การออกกำลังกายถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับทุกคน แต่การออกกำลังกายอย่างรุนแรงเกินไป อาจทำให้ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งมีผลเสียต่อข้อต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อที่มีการรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า หรือบริเวณข้อเท้า เป็นต้น
กีฬาที่เรามักพบการบาดเจ็บของข้อเข่าหรือข้อเท้าได้บ่อยๆ คือ กีฬาที่ต้องใช้การปะทะ หรือได้รับการกระทบกระแทกกัน เช่น ฟุตบอล แบดมินตัน เทนนิส หรือแม้แต่กีฬาบางประเภทที่ไม่ได้มีการปะทะกัน แต่ว่าต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งหมดอย่างเต็มที่ เช่น กอล์ฟ ไม่ว่าจะเป็นการหวดวงสวิงต่างๆ การเดิน การบิดตัวเวลาที่เราตีวงสวิงออกไป ก็ทำให้มีการบาดเจ็บตรงข้อเข่าหรือข้อเท้าได้เหมือนกัน
การรักษาแบ่งตามอาการบาดเจ็บที่เรามักพบได้บ่อย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน
ระดับที่ 1 คือการบาดเจ็บที่มีการฟกช้ำธรรมดา การรักษาส่วนใหญ่ก็จะใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาต้านการอักเสบจะช่วยลดอาการปวด และพักการใช้งานของข้อต่อบริเวณนั้น ก็ทำให้อาการดีขึ้น
ระดับที่ 2 อาการบาดเจ็บรุนแรงกว่าระดับที่ 1 อาจจะทำให้มีการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดบางส่วนหรือว่ามีการบาดเจ็บต่อข้อกระดูกอ่อน การรักษาอาจต้องมีการดามตรงข้อที่มีการบาดเจ็บ เช่น การเข้าเฝือก
ระดับที่ 3 เป็นการบาดเจ็บที่ค่อนข้างรุนแรง มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นทั้งหมด กรณีนี้จะทำให้ความแข็งแรงของข้อต่อสูญเสียไป อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ความแข็งแรงของข้อกลับมาเหมือนเดิมได้
การเล่นกีฬาเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่การเตรียมความพร้อมของร่างกายคือสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ทุกครั้งก่อนเล่นกีฬา ต้องมีการวอร์มอัพให้กล้ามเนื้อพร้อมที่จะใช้งานจริง ทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการฉีกขาด พร้อมทั้งศึกษาวิธีการเล่นกีฬาแต่ละประเภทโดยละเอียด เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้มากขึ้น ทำให้คุณสามารถเล่นกีฬาที่โปรดปรานได้อย่างปลอดภัย และดีต่อสุขภาพของเราเองอีกด้วยนะครับ
นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก และข้อ
รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
โทร. 0-2378-9000
กีฬาที่เรามักพบการบาดเจ็บของข้อเข่าหรือข้อเท้าได้บ่อยๆ คือ กีฬาที่ต้องใช้การปะทะ หรือได้รับการกระทบกระแทกกัน เช่น ฟุตบอล แบดมินตัน เทนนิส หรือแม้แต่กีฬาบางประเภทที่ไม่ได้มีการปะทะกัน แต่ว่าต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งหมดอย่างเต็มที่ เช่น กอล์ฟ ไม่ว่าจะเป็นการหวดวงสวิงต่างๆ การเดิน การบิดตัวเวลาที่เราตีวงสวิงออกไป ก็ทำให้มีการบาดเจ็บตรงข้อเข่าหรือข้อเท้าได้เหมือนกัน
การรักษาแบ่งตามอาการบาดเจ็บที่เรามักพบได้บ่อย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน
ระดับที่ 1 คือการบาดเจ็บที่มีการฟกช้ำธรรมดา การรักษาส่วนใหญ่ก็จะใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาต้านการอักเสบจะช่วยลดอาการปวด และพักการใช้งานของข้อต่อบริเวณนั้น ก็ทำให้อาการดีขึ้น
ระดับที่ 2 อาการบาดเจ็บรุนแรงกว่าระดับที่ 1 อาจจะทำให้มีการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดบางส่วนหรือว่ามีการบาดเจ็บต่อข้อกระดูกอ่อน การรักษาอาจต้องมีการดามตรงข้อที่มีการบาดเจ็บ เช่น การเข้าเฝือก
ระดับที่ 3 เป็นการบาดเจ็บที่ค่อนข้างรุนแรง มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นทั้งหมด กรณีนี้จะทำให้ความแข็งแรงของข้อต่อสูญเสียไป อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ความแข็งแรงของข้อกลับมาเหมือนเดิมได้
การเล่นกีฬาเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่การเตรียมความพร้อมของร่างกายคือสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ทุกครั้งก่อนเล่นกีฬา ต้องมีการวอร์มอัพให้กล้ามเนื้อพร้อมที่จะใช้งานจริง ทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการฉีกขาด พร้อมทั้งศึกษาวิธีการเล่นกีฬาแต่ละประเภทโดยละเอียด เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้มากขึ้น ทำให้คุณสามารถเล่นกีฬาที่โปรดปรานได้อย่างปลอดภัย และดีต่อสุขภาพของเราเองอีกด้วยนะครับ
นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก และข้อ
รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
โทร. 0-2378-9000
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น