วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Experts Talk นวัตกรรมใหม่แก้นิ้วล็อคแบบเจาะ แผลเล็ก หายเร็ว





Expert's Talk นวัตกรรมใหม่แก้นิ้วล็อคแบบเจาะ แผลเล็ก หายเร็ว  

ขอแสดงความยินดี กับ นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี ศัลยแพทย์ ศูนย์กระดูก-ข้อ และการแพทย์กีฬา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ True Innovation Awards 2012 จากการคิดค้นมีดผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนัง (Percutaneous Trigger Finger Scapel) ช่วยให้การรักษาง่ายขึ้น เที่ยงตรง แม่นยำ ความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นน้อย ใช้เวลารักษาโดยเฉลี่ยประมาณ 2 นาที ให้แผลเล็กจนไม่ต้องเย็บแผล อาการปวดน้อย แก้ปัญหานิ้วล็อค ให้ผู้ป่วยส่วนมากกลับไปใช้งานมือได้ใน 24 ชั่วโมง
 


วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เชิญผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงาน Golden Hours in Pediatrics 33



เชิญผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงาน Golden Hours in Pediatrics 33  
 
"Learning Disability in Children; Early Recognition Before It's Too Late"

วิทยากร 
•   รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
    ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
•   ผศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
     ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ดำเนินรายการโดย
•   พญ.คคนางณ์ จันทรภักดี กุมารแพทย์พัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
แพทย์ผู้เข้าร่วมสัมมนา จะได้รับ CME  3  หน่วยกิต  รับรองหน่วยกิตโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์

กำหนดการ
11.30 – 13.00 น.          ลงทะเบียน  และ ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน 
13.00 – 14.00 น.          บรรยายเรื่อง Early detection of Learning Problems in Preschool children
                                       โดย: รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์  หัวหน้าหน่วยพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
                                       ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี   
14.00 – 15.00 น.          บรรยายเรื่อง Learning Disability in School Children: Diagnosis & Management
                                       โดย: ผศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์  จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
                                       ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556
เวลา 11.30 -15.30 น.
ณ Auditorium Room ชั้น 7
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ สำรองที่นั่งล่วงหน้า โทร. 0-2378-9000 (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)


  คลิกเพื่อ Download ใบแบบตอบรับเข้าร่วมประชุมวิชาการ Golden Hours in Pediatrics 33 

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Expert’s Talk หนึ่งเคล็ดลับ เพื่อคว้าชัยในทุกเกมส์การแข่งขัน



Expert’s Talk
หนึ่งเคล็ดลับ เพื่อคว้าชัยในทุกเกมส์การแข่งขัน

นักกีฬาที่ดีควรมีศักยภาพที่จะเล่นกีฬาได้อย่างต่อเนื่อง โดยประสิทธิภาพการกีฬาไม่ลดลง ปัจจุบันมีเครื่อง VO2max เป็นตัวช่วยชี้วัดประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดของกีฬา ว่ามีความทนทานที่จะเล่นกีฬาในระดับความหนักเพียงใดและระยะเวลาในเกมส์การแข่งขันเพียงใด เหมาะอย่างยิ่งกับกีฬาที่เล่นระยะเวลานาน เช่น ฟุตบอล เทนนิส วิ่ง โดยสามารถช่วยบ่งบอกสมรรถภาพของตนเองและช่วยในการวางแผนในการเล่นกีฬา เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในวิธีการแข่งขันรวมถึงการวางตำแหน่งผู้เล่นในกีฬาประเภททีม เพิ่มโอกาสในการคว้าชัยชนะในการแข่งขันกีฬามากยิ่งขึ้นด้วย



ผศ.นพ.ดร.ภาสกร  วัธนธาดา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา
ศูนย์กระดูก-ข้อ และการแพทย์กีฬา
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท




นวัตกรรมการแพทย์ ที่ช่วยย้อนอายุผิวให้กระชับในแต่ละวัย





นวัตกรรมการแพทย์ ที่ช่วยย้อนอายุผิวให้กระชับในแต่ละวัย
Total Beauty Solution by Samitivej Sukhumvit

20+  เป็นช่วงเริ่มต้นของริ้วรอย การกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินเพิ่มขึ้นด้วยลำแสงเลเซอร์ ร่วมกับโปรแกรมทรีตเมนต์ผิวหน้า ที่เหมาะสมกับสภาพผิวก็จะสามารถชะลอริ้วรอยของผิวหนังได้

30+ ผิวดูหยาบกร้าน ริ้วรอยชัดเจนขึ้น เริ่มมีรอยตีนกาเล็กๆ การใช้ลำแสงเลเซอร์ ร่วมกับการฉีดสาร โบทูลีนั่มท๊อกซิน เพื่อคลายการหดเกร็งในชั้นกล้ามเนื้อ ร่วมกับการฉีดลงที่ชั้นผิวหนังเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลาเจนและอีลาสติน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดเลือนริ้วรอยได้ดียิ่งขึ้น แต่สำหรับสาวบางคนที่มีปัญหาไขมันสูงที่เรียกว่า Deep Lift ก็สามารถช่วยให้ใบหน้ายกกระชับ ได้รูปสวยยิ่งขึ้น

40+ ริ่วรอยและรูปหน้าหย่อนคล้อยอย่างชัดเจน นอกจากการรักษาด้วยลำแสงเลเซอร์ ร่วมกับการฉีดสาร โบทูลีนั่มท๊อกซินแล้ว สำหรับบางส่วนของใบหน้าที่เกิดการยุบตัว หรือดูบุ๋มลงไป เช่นโหนกแก้ม ร่องปาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่า Volume Lift โดยการฉีดฟิลเลอร์ เข้ามาช่วยเติมเต็มเพื่อให้รูปหน้ากลับมาอิ่มเอิบดังเดิม นอกจากนี้ควรรักษาร่วมกับการทำ Deep Lift ที่ช่วยยกกระชับลงลึกสู่ระดับชั้นผิงที่ลึกขึ้น เพื่อช่วยจัดการปัญหาความหย่อนคล้อยและริ้วรอยได้ดียิ่งขึ้น

50+ เป็นวัยที่รวมหลากหลายปัญหาผิว ตั้งแต่เรื่องริ้วรอยที่ลึกขึ้น ผิวหย่อนคล้อยและบางลงมากขึ้น นอกจากการยกกระชับด้วยเทคนิคต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว สำหรับบางท่านอาจจำเป็นต้องใช้บางเทคนิคมากเป็นพิเศษขึ้นอยู่กับสภาพผิวหน้าและปัญหาของแต่ละบุคคล


Expert’s Recommend
โปรแกรม Beauty Lift (เหมาะสำหรับสาววัย 25 ขึ้นไป)
ทรีตเมนต์ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหน้า และยังช่วยขับสารพิษต่างๆทิ้งไป ทำให้ผิวกระจ่างใสขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยยกกระชับกล้ามเนื้อใบหน้าให้ได้รูปอีกด้วย จุดเด่นคือไม่เจ็บ รู้สึกสบายขณะทำ
โปรแกรม Deep Lift (เหมาะสำหรับสาววัย 35 ขึ้นไป หรือผู้ที่มีปัญหาไขมันที่แก้มเยอะ)
นวัตกรรมขั้นสูงในการยกกระชับรูปหน้าให้ได้รูปด้วยคลื่นอัลตร้าซาวนด์ความถี่เฉพาะเจาะจง ที่ยกกระชับได้ลึกถึงชั้นไขมันและชั้น SMAS (ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบางๆ อยู่ระหว่างชั้นไขมันและชั้นกล้ามเนื้อ) ช่วยจัดการปัญหาความหย่อนคล้อยได้ตรงจุด ทำให้ผิวกระชับตึง รูปหน้าได้รูปขึ้น


Expert’s Tips
โบทูลินั่มท๊อกซิน หรือ ฟิลเลอร์?
o ริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า
สามารถรักษาริ้วรอยเหล่านั้นได้ด้วยการฉีดสารโบทูลินั่มท๊อกซิน ซึ่งมีเทคนิคการฉีด 2 แบบร่วมกันดังนี้ 1. การฉีดเข้าที่ชั้นกล้ามเนื้อ เพื่อคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ    2. การฉีดเข้าไปบริเวณชั้นผิวหนังชั้นตื้นๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจน และอิลาสติน ส่งผลให้ริ้วรอยเลือนลางลง
o ริ้วรอยที่สามารถมองเห็นได้แม้ไม่มีการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า
เกิดจากอายุ หรือโครงสร้างรูปหน้าที่เปลี่ยนไป สามารถรักษาได้โดยการฉีดสารฟิลเลอร์เข้าไปในผิวหนังตรงตำแหน่งริ้วรอย หรือร่องหลุม นอกจากนี้ฟิลเลอร์ยังช่วยเสริมเติมแต่งให้ส่วนประกอบใบหน้าดูดีขึ้นตามที่ต้องการได้
การฉีดดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคชั้นสูงของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ใบหน้าของคุณหลังจากฉีดแล้วยังคงแสดงความรู้สึกได้อย่างเป็นธรรมชาติ


สวยครบสูตรกับ สมิติเวช สุขุมวิท
“ปัญหาความหย่อนคล้อยของแต่ละคน แต่ละวัย เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน การใช้เทคโนดลยีต่างๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ แต่ไม่ว่าจะยกกระชับระดับไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือให้ดูสวยอ่อนเยาว์ตามวัยอย่างเป็นธรรมชาติในแบบของคุณ”



แพทย์หญิงวิไล ธนสารอักษร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและเลเซอร์
สถาบันสุขภาพผิวพรรณ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
สอบถามเพิ่มเติม โทร 0-2711-8513





มฤตยูร้ายไวรัสตับอักเสบซี หายขาดได้ดีขึ้นด้วยวิวัฒนาการการรักษา


 

มฤตยูร้ายไวรัสตับอักเสบซี  หายขาดได้ดีขึ้นด้วยวิวัฒนาการการรักษา

“ไวรัสซีจะทำให้ผู้ป่วยมีตับอักเสบเรื้อรัง มีการทำลายเซลล์ตับไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผังผืดในตับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนตับแข็ง     และเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด”

               รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโสและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสถาบันโรคตับและทางเดินอาหาร โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบซี ในคอลัมน์ Liver Expert รู้จริงเรื่องตับกับสมิติเวช สุขุมวิท หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เตือนให้ระวังเป็นโรคไวรัสตับอีกเสบซี เนื่องจากพบว่าปัจจุบันคนไทยมากกว่า 1 ล้านคนติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ซึ่งไวรัสซีจะเข้าไปทำลายเซลล์ตับของผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผังผืดในตับมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นตับแข็ง การทำงานของตับผิดปกติ และแย่ลงเรื่อยๆ จนเกิดภาวะตับวายเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน) ท้องมาน มีอาการทางสมองจากภาวะตับวาย และสามารถทำให้เกิดมะเร็งตับได้ในที่สุด

                ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบซีสามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 70-85 ด้วยยาฉีด Pegylated interferon  ร่วมกับการกินยา Ribavirin โดยที่โอกาสการหายขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัสซีด้วย ขณะนี้มีการศึกษาวิจัยยากินต้านไวรัสซีอีกหลายตัว ขณะนี้มีการศึกษาวิจัยยากินต้านไวรัสซีอีกหลายตัว ซึ่งบางตัวสามารถใช้ได้กับทุกสายพันธุ์ และในอนาคตอันใกล้เรามีแนวโน้มที่จะรักษาด้วยยากินต้านไวรัสโดยไม่ต้องใช้ยาฉีดร่วมด้วย ซึ่งเป็นความหวังที่น่าสดใสที่จะทำให้การรักษาสะดวกง่ายขึ้น ผลข้างเคียงน้อย และไม่ต้องฉีดยา แต่มีอากาสหายเพิ่มมากขึ้น



รศ.น.พ.ธีระ  พิรัชวิสุทธิ์
ผู้อำนวยการอาวุโสและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สถาบันโรคตับและระบบทางเดินอาหาร
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท





แหล่งที่มา :  หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ คอลัมน์ Liver Expert
                    รู้จริงเรื่องตับกับสมิติเวช สุขุมวิท  ฉบับวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556







วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัคซีนไข้หวัดใหญ่



เพราะไข้หวัดใหญ่ติดต่อง่าย และรวดเร็ว อาจเกิดอาการต่างๆ นานมากกว่า 1-2 สัปดาห์ ไม่สามารถไปทำงานได้ 
อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 
  • โรคอ้วน
  • โรคหัวใจ
  • โรคไต
  • โรคเบาหวาน
  • ผู้สูงอายุ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคมะเร็ง
วัคซีนป้องกันไขัหวัดใหญ่ ราคา 650 บาท*
(*ไม่รวมค่าแพทย์ และค่าบริการทางโรงพยาบาล)
วันนี้ - 30 เมษายน 2556

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จะดีแค่ไหน? หากทุกก้าวของคุณไม่ติดขัด



จะดีแค่ไหน?  หากทุกก้าวของคุณไม่ติดขัด
กับอาการเหล่านี้
• ปวดเข่าเรื้อรัง
• มีเส้นลั่นในข้อ
• เข้าบวมเป็นๆ หายๆ
• เดินติดขัด หรือ เล่นกีฬาได้ไม่จบเกมส์

การบาดเจ็บข้อเข่า เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจากการใช้งานมากเกินไป การเสื่อมตามธรรมชาติ การเล่นกีฬาอย่างหนัก หรืออุบุติเหตุต่างๆ อาทิ หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด เส้นเอ็นฉีกขาด การบาดเจ็บของกระดูกอ่อน ผิวกระดูกสะบ้าเข้าอักเสบ

หากปล่อยเรื้อรังจะมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น เดินลงน้ำหนักไม่ได้เข่าบวม เข่าหลวมรู้สึกไม่มั่นใจ เล่นกีฬาได้ไม่จบเกมส์ และเกิดการซับซ้อนของโรคเพิ่มขึ้น

ด้วยนวัตกรรมผ่าตัดแบบส่องกล้องข้อเข่า สามารถช่วยวินิจฉัย รักษาความผิดปกติได้อย่างแม่นยำโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่อีกต่อไป  แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติ หรือการบาดเจ็บภายในข้อได้อย่างชัดเจน ให้แผลเล็ก ลดการเจ็บปวด ปลอดภัยและฟื้นตัวเร็วขึ้น ช่วยคืนทุกก้าวของคุณไม่ติดขัดเฉกเช่นเดิม

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาก่อนปัญหาเรื้อรัง และการซับซ้อนของโรคเพิ่มขึ้น ที่ ศูนย์กระดูกและข้อ และการแพทย์กีฬา (Sports & Orthopedic Center by Samitivej)


ศูนย์กระดูกและข้อ และการแพทย์กีฬา
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
โทร  0-2711-8494-6


วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Workshop ทำ น้ำสลัดสูตรไขมันต่ำ กับคุณสันทนา เจ้าของน้ำสลัด 12 รส



หัวใจ..ไกลไขมัน

“ผักสดกับน้ำสลัดเพื่อสุขภาพ อาหารจานใหม่เพื่อควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด"

มาร่วม Workshop ทำ น้ำสลัดสูตรไขมันต่ำ กับวิทยากร คุณสันทนา รัตนอำนวยศิริ เจ้าของน้ำสลัด 12 รส สูตรไม่ใส่ใข่ ไม่ใส่สีและไขมันต่ำ

พร้อมคำแนะนำดีๆ ในการดูแลสุขภาพ ในประเด็น “ไขมันในเลือดสูง” จาก นพ.สายัณห์ ชีพอุดมวิทย์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด และพบกับบูธผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมของที่ระลึกในงาน

“เตือน! วัยทำงาน ที่มีภาวะตึงเครียด ขาดการออกกำลังกาย หรือโภชนาการไม่เหมาะสม มีโอกาสเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง”

ในวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556
เวลา 09.30 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุมบัญชา ล่ำซำ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

สำรองร่วมกิจกรรม ที่ Call Center โทร 0-2711-8181
(ไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับของที่ระลึกในงาน)


ร่วม Wokshop “สวยด้วยสมาธิ” ฝึกสมาธิการตั้งมั่นแห่งจิต


สวยนอก สุขใน
“สมาธิ ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความงามของผู้ปฏิบัติ”

มาร่วม Workshop “สวยด้วยสมาธิ” ฝึกสมาธิการตั้งมั่นแห่งจิต โดย ภก.พงศ์ปกรณ์ พิชิตฉัตรธนา จากชมรมจิตวิทยาสมาธิ

พร้อมคำแนะนำดีๆ ในการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์โลกตะวันออกจาก แพทย์จีน ธีรพงศ์ ตั้งอร่ามวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีนและการฝังเข็ม ในประเด็น “การฝังเข็มกับความงาม”

"ศาสตร์ทางธรรมชาติทำให้มนุษย์ตอบสนองในทางบวกทั้งร่างกายและจิตใจ “การฝังเข็ม" อีกทางเลือกในการดูแลสุขภาพอย่างปลอดภัย”


วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556
เวลา 09.30 – 12.00 น.
ณ ห้องประชุมบัญชา ล่ำซำ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท


สำรองร่วมกิจกรรม ที่ Call Center โทร 0-2711-8181
(ไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับของที่ระลึกในงาน)


โรคปวดหลังเรื้อรัง ในผู้สูงอายุ


โรคปวดหลังเรื้อรัง ในผู้สูงอายุ อาการปวดหลังในคนสูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสื่อมของกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นการเสื่อมของระบบข้อทั้งหลายเหมือนกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่เสื่อมโทรมไปตามวัย อาการที่เรามักพบเห็นเป็นประจำในคนไข้ที่ปวดหลัง คือ หลังอาจจะคดหรืองอบ้าง มีอาการปวดร้าวลงขา เดินได้ไม่ไกล ประมาณ 10-20 เมตร ก็ต้องนั่งพักแล้ว

สาเหตุสำคัญ ของอาการดังกล่าว คือ หมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกหลวม มีการจับตัวของเอ็นที่หนาขึ้นไปทับเส้นประสาทสันหลังหรือข้อต่อเล็กๆ การที่กระดูกสันหลังเสื่อมและโตขึ้นไปเบียดเสียดเส้นประสาทที่จะควบคุมลงมาที่ขาเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้มีอาการปวดร้าวลงขาและมีอาการชาร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และมีอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน

แนวทางในการรักษาผู้ป่วย ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเหล่านี้ สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ โดยเริ่มตั้งแต่การทานยา การฉีดยา ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด แต่หากยังไม่ดีขึ้น และมีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกินกว่า 3-6 เดือน แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ในการผ่าตัดมีหลายวิธี ตามข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยแต่ละรายไป วิธีหนึ่ง คือการผ่าตัดเข้าไปขยายช่องไขสันหลังซึ่งมีการจับของเอ็นที่หนาตัวออก ทำให้ช่วงไขสันหลัง ช่องเส้นประสาทสันหลังขยายขึ้น เอาหมอนรองกระดูกที่เสื่อมออกแล้วแทนด้วยสารคล้ายๆ กระดูกหรือใช้กระดูกตัวเองเข้าไปเสริม เข้าไปรองในช่วงหมอนรองกระดูกเพื่อให้กว้างขึ้นและทำให้ช่องไขสันหลังใหญ่ขึ้นเส้นประสาทสันหลังก็จะไม่ถูกกด ไม่ถูกบีบ ส่วนใหญ่ต้องเสริมด้วยโลหะยึดกับตัวกระดูกสันหลังแล้วก็ใช้แกนโลหะช่วยยึดเสริม เพื่อช่วยพยุงให้ส่วนนั้นมีความแข็งแรงมากขึ้น ทำให้อาการปวดหลังนั้นหายไป ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น สามารถที่จะมีชีวิตเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดีและไม่เป็นภาระกับลูกหลาน

วิธีที่ดีที่สุด เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับกระดูกสันหลัง คือการดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยการทานอาหารให้ครบหมู่ มีสุขลักษณะในการขับถ่าย การออกกำลังกายเป็นส่วนที่สำคัญ แต่เมื่ออายุมากขึ้น สภาพของกระดูกและข้ออาจไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ วิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงวัย คือการเดินบริหารร่างกาย ซักวันละ 1-2 ชั่วโมง หากทำให้ร่างกายฟิตและเข้มแข็งได้แบบนี้การเสื่อมของกระดูกและอาการต่างๆ ก็จะลดน้อยลงหรืออาจไม่เป็นเลยก็ได้นะครับ


ศาสตราจารย์เกียรติคุณนพ. เจริญ โชติกวณิชย์
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังและข้อ
รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ 
ประธานสมาคมโรคกระดูกและข้อ ของประเทศในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก




อาการบาดเจ็บที่ข้อเข่า ข้อเท้าจากกีฬาโปรด (กอล์ฟ ฟุตบอล เทนนิส)



การออกกำลังกายถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับทุกคน แต่การออกกำลังกายอย่างรุนแรงเกินไป อาจทำให้ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งมีผลเสียต่อข้อต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อที่มีการรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า หรือบริเวณข้อเท้า เป็นต้น

กีฬาที่เรามักพบการบาดเจ็บของข้อเข่าหรือข้อเท้าได้บ่อยๆ คือ กีฬาที่ต้องใช้การปะทะ หรือได้รับการกระทบกระแทกกัน เช่น ฟุตบอล แบดมินตัน เทนนิส หรือแม้แต่กีฬาบางประเภทที่ไม่ได้มีการปะทะกัน แต่ว่าต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งหมดอย่างเต็มที่ เช่น กอล์ฟ ไม่ว่าจะเป็นการหวดวงสวิงต่างๆ การเดิน การบิดตัวเวลาที่เราตีวงสวิงออกไป ก็ทำให้มีการบาดเจ็บตรงข้อเข่าหรือข้อเท้าได้เหมือนกัน
 
การรักษาแบ่งตามอาการบาดเจ็บที่เรามักพบได้บ่อย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน 

ระดับที่ 1 คือการบาดเจ็บที่มีการฟกช้ำธรรมดา การรักษาส่วนใหญ่ก็จะใช้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาต้านการอักเสบจะช่วยลดอาการปวด และพักการใช้งานของข้อต่อบริเวณนั้น ก็ทำให้อาการดีขึ้น

ระดับที่ 2 อาการบาดเจ็บรุนแรงกว่าระดับที่ 1 อาจจะทำให้มีการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นมีการฉีกขาดบางส่วนหรือว่ามีการบาดเจ็บต่อข้อกระดูกอ่อน การรักษาอาจต้องมีการดามตรงข้อที่มีการบาดเจ็บ เช่น การเข้าเฝือก

 ระดับที่ 3 เป็นการบาดเจ็บที่ค่อนข้างรุนแรง มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นทั้งหมด กรณีนี้จะทำให้ความแข็งแรงของข้อต่อสูญเสียไป อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ความแข็งแรงของข้อกลับมาเหมือนเดิมได้

การเล่นกีฬาเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่การเตรียมความพร้อมของร่างกายคือสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ทุกครั้งก่อนเล่นกีฬา ต้องมีการวอร์มอัพให้กล้ามเนื้อพร้อมที่จะใช้งานจริง ทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการฉีกขาด พร้อมทั้งศึกษาวิธีการเล่นกีฬาแต่ละประเภทโดยละเอียด เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้มากขึ้น ทำให้คุณสามารถเล่นกีฬาที่โปรดปรานได้อย่างปลอดภัย และดีต่อสุขภาพของเราเองอีกด้วยนะครับ


นพ.ประวิทย์ สุขเจริญชัยกุล
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก และข้อ
รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
โทร. 0-2378-9000


ปวดหลังเรื้อรังเกิดง่าย ทุกข์มาก แต่...แก้ไขได้




อาการปวดหลังทำไมยังไม่หายขาด

ถึงแม้ได้รับการผ่าตัดไปแล้ว ตามศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่าFailed Back Surgery หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Failed Back Syndrome ความหมายของคำนี้คือ เมื่อได้รับการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังไปแล้ว แต่ยังคงมีอาการเจ็บปวด หรืออาการทางระบบประสาทไม่ดีขึ้น บางรายอาจเจ็บปวดมากกว่าเดิม สร้างความทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก แต่ในกรณีของผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการผ่าตัดไปนานแล้ว และอาการของโรคกลับมาเป็นใหม่ โดยเกิดจากสาเหตุอื่น หรือจากโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น แต่อาจเกิดในบริเวณที่ใกล้เคียงกับจุดเดิม แบบนี้ไม่เรียกว่า Failed Back Surgery

การผ่าตัดกระดูกสันหลังจะคาดหวังผลสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอไปคงเป็นไปได้ยาก ตัวต้นเหตุของการผ่าตัดกระดูกสันหลังแล้วไม่หายขาดมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย

ข้อที่ 1 การวินิจฉัยโรคต้องถูกต้องและแม่นยำ

ข้อที่ 2 ความรอบรู้ ความชำนาญ และการทำงานเป็นทีมของทีมแพทย์

ข้อที่ 3 เครื่องมือ และอุปกรณ์ต้องมีความพร้อมและสมบูรณ์ต่อการใช้งานที่เหมาะสม

หากทำได้อย่างที่กล่าวมานี้ความสำเร็จของการผ่าตัดจะสามารถหวังผลได้มากยิ่งขึ้น ปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือตัวผู้ป่วยเอง ที่ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ในบางครั้งต้องมีการใส่โลหะช่วยยึดกระดูกสันหลัง ร่างกายจำเป็นต้องใช้เวลาในเชื่อมติดให้แข็งแรง เพราะฉะนั้นการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเป็นอีกประเด็นที่สำคัญมาก ก็จนกว่าบาดแผลหรือกระดูกเชื่อมติดแข็งแรงเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นล่ะครับ ถึงจะถือว่าปลอดภัยจากการผ่าตัด

โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และทีมแพทย์ทางด้านการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลัง เล็งเห็นความสำคัญในการรักษา เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของ Failed Back Surgery จึงได้ทำการจัดตั้งศูนย์ที่เรียกว่า Revision Spine Center เพื่อทำหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็น Failed Back Surgery ด้วยความชำนาญของทีมแพทย์ที่มากด้วยประสบการณ์ การวินิจฉัยที่แม่นยำพร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์แห่งนี้ไม่ใช่เพียงเพื่อการรักษา Failed Back เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการจัดตั้งให้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนการสอนเพื่อสร้างความชำนาญให้กับแพทย์ ตลอดจนเป็นแหล่งรวมข้อมูล และผลผลิตทางงานวิจัย เผยแพร่ออกสู่สังคมในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย ถือว่าเป็นศูนย์และเป็นห้องผ่าตัดที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ครับ
 
สำหรับผู้ป่วยท่านใดที่ได้รับการผ่าตัดไปแล้ว แต่ยังมีอาการทุกข์ทรมานจากอาการด้านโรคหลังของท่านอยู่ สามารถสอบถาม ปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางของศูนย์ Revision Spine Center โรงพยาบาล สมิติเวช ศรีนครินทร์ได้ตลอดเวลาทำการ เพราะที่นี่เรามีความพร้อมทั้งแพทย์และทีมงานประกอบกับอุปกรณ์และเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการรักษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลสูงสุด. 
 


หมอนรองกระดูกคอเสื่อมในวัยทำงาน


หนุ่มสาววัยทำงานทั้งหลาย มีอาการเหล่านี้หรือไม่ ปวดกระดูกคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ร้าวลงไปที่แขน รวมถึงมีอาการชาและอ่อนแรง บางรายเป็นมากถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้นเดินลำบาก พึงระวังไว้ เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังได้ครับ

                สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือภาวะที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ ในส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุก็ตรงไปตรงมา มีการบาดเจ็บและทำให้หมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอมีการเคลื่อนหรือกดทับไม่ว่าจะเป็นไขสันหลังหรือเส้นประสาท สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยๆ คือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องของการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น การนั่งเล่นไอแพดนานๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ กลุ่มนี้มักมีปัญหาเรื่องปวดคอ บ่า ไหล่ และจะมีปวดแปล๊บเหมือนไฟช็อตลงไปที่แขน มีอาการชา บางรายอ่อนแรง ทำให้เสียความสามารถในการทำงาน

การรักษา ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
         กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงมากนัก สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการทานยา และทำกายภาพบำบัด
         กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้นทำอย่างไรก็ไม่หาย กลุ่มนี้จะมีนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาช่วยในการรักษา เช่น การรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ

         กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัดคือ
            •  มีอาการเป็นมานานมากกว่า 6 สัปดาห์ และเป็นถี่มากขึ้น ความรุนแรงของการปวดมากขึ้น
            •  ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีอื่น หรือคนไข้ต้องทนทุกข์ทรมาน อาการปวดนั้นเรื้อรัง
            •  มีอาการอ่อนแรงของข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อศอก หัวไหล่
            •  เป็นกลุ่มอาการกดทับไขสันหลังคือ คนไข้จะเสียความสามารถในการใช้มือ และเสียความสามารถในการทรงตัว
            •  ภาวะการติดเชื้อหรือเนื้องอก

ถ้าไม่อยากทนทุกข์ทรมานจากภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทหรืออาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณรอบๆ คอ บ่า และไหล่ ต้องคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า นั่ง 1 ชั่วโมง แล้วลุกยืน 1 นาที ไทม์สเตรชชิ่ง (Time Stretching) ยืดและเหยียดกล้ามเนื้อ ตามคำแนะนำของแพทย์ ถ้าจำเป็นต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ ควรหันหน้าให้ตรงกับจอ โต๊ะทำงานจะต้องมีที่พักข้อมือ เรียกว่า แฮนด์เลส (Hand rest) และจอมอนิเตอร์จะต้องอยู่ระดับสายตา การนั่งต้องนั่งให้เต็มก้นและมีพนักพิง ถ้าทำได้แบบนี้จะสามารถทำให้ท่านห่างไกลจากภาวะปวดคอ บ่า ไหล่ Office Syndrome หรือที่รุนแรงกว่านั้นก็คือ หมอนรองกระดูกคอหรือกระดูกคอเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้ครับ


นาวาอากาศตรี นพ.ชัยพฤกษ์ ปั้นดี
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังและข้อ
รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์   
โทร. 0-2378-9000






เด็กๆ ต้องระวังเรื่องการทานอาหาร


อาหารนอกบ้าน มักมีสีสัน ล่อตา ล่อใจ ..เด็กๆ ไม่ควรเผลอใจทานโดยไม่เลือก

 หนูอยากไปดูเครื่องบิน ผมอยากไปขึ้นรถถัง เสียงเรียกร้องต่างๆ นานา ของเด็กๆ ที่รอคอยให้วันนี้มาถึง เพราะไม่วาจะเป็นวันเด็กหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ทีไร ทุกที่มักจะมีสิ่งพิเศษๆ ไว้ให้คุณหนูหนู ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถหาดูได้ง่ายๆ  การพาลูกหลานออกไปเที่ยวนอกบ้าน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ยิ่งเมืองร้อนอย่างบ้านเราด้วยแล้ว เดินแป๊บเดียวเหงื่อก็แตกผลั่ก ร้องหาน้ำกันเป็นแถว หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้หนูๆ ทานได้ไม่เลือกแล้วล่ะก็ อาจนำไปสู่โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในเด็กได้ พ.ญ.พัชรินทร์อมรวิภาส กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก ไว้ดังนี้

        โรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ก็สร้างความไม่สบายกาย ให้กับเด็กและคุณพ่อคุณแม่ได้ไม่น้อย สาเหตุมาจากสุขลักษณะในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก เพราะโดยพื้นฐานของเด็ก ชอบทำตัวเป็นนักสำรวจ หยิบจับอะไรได้ก็เข้าปาก จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โรคระบบทางเดินอาหารในเด็กส่วนใหญ่จึงมาจากการติดเชื้อทางปากโดยน้ำลายเป็นตัวนำเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่นั่นเองที่พบได้บ่อยได้แก่

          ไวรัสลงกระเพาะเด็กมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ต่ำๆ เนื่องจากภาวะขาดน้ำ เสียกรด ทำให้ อ่อนเพลีย ร้องไห้โยเย ส่วนมากเกิดได้กับเด็กวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากเริ่มมีพัฒนาการในการหยิบ จับ และนำสิ่งต่างๆ เข้าปาก อมมือ อมของเล่นยิ่งเด็กในช่วงวัยเรียน ที่ต้องอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน ใช้ของเล่นร่วมกับเพื่อนๆ เมื่อเด็กคนหนึ่งเล่นแล้วนำเข้าปาก ทำให้ของเล่นเปียกน้ำลาย คนที่หยิบไปเล่นต่อก็อาจจะนำไปเข้าปากอีก หรือมือเปียกน้ำลายก็ไปหยิบนู่น หยิบนี่ บ้างก็เอามือป้ายพื้นบ้าง เปียกปอนกันไปเป็นทอดๆ จึงทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย แต่เป็นโรคที่ไม่อันตรายควรหมั่นดูแลเรื่องความสะอาดของเด็ก ล้างมือให้เด็กบ่อยๆ ก็จะช่วยลดการเกิดโรคได้มากยกเว้นในกรณีที่มีอาการอาเจียนมากกว่า 2-3 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะทำให้เด็กมีภาวะขาดน้ำมาก ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาต่อไป
           ท้องเสียเกิดจากเชื้อโรคเข้าไปในกระเพาะอาหาร และส่วนหนึ่งลงไปถึงลำไส้ใหญ่ อาการที่เรียกว่าท้องเสียคือ เด็กถ่ายเหลวเป็นจำนวน3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งต่อวัน อาการท้องเสียสามารถเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
            •  อาการท้องเสียจากการติดเชื้อไวรัส เด็กมักมีไข้ต่ำๆ ถ่ายเป็นน้ำ ไม่ค่อยมีกลิ่น ไม่เพลีย ไม่ซึม แบบนี้ไม่น่าเป็นห่วง ยกเว้นเชื้อไวรัสโรต้า จะมีอาการถ่ายเป็นน้ำ 8-10 ครั้งต่อวัน ทำให้ร่างกายเสียน้ำเยอะ อ่อนเพลีย กรณีนี้จึงควรไปพบแพทย์ซึ่งอาจต้องให้เด็กนอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล แต่สำหรับเชื้อไวรัสธรรมดานั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถรักษาได้ตามอาการคือ ให้ดื่มเกลือแร่ทดแทนภาวะขาดน้ำ โดยใช้ผงเกลือแร่สำเร็จรูป ชงในน้ำ 1 แก้ว แล้วค่อยๆ ใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อยให้หมดภายใน 3-4ชม. แต่ไม่ควรให้เด็กดื่มเกลือแร่จากขวดนมหรือใช้หลอดดูด เพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี ลำไส้ปรับสภาพไม่ทัน และเกลือแร่จะออกมากับปัสสาวะหมด สังเกตได้จากปัสสาวะของเด็กจะเป็นสีเหลืองเหมือนน้ำเกลือแร่
            •  อาการท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากเชื้อบิด หรือเชื้อไทฟอยด์ อาการของเด็กมักมีไข้สูง ถ่ายเป็นมูกและมีเลือดปน อาการปวดท้องแบบบิดๆ กรณีนี้ค่อนข้างเป็นอันตราย และไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะในการรักษา จึงควรรีบมาพบแพทย์ทันที
            กรดไหลย้อนใช่แล้วค่ะ เด็กก็สามารถเป็นกรดไหลย้อนได้เหมือนกัน คุณหมอบอกว่า จริงๆ แล้วกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่โดยพยาธิสภาพของเด็ก ซึ่งถ้าเป็นในเด็กเล็ก จะเกิดจากหูรูดที่กั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของเด็กยังไม่แข็งแรง เหมือนก๊อกที่ปิดไม่ค่อยสนิท ทำให้ของเหลวในกระเพาะอาหารเอ่อท้นขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ ทำให้หลอดอาหารระคายเคือง เป็นแผล ถลอก เด็กจึงไม่สบายตัว ไม่มีความสุข ลักษณะอาการคือ ร้องไห้โยเย ทำตัวบิดๆ หลังแอ่นๆ หน้าแดง กระสับกระส่าย ท้องอึด เมื่อกินนมไปแล้วประมาณครึ่งชั่วโมงจะแหวะออกมา และน้ำหนักตัวไม่ขึ้นหรือน้ำหนักขึ้นน้อย ซึ่งดูได้จากน้ำหนักที่เหมาะสมของแต่ละช่วงวัย
ภาวะกรดไหลย้อนไม่ใช่เรื่องอันตราย แต่ก็ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูอย่างละเอียด เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ปรับเปลี่ยนวิธีการทาน เปลี่ยนสูตรของนมหรืออาหาร ให้หนืดขึ้น เพื่อให้จับตัวอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น ไม่เอ่อท้นขึ้นมาที่หลอดอาหาร ซึ่งแพทย์จะพิจารณาการรักษาเป็นรายๆ ไป
            ภาวะการกลืนสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหารเด็กมักมีการเล่นเหรียญหรือแบตเตอรี่ในของเล่น ถ้ามีขนาดใหญ่มากกว่า3เซนติเมตร มักติดในหลอดอาหารในเด็กเล็กได้ ในกรณีแบตเตอรี่จะกัดกร่อนเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารทะลุได้ หรือจะเป็นน้ำยาล้างห้องน้ำก็มีผลกัดกร่อนหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารซึ่งเป็นสารอันตรายจึงควรเก็บให้พ้นมือเด็ก
 การรักษาโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก คือการรักษาตามลักษณะอาการ แต่สิ่งสำคัญคือการป้องกันเพื่อให้เด็กห่างไกลจากเชื้อโรคมากกว่า พบว่าเด็กในช่วงวัยเรียน มักเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้บ่อย เนื่องจากต้องอยู่ร่วมกัน ใช้สิ่งของร่วมกัน เด็กควรมีขวดน้ำแยกเป็นของส่วนตัว คุณครูควรให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ควรล้างทำความสะอาดของเล่นหรือของที่ต้องใช้ร่วมกันให้เด็กบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับเด็กและปลอดภัยจากโรคได้

ท้ายนี้ คุณหมออยากฝากไปถึงน้องๆ และคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องออกไปทำกิจกรรมสังสรรค์ข้างนอก  เรื่องการดูแล เลือกรับประทานอาหารกันหน่อย ว่าอาหารนอกบ้าน มักมีสีสัน ล่อตา ล่อใจ แต่ก็ไม่ควรเผลอใจทานโดยไม่เลือกนะคะ ควรทานอย่างมีสติ โดยใช้หลัก 3 อย่าง คือประโยชน์ ปลอดภัย และประหยัด ควรเลือกทานอาหารที่ได้สารครบทั้ง 5 หมู่ หากในวันนั้นไม่สามารถทำได้ก็ต้องจัดสรรอาหารมื้อต่อๆ ไปให้ดี เลือกอาหารที่มีสีสันตามธรรมชาติ ไม่ฉูดฉาด เลือกร้านที่ปลอดแมลงวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ดูเกินจริง เช่น ลูกชิ้นใหญ่เป้ง น้ำแข็งใสสีแดงแจ๊ดแจ๋ นั่นหมายถึงมีสารเจือปนอยู่มากมาย ซึ่งเด็กบางคนอาจแพ้สารเหล่านี้ได้ หากคุณพ่อคุณแม่สามารถทำอาหารง่ายๆ อย่างเช่น แซนวิสไข่ดาว เพื่อนำไปทานระหว่างวันด้วยก็จะยิ่งดี เพราะเราย่อมเลือกของที่ดีที่สุดให้กับลูกเสมอ นอกจากประหยัดแล้วยังปลอดภัยและได้ประโยชน์แน่นอนค่ะ อ่อ แล้วอย่าลืมตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งก่อนทานอาหาร อาจพกเกลือแร่ติดบ้านไว้เป็นการช่วยเหลือลูกในเบื้องต้นด้วยก็ได้ สุดท้ายเพื่อความปลอดภัย ให้เก็บเหรียญ ของมีคม น้ำยาที่เป็นกรดด่าง ให้ห่างไกลจากเด็กกันด้วยนะคะ”



พ.ญ.พัชรินทร์ อมรวิภาส
กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์
โทร. 0-2378-9000