อเยื่อที่เสียออก และทำการปรับแต่งเส้นเอ็นไม่ไห้ตึงเกินไป
การป้องกัน
- ยกของโดยหงายฝ่ามือขึ้น
- บริหารยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ
- ทำการยืดกล้ามเนื้อก่อนการใช้งานเสมอ
ท่าที่ 1: การบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือ โดยการเหยียดแขนตรงไปข้างหน้า คว่ำฝ่ามือลง แล้วทำการหักข้อมือลงสุด จนรู้สึกกล้ามเนื้อต้นแขนส่วนบนตึง
ท่าที่ 2: การบริหารกล้ามเนื้อท้องแขน โดยการเหยียดแขนตรงไปข้าหน้า หงายฝ่ามือขึ้น แล้วทำการดัดข้อมือลงเข้าหาตัว
ท่าบริหารทั้งสองท่า เป็นท่าบริหารที่ใช้ในการยืดกล้ามเนื้อ ควรทำทั้งสองท่า ครั้งละ 15 วินาที ทำซ้ำๆ 2-3 ครั้ง วันละ 3 รอบ หลังจากการบริหารโดยการยืดกล้ามเนื้อแล้ว ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยการวางแขน บนโต็ะ ให้ส่วนของข้อมือ และ มือ พ้นโต๊ะออกไป หรือ นั่งบนเก้าอี่ที่มีพนักวางแขน ใช้น้ำหนักเบา ที่มีขนาดถือถนัดมือ เช่น ขวดน้ำ กระทำในท่าที่ 3-6 ซ้ำๆ กัน ประมาณ 30 ครั้ง
ท่าที่ 3: การบริหารกล้ามเนื้อแขน โดยการถือน้ำหนักที่เตรียมไว้ คว่ำฝ่ามือลง กระดกข้อมือขึ้นค้างไว้ 5 วินาที แล้วผ่อนลงช้าๆ
ท่าที่ 4: การบริหารกล้ามเนื้อท้องแขน โดยการถือน้ำหนักที่เตรียมไว้ หงายฝ่ามือขึ้น กระดกข้อมือขึ้นค้างไว้ 5 วินาที แล้วผ่อนลงช้าๆ
ท่าที่ 5: การบริหารกล้ามเนื้อแขนด้านข้าง โดยการถือน้ำหนักที่เตรียมไว้ในแนวดิ่ง ทำการกระดกข้อมือขึ้น-ลง
ท่าที่ 6: การบริหารกล้ามเนื้อแขนรอบข้อมือ โดยการบริหารต่อจากท่าที่แล้ว แต่ทำการหมุนข้อมือแทน โดยการหมุนข้อมือเข้าใน ให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าในให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหมุนออกนอกตัวให้มากที่สุด ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำๆประมาณ 30 ครั้ง
ท่าที่ 7: บริหารโดยการนวด ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางทำการนวดเบาๆบริเวณที่ปวด อาจจะใช้ยาทาร่วมด้วย นวดคลึงเบาๆประมาณ 5 นาที หลังการนวด ถ้ารู้สึก ปวด ระบม ควรใช้น้ำแข็งประคบ
ข้อควรระวัง
- หยุดการใช้งาน หรือ ท่าที่ทำให้มีแรงกระทำต่อข้อศอกจนรู้สึกปวด ถ้าจำเป็นต้องทำ ควรทำการบริหารกล้ามเนื้อก่อน ประมาณ 5 - 10 นาที แล้วประคบเย็นทันทีที่เสร็จกิจกรรม หยุดพักเป็นระยะบ่อยๆ
- ใช้แผ่นผ้ายืด หรือ อุปกรณ์ป้องกันสำเร็จรูป รัดแขนบริเวณต่ำกว่าข้อศอก จะช่วยลดแรงที่มากระทำได้ ควรใช้เวลาเล่นกีฬา หนือ ยกของหนัก
- ปรึกษาแพทย์ หากอาการปวดไม่ดีขึ้นติดต่อกันหลายวัน เพราะหากปล่อยไว้ให้มีอาการปวดเรื้อรัง จะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างถาวรได้ หรือ อาจจะเป็นอาการปวดที่มาจากสาเหตุอื่น เช่น เก็าท์, การอักเสบติดเชื้อ หรือ การกดทับเส้นประสาทบริเวณคอ
มารู้จักโรคนิวโมคอคคัสกันเถอะ
โรคนิวโมคอคคัส คืออะไร
โรคนิวโมคอคคัส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Streptococcus pneumoniae เป็นเชื้อเก่าแก่ค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881 สมัยก่อนทำให้เกิดโรคปวดบวมซึ่งมีอัตราตายค่อนข้างสูง ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1940 มีการค้นพบยาเพนนิซิลินซึ่งใช้รักษาโรคนิวโมคอคคัสได้ผลเป็นอย่างดีมาก แต่ในระยะหลังเชื้อนิวโมคอคคัส พัฒนาการดื้อยาเพนนิซิลินรวมทั้งยาปฏิชีวนะตัวอื่นอีกหลายตัว ทำให้มีปัญหาอย่างมากในการรักษาโรคนี้
เชื้อนิวโมคอคคัสมาจากไหน
เชื้อแบคทีเรียนี้พบได้ทุกหนทุกแห่ง และมักพบอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคนทั่วไป โดยไม่มีอาการอะไร (เป็นพาหะ) เชื้อกระจายไปสู่บุคคลอื่นโดยการไอ จาม ทำให้มีละอองเสมหะแพร่กระจายออกไป เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัสเสมหะทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพบว่ามือเราเป็นตัวกลางที่สำคัญที่นำเชื้อไป ซึ่งการแพร่กระจายนี้เช่นเดียวกับโรคหวัด และ ไข้หวัดใหญ่ การล้างมือจึงเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้
ใครบ้างที่ติดเชื้อนี้ได้ง่าย
บุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้แก่ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน คนสูงอายุมากกว่า 65 ปี คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนที่มีโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคระบบเลือด โรคเบาหวาน และคนที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำหน้าที่บกพร่อง
เชื้อนิวโมคอคคัสทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง
โรคที่ร้ายแรงและอันตรายมากที่สุด คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน กระวนกระวาย อาเจียน คอแข็ง ชัก หรือ หมดสติอย่างรวดเร็ว
โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โดยเฉพาะในเด็กที่มาด้วยอาการไข้สูง ตรวจหาสาเหตุไม่พบติดเชื้อที่ใด การเพาะเชื้อในเลือดจะช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ โรคปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ไอ หายใจเร็ว หอบ มักเกิดหลังการเป็นหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก ที่มีหูชั้นกลางอักเสบได้บ่อย ๆ จะมีอาการไข้สูง เจ็บหู ร้องกวน งอแง มักเกิดภายหลังการเป็นหวัด นอกจากนี้ยังพบเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในโรคไซนัสอักเสบด้วย
เราทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อนิวโมคอคคัส
คุณพ่อคุณแม่ที่สงสัยว่าลูกน้อยของท่านจะเป็นโรคนิวโมคอคคัส ถ้าเด็กมีอาการไข้สูงและมีอาการตามที่กล่าวข้างต้นหรือยังไม่มีอาการอะไรร่วมด้วยก็ตาม ควรพาเด็กไปพบแพทย์ แพทย์มักจะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด การวินิจฉัยโรคแน่นอนต้องตรวจเลือด เพาะเชื้อจากสิ่งที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ เช่น น้ำไขสันหลัง เลือด เสมหะ และน้ำในหูชั้นกลาง เป็นต้น
การรักษาโรคนิวโมคอคคัสยุ่งยากหรือไม่
การรักษาที่สำคัญ คือ การให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างรวดเร็วดังที่กล่าวข้างต้น ในสมัยก่อนยากลุ่มเพนนิซิลินได้ผลดี ฆ่าเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ในปัจจุบันเชื้อดื้อยาเพนนิซิลินมากขึ้น ทำให้แพทย์ต้องใช้ยากลุ่มใหม่ ซึ่งต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา ความยุ่งยากของการรักษาโรคนี้ยังขึ้นอยู่กับว่า ติดเชื้อบริเวณใด เช่น ติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้มีการทำลายเนื้อสมองร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีความพิการเหลืออยู่ในรายที่รอดชีวิต
เราสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคนิวโมคอคคัสได้อย่างไร
การป้องกันไม่ให้สัมผัสเชื้อโรคนี้ ต้องมีสุขอนามัยที่ดี การหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในที่แออัด ไม่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ สอนให้เด็กล้างมือบ่อย ๆ ปิดจมูกและปิดปากเวลาไอจาม
ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ซึ่งได้ผลดีในการป้องกันโรคนิวโมคอคคัสชนิดแพร่กระจายตามกระแสเลือด วัคซีนมี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ เริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1977 ประกอบด้วย 14 สายพันธุ์ ต่อมาปี ค.ศ. 1983 พัฒนาเป็น 23 สายพันธุ์ และยังใช้ในปัจจุบันนี้ วัคซีนชนิดนี้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ชนิดที่สองเป็นชนิดคอนจูเกต ประกอบด้วยเชื้อ 7 สายพันธุ์ เริ่มใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 สามารถใช้ได้ผลดีในเด็กตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ ถึง 5 ปี ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ามาเมื่อต้นปี 2006 นี้ แนะนำใช้ในเด็กอายุ 2, 4, 6 และ 12-15 เดือน เนื่องจากวัคซีนเพิ่งนำเข้าจากต่างประเทศและยังมีราคาสูง ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์ตามสถานพยาบาลชั้นนำทั่วไป
วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการรณรงค์ป้องกันมะเร็งเต้านม
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการรณรงค์ป้องกันมะเร็งเต้านม
ตลอดเดือนตุลาคม ด้วยหลากหลายกิจกรรมที่จะเปลี่ยนทั้งเดือนตุลาคมให้เป็นสีชมพู
October Go Pink
- กิจกรรม Work Shop ถักหมวกไหมพรม เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยทีมงาน Pin Shop ----> Clickเพื่อมอบให้แก่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ส่งต่อให้กับผู้ป่วยมะเร็ง
ระหว่างวันที่ 24 กันยายน - 05 ตุลาคม 2555
เวลา 13.00 - 16.00 น.
ณ ลานเปียโน อาคาร Royal Wing ชั้น 1
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
- กิจกรรมบริจาคเส้นผม เพื่อผลิตเป็นวิกและมอบให้กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ----> Click
สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเส้นผม ส่งรูปความยาวเส้นผม มาที่ E-Mail : met107@gmail.com
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ทีมงานจะติดต่อกลับ เพื่อไปตัดผมที่ ร้าน Mark Thawin Ultimate Solution
ตั้งแต่วันนี้ - 30 ตุลาคมนี้
- งาน October Go Pink 2012 พร้อมกิจกรรมมากมายภายในงาน ----> Click
- เสวนาโรคมะเร็งเต้านมแบบเจาะลึก โดย นพ.วิชัย วาสนสิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมมะเร็งเต้านม
- แฟชั่นโชว์หมวกไหมพรมจากฝีมือเหล่าเซเลบริตี้ดาราชื่อดัง
- พิธีมมอบดล่ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ร่วมอุทิศตนรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งเต้านม
วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2555
เวลา 13.00 - 16.00 น.
ณ ลานเปียโน อาคาร Royal Wing ชั้น 1
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-711-8181
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
ฝากชีวิตของคุณไว้ในมือแพทย์ของเรา
ฝากชีวิตของคุณไว้ในมือแพทย์ของเรา
ที่พร้อมจะดูแลคุณอย่างดีที่สุด
มั่นใจในทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ครบครันด้วยมาตรฐานการรักษาและเทคโนโลยีอันทันสมัยระดับสากล จากโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ที่ได้การรับรองโดย Joint Commission International (JCI) สถาบันรับรองคุณภาพระดับสากลแห่งสหรัฐอเมริกา
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
Call Center : 02-711-8181
www.facebook.com/samitivejclub
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555
ผ่าตัดแล้วยังปวดหลังซ้ำซาก แก้อย่างไรไม่น่ากลัว
เรามักพบปัญหาต่างๆ ได้หลังการผ่าตัดไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆก็ตามอาจจะไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวัง สาเหตุอาจจะเป็นผลมาจากการผ่าตัดเองหรือการดูแลรักษาร่างกายหลังผ่าตัด รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ด้วย
กระดูกสันหลังเป็นโครงสร้างที่สำคัญของร่างกาย เชื่อมต่อลงมาจากกระโหลกศีรษะลงไปจนถึงกระดูกเชิงกราน และทำหน้าที่เป็นโครงสร้างสำคัญในการป้องกันประสาทไขสันหลัง โดยมีกล้ามเนื้อหลังเป็นตัวยึดเกาะเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
โรคกระดูกสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักพบมากในผู้สูงอายุ มีการรักษาได้หลายวิธีเป็นขั้นเป็นตอนไปจนกระทั้งทาง เลือกสุดท้ายของการรักษา คือ การผ่าตัด ในอดีตผู้ป่วยมักกลัวการผ่าตัด เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และมีความเสี่ยง ทั้งเรื่องการรักษาแล้วไม่ค่อยหายและอาจจะถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวไกลมากขึ้นทุกวัน บวกกับประสบการณ์ของแพทย์ที่สั่งสมกันมานาน ทำให้การผ่าตัดในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไปและมีความปลอดภัยสูง แนวทางการผ่าตัดมีหลายวิธีการขึ้นอยู่กับชนิดของโรค และความถนัดของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งจะมีทั้การผ่าตัดปกติและการผ่าตัดที่เป็นลักษณะ Minimally invasive surgery ที่มุ่งหวังจะลดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อต่างๆให้น้อยที่สุด
แต่ปัญหาที่พบได้หลังการผ่าตัดไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆก็ตามอาจจะไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวังได้ หรือที่เรียกว่า Failed Back surgery คือ สาเหตุอาจจะเป็นผลมาจากการผ่าตัดเองหรือการดูแลรักษาร่างกายหลังผ่าตัด รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการ ไม่ออกกำลังกายหรืออกกำลังกายมากเกินไปหลังผ่าตัด พอแผลหายก็คิดว่าตัวเองหายดีแล้วจึงทำงานหนักเหล่านี้เป็นต้น ความจริงแล้วต้องขึ้นกับแต่ละชนิดของการผ่าตัด หรือบางรายอาจจะเกิดอาการปวดหลังเมื่อผ่าตัดไปนานๆ อีกกรณีหนึ่งเรียกว่า Adjacent segment pathologyคือ การเจ็บป่วยในส่วนพยาธิสภาพที่อยู่ชิดติดกัน หมายถึง ในครั้งแรกอาจมารับการผ่าตัดรักษากระดูกสันหลังข้อที่3 และ 4 เมื่อหายดีแล้ว กลับมาปวดอีก ซึ่งอาการเหมือนเดิมจึงคิดว่าเป็นที่เดิมรักษาไม่หาย แต่ความจริงแล้วอาการปวดเกิดจากกระดูกข้อที่อยู่ติดกันไม่ใช่ข้อเดิม บางคนเสื่อมช้า บางคนเสื่อมเร็ว ซึ่งบางครั้งในขณะที่เราผ่าตัดครั้งแรกกระดูกข้อนั้นยังไม่เสื่อมคุณหมออาจจะยังไม่แนะนำให้ผ่าตัดในครั้งนั้นก็ได้
ภาวะเช่นนี้อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแบบเรื้อรังยาวนานต่อมาได้อีก ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ เครียด กังวลใจเรียกว่าทุกข์ทั้งกายและทุกข์ทั้งใจไปหาหมอซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ก็ไม่ดีขึ้น จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้คลายความเจ็บปวด บางครั้งอาจได้รับการรักษาที่ไม่ถูกวิธี ผลที่ได้รับก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้างบางคนต้องผ่าจุดเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่ามากหลายครั้ง เป็นความทุกข์ใจของทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่า เห็นใจผู้ป่วยที่มีความทุกข์ทั้งหลาย ที่เจ็บปวดจากการผ่าตัดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงอยากมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความสุขมากขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายมากขึ้น เจ็บปวดน้อยลง พ้นจากความทุกข์ที่สะสมมาเป็นเวลานานๆ ถึงแม้การแก้ไขผลของ Failed Back จะยากกว่าการผ่าตัดในครั้งแรก แต่ด้วยทีมแพทย์ที่มากประสบการณ์และความชำนาญพิเศษ ผ่านการสั่งสมประสบการณ์อันยาวนาน พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยสูง ของโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และมีความ พร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยทุกท่าน
อาจารย์กล่าวเสริมว่า ความยากง่ายของการผ่าตัด อยู่ที่ขั้นตอนการประเมินคนไข้ซึ่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต้องหาต้นตอของปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บปวดอยู่ โดยต้องศึกษาว่าการผ่าตัดครั้งก่อนหน้าได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว มีการสูญเสียเรื่องระบบประสาทหรือไม่ถ้าเป็นเรื่องของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถผ่าตัดแก้ไขให้กลับมาดีขึ้นได้ และส่วนใหญ่ของโรค failed back surgery มักจะเป็นเช่นนี้ แต่หากเป็นการสูญเสียเรื่องระบบประสาท ต้องดูว่าเป็นการเสียหายเป็นแบบบางส่วนหรือถาวร หากเกิดการเสียหายแค่บางส่วนก็อาจสามารถทำให้ระบบประสาทกลับคืนมาได้
ในการรักษาทีมแพทย์ต้องพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและถูกต้องในการวางแผนการรักษา คุณหมอแนะนำว่า การเก็บประวัติการรักษาของตัวเองในแต่ละครั้งไว้ให้ครบถ้วน จะเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง และเป็นตัวช่วยสำคัญให้กับคุณหมอได้มากทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
อายุของผู้ป่วยไม่ใช่ข้อจำกัดของการรักษาโรคกระดูกสันหลัง แต่อยู่ที่ความแข็งแรงของสภาพร่างกายของคนไข้ซึ่งต้องนำมาพิจารณา เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลการรักษาต้องทำให้พอดีกับโรค และภาวะร่างกายที่คนไข้คนนั้นจะนำไปใช้งาน บางคนอาจไม่ต้องถึงขั้นแก้ไขด้วยการผ่าตัด แต่อาจรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งทางโรงพยาบาลก็มีความพร้อมในด้านนี้อยู่แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายและจิตใจของคนไข้ด้วย
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ข้อ และข้อสะโพกเทียม
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
โรคกระดูกสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักพบมากในผู้สูงอายุ มีการรักษาได้หลายวิธีเป็นขั้นเป็นตอนไปจนกระทั้งทาง เลือกสุดท้ายของการรักษา คือ การผ่าตัด ในอดีตผู้ป่วยมักกลัวการผ่าตัด เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และมีความเสี่ยง ทั้งเรื่องการรักษาแล้วไม่ค่อยหายและอาจจะถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวไกลมากขึ้นทุกวัน บวกกับประสบการณ์ของแพทย์ที่สั่งสมกันมานาน ทำให้การผ่าตัดในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไปและมีความปลอดภัยสูง แนวทางการผ่าตัดมีหลายวิธีการขึ้นอยู่กับชนิดของโรค และความถนัดของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งจะมีทั้การผ่าตัดปกติและการผ่าตัดที่เป็นลักษณะ Minimally invasive surgery ที่มุ่งหวังจะลดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อต่างๆให้น้อยที่สุด
แต่ปัญหาที่พบได้หลังการผ่าตัดไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆก็ตามอาจจะไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวังได้ หรือที่เรียกว่า Failed Back surgery คือ สาเหตุอาจจะเป็นผลมาจากการผ่าตัดเองหรือการดูแลรักษาร่างกายหลังผ่าตัด รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการ ไม่ออกกำลังกายหรืออกกำลังกายมากเกินไปหลังผ่าตัด พอแผลหายก็คิดว่าตัวเองหายดีแล้วจึงทำงานหนักเหล่านี้เป็นต้น ความจริงแล้วต้องขึ้นกับแต่ละชนิดของการผ่าตัด หรือบางรายอาจจะเกิดอาการปวดหลังเมื่อผ่าตัดไปนานๆ อีกกรณีหนึ่งเรียกว่า Adjacent segment pathologyคือ การเจ็บป่วยในส่วนพยาธิสภาพที่อยู่ชิดติดกัน หมายถึง ในครั้งแรกอาจมารับการผ่าตัดรักษากระดูกสันหลังข้อที่3 และ 4 เมื่อหายดีแล้ว กลับมาปวดอีก ซึ่งอาการเหมือนเดิมจึงคิดว่าเป็นที่เดิมรักษาไม่หาย แต่ความจริงแล้วอาการปวดเกิดจากกระดูกข้อที่อยู่ติดกันไม่ใช่ข้อเดิม บางคนเสื่อมช้า บางคนเสื่อมเร็ว ซึ่งบางครั้งในขณะที่เราผ่าตัดครั้งแรกกระดูกข้อนั้นยังไม่เสื่อมคุณหมออาจจะยังไม่แนะนำให้ผ่าตัดในครั้งนั้นก็ได้
ภาวะเช่นนี้อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแบบเรื้อรังยาวนานต่อมาได้อีก ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ เครียด กังวลใจเรียกว่าทุกข์ทั้งกายและทุกข์ทั้งใจไปหาหมอซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ก็ไม่ดีขึ้น จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้คลายความเจ็บปวด บางครั้งอาจได้รับการรักษาที่ไม่ถูกวิธี ผลที่ได้รับก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้างบางคนต้องผ่าจุดเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่ามากหลายครั้ง เป็นความทุกข์ใจของทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่า เห็นใจผู้ป่วยที่มีความทุกข์ทั้งหลาย ที่เจ็บปวดจากการผ่าตัดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงอยากมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความสุขมากขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายมากขึ้น เจ็บปวดน้อยลง พ้นจากความทุกข์ที่สะสมมาเป็นเวลานานๆ ถึงแม้การแก้ไขผลของ Failed Back จะยากกว่าการผ่าตัดในครั้งแรก แต่ด้วยทีมแพทย์ที่มากประสบการณ์และความชำนาญพิเศษ ผ่านการสั่งสมประสบการณ์อันยาวนาน พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยสูง ของโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และมีความ พร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยทุกท่าน
อาจารย์กล่าวเสริมว่า ความยากง่ายของการผ่าตัด อยู่ที่ขั้นตอนการประเมินคนไข้ซึ่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต้องหาต้นตอของปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บปวดอยู่ โดยต้องศึกษาว่าการผ่าตัดครั้งก่อนหน้าได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว มีการสูญเสียเรื่องระบบประสาทหรือไม่ถ้าเป็นเรื่องของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถผ่าตัดแก้ไขให้กลับมาดีขึ้นได้ และส่วนใหญ่ของโรค failed back surgery มักจะเป็นเช่นนี้ แต่หากเป็นการสูญเสียเรื่องระบบประสาท ต้องดูว่าเป็นการเสียหายเป็นแบบบางส่วนหรือถาวร หากเกิดการเสียหายแค่บางส่วนก็อาจสามารถทำให้ระบบประสาทกลับคืนมาได้
ในการรักษาทีมแพทย์ต้องพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและถูกต้องในการวางแผนการรักษา คุณหมอแนะนำว่า การเก็บประวัติการรักษาของตัวเองในแต่ละครั้งไว้ให้ครบถ้วน จะเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง และเป็นตัวช่วยสำคัญให้กับคุณหมอได้มากทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
อายุของผู้ป่วยไม่ใช่ข้อจำกัดของการรักษาโรคกระดูกสันหลัง แต่อยู่ที่ความแข็งแรงของสภาพร่างกายของคนไข้ซึ่งต้องนำมาพิจารณา เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลการรักษาต้องทำให้พอดีกับโรค และภาวะร่างกายที่คนไข้คนนั้นจะนำไปใช้งาน บางคนอาจไม่ต้องถึงขั้นแก้ไขด้วยการผ่าตัด แต่อาจรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งทางโรงพยาบาลก็มีความพร้อมในด้านนี้อยู่แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายและจิตใจของคนไข้ด้วย
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ข้อ และข้อสะโพกเทียม
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : คลิ๊ก http://bit.ly/PBPRCh
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
488 ถนนศรีนครินทร์ สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร: +66 (0) 2378-9000
โทรสาร: +66 (0) 2731-7044
อีเมล์: info.srinakarin@samitivej.co.th
488 ถนนศรีนครินทร์ สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร: +66 (0) 2378-9000
โทรสาร: +66 (0) 2731-7044
อีเมล์: info.srinakarin@samitivej.co.th
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
รักษาหลอดเลือดหัวใจแบบแผลเล็กเจ็บน้อย
“โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบมาก ปัจจุบันไม่ได้พบในวัยผู้สูงอายุเท่านั้น แต่พบว่าอายุ 35 ปีขึ้นไปก็มีความเสี่ยงแล้ว สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้ามได้แก่
• เหนื่อยง่าย หรือเหนื่อยหอบผิดปกติ
• แน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกระหว่างออกกำลังกายหรือเครียด
หากเกิดอาการดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย สำหรับบางกรณีที่เส้นเลือดตีบมากและเป็นการตีบที่บริเวณต้นทางของหลอดเลือดหัวใจ
วิธีรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือการสวนหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องใส่ขดลวดโลหะ (Stent) เข้าไปเสริมด้วย เพื่อลดอัตราการเกิดตีบซ้ำของเส้นเลือดหังทำบอลลูน ข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด แผลมีขนาดเท่ารอยเข็มฉีดยาเท่านั้น และระยะเวลาพักฟื้นน้อย สามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป (กรณีคนไข้ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียดพลัน)
นพ.อภิชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
Call Center : 02-711-8181
หัวใจวาย
หัวใจวาย คือ หัวใจทำงานล้มเหลวไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ
ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ขาดออกซิเจน อาการอาจเกิดขึ้นเฉียบพลันทันที หรือค่อยเป็นค่อยไปอย่างเรื้อรังก็ได้
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของโรคหัวใจทุกชนิด และยังเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆอีกหลายโรค
โรคนี้ถือเป็นภาวะร้ายแรงหากรักษาไม่ทัน อาจเสียชีวิตได้
สาเหตุ ภาวะหัวใจวายเกิดได้หลายสาเหตุ อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความอ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย และความเครียด เป็นต้น ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ได้ใส่ใจ บางรายเป็นขณะทำงานพอพักแล้วหาย จึงยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ มีจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก
Expert‘s talk โดย
อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
Phone: 023789114
Call Center: 023789000
Link Web: http://bit.ly/Qntwtc
อีเมล์: info.srinakarin@samitivej.co.th
หมายเหตุ :ส่งภาพเข้าประกวด บรรยายเกี่ยวกับ "การดูแลหัวใจของคุณ และครอบครัว" ลุ้นรางวัลมากมาก อาทิ “โปรแกรมตรวจสุขภาพเพื่อดูแลและป้องกันโรคหัวใจ” 12,000 บาท
ดูรายละเอียดคลิ๊ก http://bit.ly/RNcPKx
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)