โรคปวดหลังเรื้อรัง ในผู้สูงอายุ อาการปวดหลังในคนสูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นการเสื่อมของระบบข้อทั้งหลายเหมือนกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่เสื่อมโทรมไปตามวัย อาการที่เรามักพบเห็นเป็นประจำในคนไข้ที่ปวดหลัง คือ หลังอาจจะคดหรืองอบ้าง มีอาการปวดร้าวลงขา เดินได้ไม่ไกล ประมาณ 10-20 เมตร ก็ต้องนั่งพักแล้ว
สาเหตุสำคัญ ของอาการดังกล่าว คือ หมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกหลวม มีการจับตัวของเอ็นที่หนาขึ้นไปทับเส้นประสาทสันหลังหรือข้อต่อเล็กๆ การที่กระดูกสันหลังเสื่อมและโตขึ้นไปเบียดเสียดเส้นประสาทที่จะควบคุมลงมาที่ขาเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีอาการปวดร้าวลงขาและมีอาการชาร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และมีอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน
แนวทางในการรักษาผู้ป่วย ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเหล่านี้ สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ โดยเริ่มตั้งแต่การทานยา การฉีดยา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด แต่หากยังไม่ดีขึ้น และมีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกินกว่า 3-6 เดือน แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ในการผ่าตัดมีหลายวิธี ตามข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยแต่ละรายไป วิธีหนึ่ง คือการผ่าตัดเข้าไปขยายช่องไขสันหลังซึ่งมีการจับของเอ็นที่หนาตัวออก ทำให้ช่วงไขสันหลัง ช่องเส้นประสาทสันหลังขยายขึ้น เอาหมอนรองกระดูกที่เสื่อมออกแล้วแทนด้วยสารคล้ายๆ กระดูกหรือใช้กระดูกตัวเองเข้าไปเสริม เข้าไปรองในช่วงหมอนรองกระดูกเพื่อให้กว้างขึ้นและทำให้ช่องไขสันหลังใหญ่ขึ้นเส้นประสาทสันหลังก็จะไม่ถูกกด ไม่ถูกบีบ ส่วนใหญ่ต้องเสริมด้วยโลหะยึดกับตัวกระดูกสันหลังแล้วก็ใช้แกนโลหะช่วยยึดเสริม เพื่อช่วยพยุงให้ส่วนนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้อาการปวดหลังนั้นหายไป ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น สามารถที่จะมีชีวิตเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดีและไม่เป็นภาระกับลูกหลาน
วิธีที่ดีที่สุด เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับกระดูกสันหลัง คือการดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยการทานอาหารให้ครบหมู่ มีสุขลักษณะในการขับถ่าย การออกกำลังกายเป็นส่วนที่สำคัญ แต่เมื่ออายุมากขึ้น สภาพของกระดูกและข้ออาจไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ วิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงวัย คือการเดินบริหารร่างกาย ซักวันละ 1-2 ชั่วโมง หากทำให้ร่างกายฟิตและเข้มแข็งได้แบบนี้การเสื่อมของกระดูกและอาการต่างๆ ก็จะลดน้อยลงหรืออาจไม่เป็นเลยก็ได้นะครับ
สาเหตุสำคัญ ของอาการดังกล่าว คือ หมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกหลวม มีการจับตัวของเอ็นที่หนาขึ้นไปทับเส้นประสาทสันหลังหรือข้อต่อเล็กๆ การที่กระดูกสันหลังเสื่อมและโตขึ้นไปเบียดเสียดเส้นประสาทที่จะควบคุมลงมาที่ขาเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีอาการปวดร้าวลงขาและมีอาการชาร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และมีอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน
แนวทางในการรักษาผู้ป่วย ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเหล่านี้ สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ โดยเริ่มตั้งแต่การทานยา การฉีดยา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด แต่หากยังไม่ดีขึ้น และมีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกินกว่า 3-6 เดือน แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ในการผ่าตัดมีหลายวิธี ตามข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยแต่ละรายไป วิธีหนึ่ง คือการผ่าตัดเข้าไปขยายช่องไขสันหลังซึ่งมีการจับของเอ็นที่หนาตัวออก ทำให้ช่วงไขสันหลัง ช่องเส้นประสาทสันหลังขยายขึ้น เอาหมอนรองกระดูกที่เสื่อมออกแล้วแทนด้วยสารคล้ายๆ กระดูกหรือใช้กระดูกตัวเองเข้าไปเสริม เข้าไปรองในช่วงหมอนรองกระดูกเพื่อให้กว้างขึ้นและทำให้ช่องไขสันหลังใหญ่ขึ้นเส้นประสาทสันหลังก็จะไม่ถูกกด ไม่ถูกบีบ ส่วนใหญ่ต้องเสริมด้วยโลหะยึดกับตัวกระดูกสันหลังแล้วก็ใช้แกนโลหะช่วยยึดเสริม เพื่อช่วยพยุงให้ส่วนนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้อาการปวดหลังนั้นหายไป ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น สามารถที่จะมีชีวิตเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดีและไม่เป็นภาระกับลูกหลาน
วิธีที่ดีที่สุด เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับกระดูกสันหลัง คือการดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยการทานอาหารให้ครบหมู่ มีสุขลักษณะในการขับถ่าย การออกกำลังกายเป็นส่วนที่สำคัญ แต่เมื่ออายุมากขึ้น สภาพของกระดูกและข้ออาจไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ วิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงวัย คือการเดินบริหารร่างกาย ซักวันละ 1-2 ชั่วโมง หากทำให้ร่างกายฟิตและเข้มแข็งได้แบบนี้การเสื่อมของกระดูกและอาการต่างๆ ก็จะลดน้อยลงหรืออาจไม่เป็นเลยก็ได้นะครับ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณนพ. เจริญ โชติกวณิชย์
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังและข้อ
รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
ประธานสมาคมโรคกระดูกและข้อ ของประเทศในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น