สุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา นอกจากสุขภาพของร่างกายและจิตใจแล้ว สุขภาพของฟันก็เป็นสิ่งที่เราละเลยไม่ได้ หากสุขภาพของฟันเสื่อมลง นอกจากจะทำให้สุขภาพในการทำงานของเราน้อยลง ยังอาจส่งผลเสียถึงบุคลิกภาพ และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงอีกด้วย ฉะนั้นเราจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ด้วยการหมั่นดูแลรักษาสุขภาพฟันด้วยตนเอง และหมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำ
ดูแลสุขภาพด้วยตัวคุณเอง
การทำความสะอาดฟัน
1. แปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี ร่วมกับการใช้เส้นใยขัดฟัน อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง
2. ควรใช้แปรงชนิดขนแปรงนุ่ม (Soft) ปลายมน หน้าตัดเรียบ และควรเปลี่ยนแปลงสีฟันทุก 3-6 เดือน หรือเมื่อแปรงสีฟันเริ่มเปลี่ยนรูป
3. ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ผสมเพื่อป้องกันฟันผุ
4. ตรวจดูฟัน เหงือก และอวัยวะในช่องปากด้วยตนเอง
อาหาร
1. ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อสุขภาพของร่างกายรวมทั้งสุขภาพของเหงือกและฟัน โดยเน้นอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ถั่ว และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย
2. ไม่ควรรับประทานอกหารประเภทหวานจัด อาหารที่มักติดตามซอกฟัน และอาหารที่ต้องอมอยู่ในปากนานๆ เช่น ลูกกวาด ขนมอบกรอบ คุกกี้ เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุสูงขึ้น
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
1. การเคี้ยวอาหารข้างเดียวเป็นประจำ จะส่งผลให้ข้างที่ไม่ได้ใช้งานเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย และยังอาจทำให้ใบหน้าสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน
2. การรับประทานอาหารแข็ง จะทำให้ฟันสึก ฟันร้าว และปวดเมื่อยบริเวณขากรรไกร
3. การกัดปากกาและดินสอ จะทำให้ฟันสึกเป็นร่องตามลักษณะวัสดุที่กัด และอาจทำให้ตำแหน่งของฟันผิดไปจากที่ควรเป็น
4. การใช้ไม้จิ้มฟันทำความสะอาดซอกฟัน จะส่งผลให้ฟันห่าง เศษอาหารอัดติดซอกฟันทำให้เหงือกอักเสบได้
5. การนอนกัดฟัน จะทำให้ฟันสึกและปวดเมื่อยบริเวณข้อต่อขากรรไกร
6. การดูดนิ้ว จะทำให้ฟันหน้าบนยื่น ฟันหน้าล่างหุบเข้า และการสบฟันผิดปกติ
การทำความสะอาดฟัน
1. แปรงฟันให้สะอาดและถูกวิธี ร่วมกับการใช้เส้นใยขัดฟัน อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง
2. ควรใช้แปรงชนิดขนแปรงนุ่ม (Soft) ปลายมน หน้าตัดเรียบ และควรเปลี่ยนแปลงสีฟันทุก 3-6 เดือน หรือเมื่อแปรงสีฟันเริ่มเปลี่ยนรูป
3. ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ผสมเพื่อป้องกันฟันผุ
4. ตรวจดูฟัน เหงือก และอวัยวะในช่องปากด้วยตนเอง
อาหาร
1. ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อสุขภาพของร่างกายรวมทั้งสุขภาพของเหงือกและฟัน โดยเน้นอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ถั่ว และเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย
2. ไม่ควรรับประทานอกหารประเภทหวานจัด อาหารที่มักติดตามซอกฟัน และอาหารที่ต้องอมอยู่ในปากนานๆ เช่น ลูกกวาด ขนมอบกรอบ คุกกี้ เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุสูงขึ้น
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
1. การเคี้ยวอาหารข้างเดียวเป็นประจำ จะส่งผลให้ข้างที่ไม่ได้ใช้งานเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย และยังอาจทำให้ใบหน้าสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน
2. การรับประทานอาหารแข็ง จะทำให้ฟันสึก ฟันร้าว และปวดเมื่อยบริเวณขากรรไกร
3. การกัดปากกาและดินสอ จะทำให้ฟันสึกเป็นร่องตามลักษณะวัสดุที่กัด และอาจทำให้ตำแหน่งของฟันผิดไปจากที่ควรเป็น
4. การใช้ไม้จิ้มฟันทำความสะอาดซอกฟัน จะส่งผลให้ฟันห่าง เศษอาหารอัดติดซอกฟันทำให้เหงือกอักเสบได้
5. การนอนกัดฟัน จะทำให้ฟันสึกและปวดเมื่อยบริเวณข้อต่อขากรรไกร
6. การดูดนิ้ว จะทำให้ฟันหน้าบนยื่น ฟันหน้าล่างหุบเข้า และการสบฟันผิดปกติ
ทันตแพทย์ช่วยท่านได้อย่างไรในการดูแลสุขภาพฟัน
ท่านควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน – 1ปี ในการพบเพื่อตรวจสุขภาพฟันและอวัยวะภายในช่องปาก ทันตแพทย์จะตรวจดูช่องปากด้วยตาเปล่า และอาจใช้การเอกซเรย์แบบด้านประชิดฟัน ( Bite Wing ) แบบรอบปลายรากฟัน ( Periapical ) หรือแบบถ่ายภาพรอบศรีษะ ( Panoramic Radiography ) ช่วยวินิจฉันในส่วนที่มองไม่เห็นเพื่อให้การตรวจละเอียดยิ่งขึ้น เมื่อทราบสภาพของฟันและช่องปาก หากต้องได้รับการรักษา ทันตแพทย์จะอธิบายและแนะนำแนวทางการรักษาที่ท่านสามารถเลือกได้ พร้อมทั้งวางแผนการรักษาให้แก่ท่านหลังจากที่ท่านเลือกแนวทางที่ท่านต้องการแล้ว การหมั่นมาพบทันตแพทย์เป็นประจำ จะช่วยให้ทันตแพทย์สามาตถพบและทำการรักษาโรคทางช่องปากของท่านได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก การปล่อยให้โรคลุกลามจะทำให้ทางเลือกในการรักษาน้อยลง การรักษาเป็นไปได้ยาก และเกิดค่าใช้จ่ายสูงตามมา
การถ่ายภาพรังสีรอบศรีษะ (Panoramic Radiography )
เป็นการถ่ายภาพรังสีบริเวณกว้างเพื่อให้ได้ภาพของขากรรไกรบนและล่างติดต่อกันโดยตลอดบนฟิล์มเดียวโดยไม่มีอวัยวอื่นมาบดบัง ภาพที่ได้จะช่วยให้เห็นฟันคุด ฟันเกินที่ไม่ปรากฏในช่องปาก พยาธิสภาพหรือรอยโรค เช่น ฟันผุจนมีเงาดำที่ปลายราก กระดูกรอบฟันถูกทำลาย ถุงน้ำ (Cyst ) เนื้องอก มะเร็ง ภาพบริเวณกว้างนี้จะช่วยให้เห็นขอบเขตของรอยโรคว่าสิ้นสุดที่บริเวณใดของขากรรไกร จากภาพทันตแพทย์ยังอาจพบรอยโรคที่บริเวณอื่นที่ไม่คาดคิดอีกด้วย นอกจากนั้น ภาพจะช่วยในการตรวจการพัฒนาการของความผิดปกติต่างๆ ตรวจการพัฒนาการของฟันและกระดูก โดยเฉพระในระยะที่ฟันน้ำนมและฟันแท้กำลังขึ้น และภาพนี้สามารถใช้ช่วยในการตรวจฟันของผู้ที่ไม่สามารถอ้าปากได้
การดูแลสุขภาพฟันในหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีผลทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกได้สูงกว่าคนทั่วไป และผลจากความต้องการแคลเซียมที่สูงขึ้นของมารดาทำให้มีการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูกและฟัน ผลทำให้ฟันผุง่ายขึ้น ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรจะได้พบทันตแพทย์ในช่วงระยะตั้งครรภ์ 3-6 เดือน เพื่อรับการทำความสะอาดเหงือกและฟัน ด้วยการขูดหินปูนและกำจัดคราบต่างๆ พร้อมทั้งตรวจสุขภาพฟัน ถ้ามีฟันผุการอุดเพื่อบูรณะฟันใหม่จะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การบริโภคอาหารที่ทีแคลเซียมสูงจะช่วยให้ฟันน้ำนมของลูกชึ่งสร้างตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือนแข็งแรงขึ้น
ด้วยความปรารถนาดีจาก
โรงพยาบาลสมิติเวช
ท่านควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน – 1ปี ในการพบเพื่อตรวจสุขภาพฟันและอวัยวะภายในช่องปาก ทันตแพทย์จะตรวจดูช่องปากด้วยตาเปล่า และอาจใช้การเอกซเรย์แบบด้านประชิดฟัน ( Bite Wing ) แบบรอบปลายรากฟัน ( Periapical ) หรือแบบถ่ายภาพรอบศรีษะ ( Panoramic Radiography ) ช่วยวินิจฉันในส่วนที่มองไม่เห็นเพื่อให้การตรวจละเอียดยิ่งขึ้น เมื่อทราบสภาพของฟันและช่องปาก หากต้องได้รับการรักษา ทันตแพทย์จะอธิบายและแนะนำแนวทางการรักษาที่ท่านสามารถเลือกได้ พร้อมทั้งวางแผนการรักษาให้แก่ท่านหลังจากที่ท่านเลือกแนวทางที่ท่านต้องการแล้ว การหมั่นมาพบทันตแพทย์เป็นประจำ จะช่วยให้ทันตแพทย์สามาตถพบและทำการรักษาโรคทางช่องปากของท่านได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก การปล่อยให้โรคลุกลามจะทำให้ทางเลือกในการรักษาน้อยลง การรักษาเป็นไปได้ยาก และเกิดค่าใช้จ่ายสูงตามมา
การถ่ายภาพรังสีรอบศรีษะ (Panoramic Radiography )
เป็นการถ่ายภาพรังสีบริเวณกว้างเพื่อให้ได้ภาพของขากรรไกรบนและล่างติดต่อกันโดยตลอดบนฟิล์มเดียวโดยไม่มีอวัยวอื่นมาบดบัง ภาพที่ได้จะช่วยให้เห็นฟันคุด ฟันเกินที่ไม่ปรากฏในช่องปาก พยาธิสภาพหรือรอยโรค เช่น ฟันผุจนมีเงาดำที่ปลายราก กระดูกรอบฟันถูกทำลาย ถุงน้ำ (Cyst ) เนื้องอก มะเร็ง ภาพบริเวณกว้างนี้จะช่วยให้เห็นขอบเขตของรอยโรคว่าสิ้นสุดที่บริเวณใดของขากรรไกร จากภาพทันตแพทย์ยังอาจพบรอยโรคที่บริเวณอื่นที่ไม่คาดคิดอีกด้วย นอกจากนั้น ภาพจะช่วยในการตรวจการพัฒนาการของความผิดปกติต่างๆ ตรวจการพัฒนาการของฟันและกระดูก โดยเฉพระในระยะที่ฟันน้ำนมและฟันแท้กำลังขึ้น และภาพนี้สามารถใช้ช่วยในการตรวจฟันของผู้ที่ไม่สามารถอ้าปากได้
การดูแลสุขภาพฟันในหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีผลทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกได้สูงกว่าคนทั่วไป และผลจากความต้องการแคลเซียมที่สูงขึ้นของมารดาทำให้มีการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูกและฟัน ผลทำให้ฟันผุง่ายขึ้น ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรจะได้พบทันตแพทย์ในช่วงระยะตั้งครรภ์ 3-6 เดือน เพื่อรับการทำความสะอาดเหงือกและฟัน ด้วยการขูดหินปูนและกำจัดคราบต่างๆ พร้อมทั้งตรวจสุขภาพฟัน ถ้ามีฟันผุการอุดเพื่อบูรณะฟันใหม่จะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การบริโภคอาหารที่ทีแคลเซียมสูงจะช่วยให้ฟันน้ำนมของลูกชึ่งสร้างตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือนแข็งแรงขึ้น
ด้วยความปรารถนาดีจาก
โรงพยาบาลสมิติเวช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น