อาการปวดศีรษะไมเกรนพบบ่อยในเด็กวัยเรียน วัยหนุ่มสาว หญิงระยะก่อนมีประจำเดือน แต่พบน้อยในผู้สูงอายุ
ลักษณะ ของการปวดศีรษะไมเกรน ปวดครึ่งซีก ปวดตุ้บๆ ปวดรุนแรง มีคลื่นใส้อาเจียนร่วมด้วย ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดศีรษะมากขึ้นเมื่อได้ยินเสียงดังหรือเห็นแสงจ้า
สาเหตุของโรคปวดศีรษะไมเกรน
• สาเหตุจากพันธุกรรม
• สาเหตุจากภายนอก
• จากการอดนอน ทำงานหนักเกินไป ความเครียด การดื่มเหล้า กาแฟ ยาคุมกำเนิด อาหารบางชนิด เช่นกล้วยหอม ช๊อคโกแลต เนยแข็ง เบียร์ และไวน์เป็นต้น
การรักษา
1. การรักษาในขณะปวดศีรษะ
1.1 ให้ยาแก้ปวดธรรมดา เช่น ยาพาราเซตตามอล
1.2 ยา แอสไพรินหรือยากลุ่ม NSAIDS ถ้ารับประทานยาพาราเชตตามอลแล้วไม่หาย
1.3 ยาพวกเออร์กอต หรือยา กลุ่ม TRIPTAN ในกรณีที่ปวดรุนแรง
2. การป้องกันไมเกรน
2.1 หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
2.2 การใช้ยาป้องกัน
การบรรเทาอาการปวดไมเกรนด้วยตนเอง
1. ใช้ก้อนน้ำแข็งหรือกระเป๋าน้ำแข็งประคบที่ศีรษะ
2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอในห้องที่เงียบสงบ
3. การนวด
ข้อควรระวัง
ควรรับประทานยากลุ่มเออร์กอตหรือ TRIPTAN ตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น เนื่องจากยาประเภทนี้มีผลแทรกซ้อน หากรับประทานไม่ถูกวิธี และอาจมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่น
พญ. สุทธิรา โพธิศรี และพญ. อรุณี ประจัญอธรรม
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น