สนุกได้กับชีวิตที่คุณรัก ด้วยมาตรฐานการรักษาโรงเฉพาะทางระดับโลกถึง 5 สาขา ที่ได้รับการรับรองจาก JCI สถาบันรับรองคุณภาพระดับสากลแห่งสหรัฐอเมริกา สมิติเวชพร้อมดูแลคุณ ให้คุณได้กลับไปสนุกกับกิจกรรมที่คุณรักได้อีก ด้วยมาตรฐานระดับโลกนี้ ผู้ป่วยและครอบครัวมั่นใจได้ถึงการดูแลรักษาอย่างถูกต้องแม่นยำ ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษา ขณะพักฟื้น จนสามารถใช้ชีวิตเป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ด้วยศักยภาพในการรักษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ในเรื่อง
|
1. โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร
โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกว่า “โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต” เกิดจาก สมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างฉับพลัน แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกว่า “โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต” เกิดจาก สมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างฉับพลัน แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
1) เส้นเลือดสมองตีบ
2) เส้นเลือดสมองแตก
เมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เซลล์สมองจะตาย ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายในส่วนที่ควบคุมโดยสมองที่ได้รับความเสียหาย
2. โรคหลอดเลือดสมองพบได้บ่อยแค่ไหน
ทั่วโลกจะพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 2 คนต่อประชากรทุกๆ 1000 คน แปดสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั้งหมดมีอายุมากกว่า 60 ปี
ทำไมโรคหลอดเลือดสมองจึงรีบด่วน
ทุกนาทีมีค่า ยิ่งสมองขาดเลือดนานสมองจะถูกทำลายมากขึ้น ช่วงเวลาสำคัญที่สุดคือ 3 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการ และควรพาผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายใน 60 นาที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
ทั่วโลกจะพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 2 คนต่อประชากรทุกๆ 1000 คน แปดสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั้งหมดมีอายุมากกว่า 60 ปี
ทำไมโรคหลอดเลือดสมองจึงรีบด่วน
ทุกนาทีมีค่า ยิ่งสมองขาดเลือดนานสมองจะถูกทำลายมากขึ้น ช่วงเวลาสำคัญที่สุดคือ 3 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการ และควรพาผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายใน 60 นาที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
3. อาการสำคัญ
4. ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
การลดปัจจัยเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
การลดปัจจัยเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
1) ความดันโลหิตสูง
2) หัวใจเต้นผิดจังหวะ
3) ไขมันในเลือดสูง
4) เบาหวาน
5) สูบบุหรี่
6) อ้วน/น้ำหนักเกิน
7) ความเครียด
8) ขาดการออกกำลังกาย
5. ปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้
1) อายุ
2) เพศ
3) เชื้อชาติ
4) ประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว
5) โรคทางพันธุกรรมบางประเภท
6) เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจขาดเลือดมาก่อน
6. โรคหลอดเลือดสมองหายเป็นปกติได้หรือไม่
การฟื้นสภาพร่างกายจากโรคหลอดเลือดสมองต้องอาศัยระยะเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะในระยะหกเดือนแรกหลังเกิดอาการ อาการจะดีขึ้นเร็วช้าหรือมากน้อยเพียงใดขึ้นกับสภาพร่างกายและพยาธิสภาพของแต่ละบุคคล การทำกายภาพบำบัดจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
โอกาสเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง
การกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองพบได้ค่อนข้างบ่อย พบว่าประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่โรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกภายในห้าปี
การฟื้นสภาพร่างกายจากโรคหลอดเลือดสมองต้องอาศัยระยะเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะในระยะหกเดือนแรกหลังเกิดอาการ อาการจะดีขึ้นเร็วช้าหรือมากน้อยเพียงใดขึ้นกับสภาพร่างกายและพยาธิสภาพของแต่ละบุคคล การทำกายภาพบำบัดจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
โอกาสเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง
การกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองพบได้ค่อนข้างบ่อย พบว่าประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่โรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกภายในห้าปี
7. การปฎิบัติตัว
1) ควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้อยู่ในค่าที่กำหนด
· แอลดีแอล คลอเลสเตอรอล (LDL-cholesterol) < 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
· เอชดีแอล คลอเลสเตอรอล (HDL-cholesterol) > 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
· ความดันโลหิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
· น้ำตาลในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
2) รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ งดเค็ม งดหวาน
3) รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
4) ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ
5) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
6) เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้อยกว่า 1 ดริ๊งต่อวันสำหรับผู้หญิง หรือ 2 ดริ๊งต่อวันสำหรับผู้ชาย
(1 ดริ๊ง เท่ากับ เบียร์ 360 มิลลิลิตร ไวน์ 120 มิลลิลิตร หรือเหล้า 30 มิลลิลิตร)
(1 ดริ๊ง เท่ากับ เบียร์ 360 มิลลิลิตร ไวน์ 120 มิลลิลิตร หรือเหล้า 30 มิลลิลิตร)
7) ห้ามใช้ยาเสพติดทุกชนิด เช่น เฮโรอีน โคเคน หรือกัญชา
8. วิธีป้องการการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ
1) หยุดสูบบุหรี่
2) รับประทานยาควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาล
3) รับประทานยาแอสไพรินหรือยาต้านเกร็ดเลือดตามแพทย์สั่ง
4) ออกกำลังกายหนักปานกลาง อย่างน้อย 30 นาทีต่อเนื่อง ห้าวันต่อสัปดาห์
5) มาพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด
9. คำแนะนำสำหรับการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน
1) ประสานงานร่วมกับผู้ดูแลเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
2) พบแพทย์ตามนัดภายใน 1 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล
3) ทำการกายภาพบำบัดต่อเนื่องที่บ้านสม่ำเสมอ
4) ทำกิจวัตรประจำวันให้ใกล้เคียงปกติเหมือนก่อนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ค่อยๆ เริ่มวันละเล็กวันละน้อย
5) สร้างเครือข่ายในชุมชนเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของผู้ป่วย
10. ข้อควรปฎิบัติเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยโรคหลอดเลือดสมอง
โทรเรียกขอความช่วยเหลือที่ 0-2378-9000
รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
11. แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1) สอบถามรายละเอียดข้อสงสัยกับแพทย์ผู้ตรวจรักษา
โทร 0-2378-9000
โทร 0-2378-9000
12. การตรวจยืนยันโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายชนิดที่ช่วยในการวินิจฉัยและสืบค้นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่
ปัจจุบันมีอุปกรณ์หลายชนิดที่ช่วยในการวินิจฉัยและสืบค้นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่
1) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
2) อัลตราซาวด์หลอดเลือดศีรษะและคอ (carotid duplex and transcranial droppler ultrasound)
3) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ฉีดสีเส้นเลือด (CT angiography)หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าฉีดสีเส้นเลือด (MRA)
4) อัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiography)
13. แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
1) การรักษาด้วยยา แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
· ยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน, Clopidogrel
· ยาละลายลิ่มเลือด เช่น heparin, low molecular weight heparin, warfarin
· ยาลดไขมัน เช่น statin
· ยาลดความดันโลหิต
2) การรักษาด้วยการผ่าตัด
ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นเส้นเลือดสมองแตกหรือเส้นเลือดสมองตีบขนาดใหญ่
ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นเส้นเลือดสมองแตกหรือเส้นเลือดสมองตีบขนาดใหญ่
3) การกายภาพบำบัด
14. โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำเป็นต้องได้รับโภชนบำบัดเนื่องจากสาเหตุหลัก 2 ประการ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำเป็นต้องได้รับโภชนบำบัดเนื่องจากสาเหตุหลัก 2 ประการ
1) ผู้ป่วยในช่วงที่เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ขณะที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือพูดไม่ชัดมักมีปัญหาเรื่องการกลืนลำบาก ทำให้อาจเกิดปัญหาสำลักอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบตามมา ทำให้การฟื้นตัวไม่เป็นไปตามที่แพทย์คาดการณ์ไว้
ขณะที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือพูดไม่ชัดมักมีปัญหาเรื่องการกลืนลำบาก ทำให้อาจเกิดปัญหาสำลักอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบตามมา ทำให้การฟื้นตัวไม่เป็นไปตามที่แพทย์คาดการณ์ไว้
2) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักมีโรคประจำตัวอื่นอยู่แล้ว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถลดความรุนแรงลงได้โดยการให้โภชนบำบัด
เมื่อมีโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับอาหารช่วงต้นเป็นอาหารอ่อน เพื่อให้สามารถกลืนได้ง่ายขึ้น ลดโอกาสสำลักอาหารลง เช่น เยลลี่ โจ๊กปั่นข้น ซุปครีมข้นต่างๆ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยอาจสามารถรับประทานอาหารที่แข็งได้ หากหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และเคี้ยวช้าๆ เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น เริ่มกลืนได้ดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถกินอาหารได้ตามปกติ ความต้องการสารอาหารในช่วงแรกของการเจ็บป่วย อาจไม่สูงเท่าในช่วงที่ผู้ป่วยฟื้นตัวเป็นปกติ การรับประทานอาหารให้ได้พลังงานประมาณ 1500 – 1800 กิโลแคลอรี่ก็เพียงพอในช่วงนี้ อาหารที่รับประทานควรมีปริมาณสารอาหารและองค์ประกอบตามโรคประจำตัว ที่มีอยู่เดิม
ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ควรได้รับเกลือมากกว่า 2 กรัมต่อวัน หรือหากจะให้จำง่ายคือไม่เติมเกลือ น้ำปลา หรือซีอิ๊วเพิ่มในอาหารที่ซื้อรับประทาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรได้รับเกลือโปแตสเซียมซึ่งมีมากในผลไม้อันมีผลดีในการช่วยลดความดันโลหิตผลไม้ที่มีเกลือโปแตสเซียมสูงได้แก่ ส้ม กล้วย มะละกอ สตรอเบอรี่ ลูกเกด และผลไม้ที่มีเมล็ดแข็งต่างๆ (พีช, ลูกไหน เป็นต้น) ผักใบเขียวและถั่วก็มีปริมาณเกลือโปแตสเซียมสูงเช่นกัน ได้แก่ ผักโขม, มะเขือเทศ, ดอกกะหล่ำ, แครอท และถั่ว
ในผู้ป่วยไขมันสูงควรลดปริมาณไขมันที่รับประทานลง หลีกเลี่ยงอาหารทอดที่อมน้ำมัน เช่น ไข่เจียว หมูทอด ลูกชิ้นทอด เป็นต้นแม้ว่าจะใช้น้ำมันพืชทอดก็ตาม เพราะไขมันที่ได้จากพืชแม้จะไม่มีโคเลสเตอรอล แต่ก็มีไตรกลีเซอไรด์ซึ่งหากมากเกินไปก็สามารถทำให้มีคราบหินปูนเกาะในหลอดเลือดได้เช่นเดียวกัน ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโคเลสเตอรอลสูงควรหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เนย ครีมที่ได้จากนมสัตว์ สัตว์ทะเลมีเปลือกต่างๆ เช่น หอย ปู ปลาหมึก กุ้ง ก็มีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง ซึ่งหากรับประทานมากเกินไปก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ อย่างไรก็ดีอาหารทะเลเป็นแหล่งของเกลือไอโอดีน และซีลีเนียมที่ดี
ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานอาหารจำพวกแป้งขัดสีหรือแป้งที่ผ่านกระบวนการให้น้อยลง เช่น ข้าวขาว, ขนมปังขาว, ก๋วยเตี๋ยว, เส้นพาสต้า เป็นต้น ผลไม้ที่มีรสหวานจัดสามารถรับประทานได้ แต่ต้องลดปริมาณการรับประทานในแต่ละครั้งลง เช่น รับประทานส้มเขียวหวานลูกเล็กได้วันละ 1-2 ผลเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป หรือ รับประทานแตงโมแดงวันละ 4 ชิ้นพอคำ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาโรคประจำตัวหลายอย่างควรได้รับคำแนะนำในเรื่องอาหารอย่าง เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนบำบัด (Nutritionist) เพื่อการรักษาแบบองค์รวม ประสานกับการดูแล จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสมองและแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น