สำหรับคุณผู้หญิงที่ปรารถนาอยากมีเต้าที่สวยงาม แต่ละเลยไม่ดูแล วันหนึ่งอาจเสียใจ เมื่อสองเต้าที่หวงแหนแปรเปลี่ยนเป็นมะเร็ง
มาตรวจเต้านมกันเถอะการ ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีป้องกันมะเร็งเต้านมได้ทางหนึ่ง ควรสำรวจเต้านมของคุณเป็นประจำเดือนละครั้ง ช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ 7-10 วันหลังจากเริ่มมีประจำเดือน ในสุภาพสตรีที่หมดประจำเดือนแล้วควรเลือกวันใดวันหนึ่ง เช่น วันแรกของเดือน เพื่อความสะดวกและเตือนตนเองในการตรวจเป็นประจำทุกเดือน โดยสามารถตรวจได้หลายวิธีดังนี้
ตรวจหน้ากระจก
• ยืนตรง มือแนบลำตัว สังเกตเต้านมทั้งสองข้างมีความผิดปกติหรือไม่
• ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นประสานกันทางด้านหลังของศีรษะ แล้วออกแรงดันศีรษะมาด้านหน้า
• ยกมือเท้าเอว ออกแรงกดสะโพก พร้อมกับโน้มข้อศอกและหัวไหล่ไปด้านหน้า แล้วกลับสู่ท่าเดิม เพื่อให้เกิดการหดตัวและเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตลักษณะที่ผิดปกติ
ตรวจขณะอาบน้ำ • ยกแขนข้างซ้ายขึ้น ใช้ปลายนิ้วมือข้างขวา วางราบลงบนเต้านมข้างซ้าย บริเวณส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านม
• เริ่มคลำในลักษณะคลึงเบาๆ เป็นวงกลมเล็กๆ เคลื่อนเป็นวงกลมไปช้าๆ รอบเต้านม แล้วค่อยๆเขยิบเข้ามาเป็นวงแคบสู่บริเวณหัวนม และคลำบริเวณระหว่างเต้านมกับรักแร้ สังเกตดูว่ามีก้อนเนื้อแข็งเป็นไตหรือไม่
• บีบหัวนมเบาๆ ดูว่ามีของเหลว เช่น น้ำเหลือง หรือน้ำเลือดออกมาหรือไม่ แล้วทำการตรวจซ้ำด้วยวิธีเดียวกันบนเต้านมข้างขวา
ตรวจในท่านอนราบ
• นอนราบ ยกแขนข้างซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ
• ใช้หมอนหรือผ้ารองบริเวณใต้ไหล่ซ้าย
• ใช้วิธีการคลำและตรวจเช่นเดียวกับวิธีการตรวจในขณะอาบน้ำ
หากพบสิ่งผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้อ หรือเนื้อที่แข็งเป็นไต ควรปรึกษาแพทย์ทันที
ตรวจหน้ากระจก
• ยืนตรง มือแนบลำตัว สังเกตเต้านมทั้งสองข้างมีความผิดปกติหรือไม่
• ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นประสานกันทางด้านหลังของศีรษะ แล้วออกแรงดันศีรษะมาด้านหน้า
• ยกมือเท้าเอว ออกแรงกดสะโพก พร้อมกับโน้มข้อศอกและหัวไหล่ไปด้านหน้า แล้วกลับสู่ท่าเดิม เพื่อให้เกิดการหดตัวและเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตลักษณะที่ผิดปกติ
ตรวจขณะอาบน้ำ • ยกแขนข้างซ้ายขึ้น ใช้ปลายนิ้วมือข้างขวา วางราบลงบนเต้านมข้างซ้าย บริเวณส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านม
• เริ่มคลำในลักษณะคลึงเบาๆ เป็นวงกลมเล็กๆ เคลื่อนเป็นวงกลมไปช้าๆ รอบเต้านม แล้วค่อยๆเขยิบเข้ามาเป็นวงแคบสู่บริเวณหัวนม และคลำบริเวณระหว่างเต้านมกับรักแร้ สังเกตดูว่ามีก้อนเนื้อแข็งเป็นไตหรือไม่
• บีบหัวนมเบาๆ ดูว่ามีของเหลว เช่น น้ำเหลือง หรือน้ำเลือดออกมาหรือไม่ แล้วทำการตรวจซ้ำด้วยวิธีเดียวกันบนเต้านมข้างขวา
ตรวจในท่านอนราบ
• นอนราบ ยกแขนข้างซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ
• ใช้หมอนหรือผ้ารองบริเวณใต้ไหล่ซ้าย
• ใช้วิธีการคลำและตรวจเช่นเดียวกับวิธีการตรวจในขณะอาบน้ำ
หากพบสิ่งผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้อ หรือเนื้อที่แข็งเป็นไต ควรปรึกษาแพทย์ทันที
เมื่อไหร่ควรตรวจแมมโมแกรม
ผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ควรไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการทำแมมโมแกรมหรือการเอกซเรย์เต้านมร่วมด้วย
• อายุมากกว่า 40 ปี
• อายุมากกว่า 35 ปี และมีอาการของเต้านมที่ผิดปกติ
• อายุน้อยกว่า 35 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าปกติ เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
• โสด ไม่เคยมีบุตร
• มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดช้าหลังอายุ 55 ปี
• รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง หรือยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
เนื่องจากการทำแมมโมแกรมจะช่วยให้เห็นความผิดปกติที่เราอาจคลำไม่พบได้ดี กว่า ยิ่งในปัจจุบันมีการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระบบดิจิตอล หรือ Digital Mammogram ทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มความละเอียดในการแสดงภาพแม้ในก้อนแคลเซียมหรือเนื้องอกที่มีขนาด เล็กมาก โดยอาจตรวจร่วมกับการทำอัลตราซาวนด์ ที่มีความสามารถในการแยกก้อนเนื้อและถุงน้ำ (ซีสต์) ได้ดี ช่วยให้แพทย์สามารถให้การรักษาและหยุดยั้งการลุกลามของมะเร็งได้อย่างทัน ท่วงที
ผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ควรไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการทำแมมโมแกรมหรือการเอกซเรย์เต้านมร่วมด้วย
• อายุมากกว่า 40 ปี
• อายุมากกว่า 35 ปี และมีอาการของเต้านมที่ผิดปกติ
• อายุน้อยกว่า 35 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าปกติ เช่น มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
• โสด ไม่เคยมีบุตร
• มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดช้าหลังอายุ 55 ปี
• รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง หรือยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
เนื่องจากการทำแมมโมแกรมจะช่วยให้เห็นความผิดปกติที่เราอาจคลำไม่พบได้ดี กว่า ยิ่งในปัจจุบันมีการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระบบดิจิตอล หรือ Digital Mammogram ทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น สามารถเพิ่มความละเอียดในการแสดงภาพแม้ในก้อนแคลเซียมหรือเนื้องอกที่มีขนาด เล็กมาก โดยอาจตรวจร่วมกับการทำอัลตราซาวนด์ ที่มีความสามารถในการแยกก้อนเนื้อและถุงน้ำ (ซีสต์) ได้ดี ช่วยให้แพทย์สามารถให้การรักษาและหยุดยั้งการลุกลามของมะเร็งได้อย่างทัน ท่วงที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น