วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สมิติเวช โชว์นวัตกรรมทางการแพทย์อีกครั้ง เปิดตัวแอพพลิเคชั่นทดสอบกระดูกและข้อ ผ่าน iPhone

สมิติเวช โชว์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สาขากระดูกและข้อ พร้อมร่วมรณรงค์ผู้รักสุขภาพก่อนถึงวันโรคกระดูกพรุนโลก ในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ เปิดตัวแอพลิเคชั่นใหม่ล่าสุด “Sport Mobile Health“
แอพลิเคชั่นนี้จัดทำโปรแกรมขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เพื่อให้คุณได้ทดสอบประสิทธิภาพและวัดผลของร่างกายคุณ เหมาะสำหรับผู้ที่รักการออกกำลังและต้องการอัพเดทสุขภาพของตัวเองอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเหมาะกับผู้ที่รักความสนุกสนานที่มาพร้อมกับความรู้และสาระประโยชน์ เพื่อการดูแลและป้องกันตัวเองล่วงหน้า แอพพลิเคชั่นดังกล่าวสามารถเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการตรวจสมรรถภาพของร่างกายได้โดยด้วยวิธีง่ายๆ และสะดวกสบาย อีกทั้งยังสามารถทำนายสิ่งผิดปกติของคุณได้ก่อนถึงมือแพทย์ ท่านสามารถนำค่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นไปเป็นข้อมูลประกอบเมื่อพบแพทย์เพื่อการวิเคราะห์ วินิจฉัย และให้การรักษาที่ตรงจุดและแม่นยำได้ ผ่านเกมสนุกที่เล่นไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของคุณ ไม่ว่าจะป็น เทนนิส กอล์ฟ ฟุตบอล เป็นแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์สุขภาพคุณได้หลายรูปแบบในที่เดียว “สนุกและได้รู้สมรรถภาพของคุณเองไปกับสมิติเวช เพียงดาวน์โหลด “Sport Mobile Health“ กับ Apple App Store หรือ เข้าไปที่ www.svh.cc/sportmobile ได้ตั้งแต่ 20 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป” 

นอกจากนี้ คุณยังสามารถค้นห้าความรู้โดยตรงเฉพาะเรื่องของกระดูกและข้อของคุณได้ที่ www.SportOrthopedic.com เว็บไซต์ที่รวมทุกเรื่องกระดูกและข้อไว้เพื่อคุณ ไม่วาจะเป็นหลากหลายบทความเรื่องโรคกระดูกและข้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคกระดูก ของทั้งสมิติเวช สุขุมวิท และ สมิติเวช ศรีนครินทร์ รวมถึงสามารถนัดพบแพทย์ที่คุณต้องการพบผ่านเว็บได้ทันที 




สำหรับท่านที่ดาวน์โหลด “Sport Mobile Health“ กับ Apple App Store หรือเข้าไปที่ www.svh.cc/sportmobile สามารถร่วมสนุกตอบคำถามและลุ้นชิง iPhone 4S เพียงส่งคำตอบมาที่ e-communication@samitivej.co.th ตั้งแต่ วันที่ 20 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน โดยตอบคำถามดังนี้ :
  1. มี menu บน sport Mobile Health ทั้งหมด กี่ menu และ คือ อะไรบ้าง?
  2. ชนิดกีฬาที่ให้บริการ ทดสอบ มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?
  3. Fit & Firm Program มีการทดสอบ กี่ชนิด อะไรบ้าง?
  4. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ สมิติเวช สุขุมวิท และสมิติเวช ศรีนครินทร์ มีสาขาอะไรบ้าง?
สมิติเวช โชว์ความเป็นเลิศทางการแพทย์สาขากระดูกและข้อ พร้อมร่วมรณรงค์ผู้รักสุขภาพก่อนถึงวันโรคกระดูกพรุนโลก ในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ เปิดตัวแอพลิเคชั่นใหม่ล่าสุด “Sport Mobile Health“
แอพลิเคชั่นนี้จัดทำโปรแกรมขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เพื่อให้คุณได้ทดสอบประสิทธิภาพและวัดผลของร่างกายคุณ เหมาะสำหรับผู้ที่รักการออกกำลังและต้องการอัพเดทสุขภาพของตัวเองอยู่ตลอดเวลา รวมถึงเหมาะกับผู้ที่รักความสนุกสนานที่มาพร้อมกับความรู้และสาระประโยชน์ เพื่อการดูแลและป้องกันตัวเองล่วงหน้า แอพพลิเคชั่นดังกล่าวสามารถเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการตรวจสมรรถภาพของร่างกายได้โดยด้วยวิธีง่ายๆ และสะดวกสบาย อีกทั้งยังสามารถทำนายสิ่งผิดปกติของคุณได้ก่อนถึงมือแพทย์ ท่านสามารถนำค่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นไปเป็นข้อมูลประกอบเมื่อพบแพทย์เพื่อการวิเคราะห์ วินิจฉัย และให้การรักษาที่ตรงจุดและแม่นยำได้ ผ่านเกมสนุกที่เล่นไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของคุณ ไม่ว่าจะป็น เทนนิส กอล์ฟ ฟุตบอล เป็นแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์สุขภาพคุณได้หลายรูปแบบในที่เดียว “สนุกและได้รู้สมรรถภาพของคุณเองไปกับสมิติเวช เพียงดาวน์โหลด “Sport Mobile Health“ กับ Apple App Store หรือ เข้าไปที่ www.svh.cc/sportmobile ได้ตั้งแต่ 20 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป” 

นอกจากนี้ คุณยังสามารถค้นห้าความรู้โดยตรงเฉพาะเรื่องของกระดูกและข้อของคุณได้ที่ www.SportOrthopedic.com เว็บไซต์ที่รวมทุกเรื่องกระดูกและข้อไว้เพื่อคุณ ไม่วาจะเป็นหลากหลายบทความเรื่องโรคกระดูกและข้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคกระดูก ของทั้งสมิติเวช สุขุมวิท และ สมิติเวช ศรีนครินทร์ รวมถึงสามารถนัดพบแพทย์ที่คุณต้องการพบผ่านเว็บได้ทันที 




สำหรับท่านที่ดาวน์โหลด “Sport Mobile Health“ กับ Apple App Store หรือเข้าไปที่ www.svh.cc/sportmobile สามารถร่วมสนุกตอบคำถามและลุ้นชิง iPhone 4S เพียงส่งคำตอบมาที่ e-communication@samitivej.co.th ตั้งแต่ วันที่ 20 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน โดยตอบคำถามดังนี้ :
  1. มี menu บน sport Mobile Health ทั้งหมด กี่ menu และ คือ อะไรบ้าง?
  2. ชนิดกีฬาที่ให้บริการ ทดสอบ มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?
  3. Fit & Firm Program มีการทดสอบ กี่ชนิด อะไรบ้าง?
  4. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ สมิติเวช สุขุมวิท และสมิติเวช ศรีนครินทร์ มีสาขาอะไรบ้าง?

โรคกระเพาะอักเสบ












อาการปวดท้อง จุกเสียด ปวดทะลุหลัง  ท้องอืด จุกเสียด เรอ ปวดแสบท้อง ถ่ายดำ เป็นสัญญาณบอกเหตุ ให้ทราบว่ากระเพาะของคุณอาจกำลังประสบปัญหา กระเพาะอาหารของมนุษย์เรามีการสร้างและหลั่งกรดเพื่อย่อยอาหารต่าง  ๆ ตามธรรมชาติ ดังนั้นกระเพาะอาหารจึงมีโครงสร้างพื้นผิวพิเศษที่สามารถทนต่อกรดได้ค่อน ข้างสูง เพื่อสามารถทนต่อการย่อยของสารต่าง ๆ ที่เรารับประทานเข้าไปได้   และเมื่ออาหารผ่านจากหลอดอาหารมาสู่กระเพาะอาหาร  กรดจะถูกหลั่งออกมาจากผิวของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารจะทำการ คลุกเคล้ากรดเหล่านั้นเพื่อย่อยอาหาร ต่อไป สารอาหารแรกที่จะถูกย่อยได้แก่ คาร์โบไฮเดรต  ตามด้วยโปรตีน และไขมันตามลำดับ จากนั้นจึงส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ก่อนขับถ่ายเป็นอุจจาระทางทวาร
    
เชื้อโรค  Helicobacter Pylori คืออะไร
Helicobacter Pylori   เป็น   แบคทีเรีย ที่อาศัยอยู่ในเยื่อบุผิวกระเพาะ ซึ่งทำไห้ กระเพาะอักเสบเรื้อรังและเป็นแผล เมื่อมีการดำเนินโรคเป็นเวลานานทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะได้เป็น แบคทีเรีย ที่อาศัยอยู่ในเยื่อบุผิวกระเพาะ อาหาร ซึ่งทำไห้ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังและเป็นแผลเกิดขึ้น  เมื่อมีการดำเนินโรคเป็นเวลานานทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
       
ทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อโรค  Helicobacter Pylori
ปัจจุบันมีการตรวจหลายวิธีที่ทำให้ทราบว่ามีการติดเชื้อ   Helicobacter Pylori   ได้แก่ การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ผ่านทางการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องกระเพาะอาหาร    การตรวจจากอุจจาระ    การใช้  carbon 14 เก็บผ่านทางลมหายใจ   และตรวจจาก เลือด

สนใจสอบถามรายละเอียด
ศูนย์โรคตับและระบบทางเดินอาหาร ชั้น4 038-320300 ต่อ 1423-4

เตรียมหัวใจให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย













ออกกำลังกายแบบไหนที่ใจจะยอมรับ?
- แบบ Aerobic เป็นการฝึกฝนหัวใจโดยตรงทำให้หลอดเลือดส่วนปลายขยายตัวจึงมีประโยชน์ต่อหัวใจมากกว่า
- แบบยกน้ำหนัก เน้นบีบคั้นให้เกิดการเผาผลาญแบบไม่ง้อ Oxygen ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัวเป็นการเพิ่มภาระให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น

โรคหัวใจไม่มีอาการแสดงออก หรือเตือนล่วงหน้าทุกครั้งไป ควรเตรียมสุขภาพหัวใจให้พร้อมอยู่เสมอ

ระวัง! การเสียชีวิตแบบฉับพลันขณะออกกำลังกาย กลุ่มที่อายุน้อยกว่า 35 ปี มักเกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ และการเหนี่ยวนำไฟฟ้าผิดปกติบางชนิดเช่น กลุ่ม Long QT มักพบในเพศหญิง กลุ่มที่อายุตั้งแต่ 35 ปี เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เริ่มจะเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีเบาหวานร่วมด้วย เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกมาก่อน

นพ.อภิชัย  พงศ์พัฒนานุรักษ์
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ

ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ …รักษาอาการปวดคอ






















พญ.จิระพรรณ วินัยกุลพงค์
แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท


          ชีวิตที่เร่งรีบ การงานที่เร่งรัด อารมณ์ที่ตึงเครียด ล้วนกระตุ้นการตึงตัวของกล้ามเนื้อในการทรงตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ ร้อยละ 70 ของคนตั้งแต่วัยเริ่มทำงานจนถึงวัยเกษียณมีประสบการณ์เรื่องปวดคอในช่วงหนึ่งของชีวิต และ ร้อยละ 15 ของประชากรมีอาการปวดคอเรื้อรัง เป็นปัญหาในชีวิตประจำวันและการทำงาน การดูแลรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูในการปวดเรื้อรังระยะหลังจากการปวดเฉียบพลันและความตึงเครียดในชีวิตประจำวันจะขาดไม่ได้ คือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ มีงานวิจัยที่รายงานอาการปวดคอและไหล่ลดลงในผู้ที่ได้บริหารเหยียดยืดกล้ามเนื้ออย่างเข้มข้น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ทำเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ แนะนำยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการเมื่อยล้าหลังจากทำกิจกรรมและเล่นกีฬา หรือ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือกิจกรรมต่างๆ เมื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนเริ่มกิจกรรม การเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อมัดต่างๆที่ส่งผลต่ออาการปวดคอของผู้ป่วย เกิดจากการอยู่กับที่นานๆ เคลื่อนไหวน้อย การทรงตัวที่ผิดปกติ เกิดความไม่สมดุลของกลุ่มกล้ามเนื้อซึ่งจะส่งผลต่อการทรงตัวที่ผิดปกติโดยรวม และการเรียงตัวที่ผิดปกติของโครงสร้าง หรือปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน

          ความผิดปกติของความยาวของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดความตึงและอาการอ่อนแรงหลังจากยืดเหยียด ความตึงของกล้ามเนื้อ หมายถึงความยาวของกล้ามเนื้อลดลง จำกัดระยะการยืดเหยียดปกติให้สั้นลง อาการอ่อนแรงหลังจากการยืดเหยียด เป็นผลจากกล้ามเนื้อถูกยืดเหยียดจนเกินความสามารถของกล้ามเนื้อในการหดตัวได้เต็มที่ ความตึงของกล้ามเนื้อมีผลทำให้จำกัดการเคลื่อนไหว จำกัดการประสานงานของกล้ามเนื้อ มีผลต่อการพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูอาการปวดคอและการทรงตัว กล้ามเนื้อที่อยู่ในภาวะหดสั้นนานๆจะมีโครงสร้างสำคัญของกล้ามเนื้อ (Sarcomere) ลดจำนวนได้ถึงร้อยละ 40 ความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากกล้ามเนื้อที่สั้นลงอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นกำลังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ที่กล้ามเนื้อสั้นลงตรวจพบว่าความแข็งแรง เกิดได้จากตำแหน่งที่ตรวจอยู่ในระยะสั้นๆ ที่พอดีและมีผังผืดยึดติดแทนที่ ทั้งที่จริงแล้วกล้ามเนื้ออ่อนกำลังลง กล้ามเนื้ออยู่ในภาวะหดสั้นคงที่นานๆ นอกจากปริมาณของใยกล้ามเนื้อลดลง ร้อยละ40 ยังเกิดผังผืดยึดติดแทนที่ด้วย เป็นปัญหาทั้งการยึดติดและการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การแก้ไขภาวะต่างๆที่มีผลต่ออาการดังกล่าว เป็นความซับซ้อนในการรักษาอาการปวดคอที่ไม่ต้องรักษาด้วย การผ่าตัด หลังการผ่าตัด และการใช้ยา บางส่วนสามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ บางส่วนต้องอาศัยการปรับหรือการฝึกจากผู้รู้ การออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรง ทนทานและประสานงานกันในที่สุดแล้วหลายส่วนเป็นวิธีการที่ทุกคนฝึกทำได้เอง และต้องทำเอง เป็นประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาอาการปวดคอ ฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูกสันหลัง การยืดเหยียดกล้ามเนื้อคออย่างเข้มข้นไม่ได้มีคำแนะนำอยู่ในเอกสารทั่วไปเพื่อให้ประชาชนทราบ เนื่องจากมีข้อควรระมัดระวังหลายประการ ฉะนั้นแต่ละคนควรได้รับการฝึกวิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อคอจากผู้รู้ก่อนที่จะฝึกทำด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขน ไหล่และลำตัวก็สามารถทำได้สะดวก ปลอดภัยและลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในการทรงตัวตลอดถึงต้นคอด้วย จากคำแนะนำต่อไปนี้

หลักการยืดกล้ามเนื้อและข้อควรระวังมีดังต่อไปนี้

           1. ควรอบอุ่นร่างกายก่อนยืดกล้ามเนื้อ เช่น เดิน ปั่นจักรยานเบาๆ 5-10 นาที กรณีไม่มีเวลาให้ทำท่ายืดเหยียดพอรู้สึกตึง ไม่ใช่อาการปวดค้างไว้ 5-10 วินาทีและทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
           2. ควรยืดกล้ามเนื้อด้วยความนุ่มนวลและยืดช้าๆ อย่าใช้วิธีโยกๆ เพราะจะทำให้บาดเจ็บได้
           3. หายใจให้ลึกและสม่ำเสมอเพื่อให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดีขี้น ให้ใช้แรงยืดเหยียดในจังหวะหายใจออกคลายการยืด ในจังหวะการหายใจเข้า อย่ากลั้นหายใจ
           4. ไม่ควรยืดกล้ามเนื้อให้รู้สึกตึงที่สุด แต่ทำเท่าที่รู้สึกตึงและสบายค้างไว้นานไม่เกิน 10 วินาที สำหรับผู้เริ่มต้นหลักการสำคัญที่สุดคือ น้อยไป ดีกว่ามากไปจะปลอดภัยกว่า
           5. อย่าทำมากจนเกินไป นานเกินไป หรือตึงเกินไป เพราะอาจทำให้บาดเจ็บหรือล้าได้
           6. ทรงตัวในท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องตึง หลังแบนตลอดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
           7. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เช่นในสถานที่ทำงานทำได้ทุก 1-2 ชั่วโมง ข้อระวังเหล่านี้ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติตามทุกข้อ

          การออกกำลังกายโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อควรทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ถ้ายังมีปัญหาในการเริ่มต้น ควรปรึกษาผู้รู้และฝึกไว้ทำเอง ถ้ามีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องก่อนเริ่มทำ ประสบการณ์ของผู้ที่ได้ประโยชน์จากการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ถูกต้องคืออุ่น เบา สบาย คลายความตึงเครียดที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และร่างกายตื่นตัว ขอให้ทุกท่านได้ประโยชน์จากการยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างถูกต้องแม้ทำเพียง 1 ท่า

มารู้จักโรคนิวโมคอคคัสกันเถอะ











โรคนิวโมคอคคัส คืออะไร
             โรคนิวโมคอคคัส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Streptococcus pneumoniae  เป็นเชื้อเก่าแก่ค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881 สมัยก่อนทำให้เกิดโรคปวดบวมซึ่งมีอัตราตายค่อนข้างสูง  ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1940 มีการค้นพบยาเพนนิซิลินซึ่งใช้รักษาโรคนิวโมคอคคัสได้ผลเป็นอย่างดีมาก   แต่ในระยะหลังเชื้อนิวโมคอคคัส พัฒนาการดื้อยาเพนนิซิลินรวมทั้งยาปฏิชีวนะตัวอื่นอีกหลายตัว ทำให้มีปัญหาอย่างมากในการรักษาโรคนี้
เชื้อนิวโมคอคคัสมาจากไหน
             เชื้อแบคทีเรียนี้พบได้ทุกหนทุกแห่ง และมักพบอาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอของคนทั่วไป โดยไม่มีอาการอะไร (เป็นพาหะ)  เชื้อกระจายไปสู่บุคคลอื่นโดยการไอ  จาม  ทำให้มีละอองเสมหะแพร่กระจายออกไป เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัสเสมหะทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพบว่ามือเราเป็นตัวกลางที่สำคัญที่นำเชื้อไป   ซึ่งการแพร่กระจายนี้เช่นเดียวกับโรคหวัด และ  ไข้หวัดใหญ่   การล้างมือจึงเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเหล่านี้
ใครบ้างที่ติดเชื้อนี้ได้ง่าย
            บุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้แก่  เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี  เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน   คนสูงอายุมากกว่า 65 ปี   คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง  คนที่มีโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น  โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคระบบเลือด โรคเบาหวาน  และคนที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำหน้าที่บกพร่อง
เชื้อนิวโมคอคคัสทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง
             โรคที่ร้ายแรงและอันตรายมากที่สุด คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี    ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี   ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน   กระวนกระวาย   อาเจียน   คอแข็ง   ชัก หรือ หมดสติอย่างรวดเร็ว
             โรคติดเชื้อในกระแสเลือด  โดยเฉพาะในเด็กที่มาด้วยอาการไข้สูง   ตรวจหาสาเหตุไม่พบติดเชื้อที่ใด   การเพาะเชื้อในเลือดจะช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ โรคปอดบวม  ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง  ไอ  หายใจเร็ว   หอบ  มักเกิดหลังการเป็นหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ โรคหูชั้นกลางอักเสบ  โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก  ที่มีหูชั้นกลางอักเสบได้บ่อย ๆ จะมีอาการไข้สูง  เจ็บหู   ร้องกวน  งอแง  มักเกิดภายหลังการเป็นหวัด  นอกจากนี้ยังพบเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในโรคไซนัสอักเสบด้วย

เราทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อนิวโมคอคคัส
             คุณพ่อคุณแม่ที่สงสัยว่าลูกน้อยของท่านจะเป็นโรคนิวโมคอคคัส  ถ้าเด็กมีอาการไข้สูงและมีอาการตามที่กล่าวข้างต้นหรือยังไม่มีอาการอะไรร่วมด้วยก็ตาม  ควรพาเด็กไปพบแพทย์  แพทย์มักจะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด   การวินิจฉัยโรคแน่นอนต้องตรวจเลือด เพาะเชื้อจากสิ่งที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ  เช่น  น้ำไขสันหลัง  เลือด  เสมหะ  และน้ำในหูชั้นกลาง เป็นต้น

การรักษาโรคนิวโมคอคคัสยุ่งยากหรือไม่
        การรักษาที่สำคัญ คือ การให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างรวดเร็วดังที่กล่าวข้างต้น   ในสมัยก่อนยากลุ่มเพนนิซิลินได้ผลดี  ฆ่าเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมง  แต่ในปัจจุบันเชื้อดื้อยาเพนนิซิลินมากขึ้น  ทำให้แพทย์ต้องใช้ยากลุ่มใหม่ ซึ่งต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา  ความยุ่งยากของการรักษาโรคนี้ยังขึ้นอยู่กับว่า ติดเชื้อบริเวณใด  เช่น ติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง  อาจทำให้มีการทำลายเนื้อสมองร่วมด้วย  ผู้ป่วยอาจมีความพิการเหลืออยู่ในรายที่รอดชีวิต

เราสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคนิวโมคอคคัสได้อย่างไร
             การป้องกันไม่ให้สัมผัสเชื้อโรคนี้ ต้องมีสุขอนามัยที่ดี การหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในที่แออัด  ไม่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นหวัด   ไข้หวัดใหญ่   สอนให้เด็กล้างมือบ่อย ๆ     ปิดจมูกและปิดปากเวลาไอจาม
             ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคนี้   ซึ่งได้ผลดีในการป้องกันโรคนิวโมคอคคัสชนิดแพร่กระจายตามกระแสเลือด  วัคซีนมี 2 ชนิด  ชนิดแรกเป็นวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์  เริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1977 ประกอบด้วย 14 สายพันธุ์  ต่อมาปี ค.ศ. 1983 พัฒนาเป็น 23 สายพันธุ์  และยังใช้ในปัจจุบันนี้  วัคซีนชนิดนี้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี   ชนิดที่สองเป็นชนิดคอนจูเกต ประกอบด้วยเชื้อ 7 สายพันธุ์ เริ่มใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000  สามารถใช้ได้ผลดีในเด็กตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ ถึง 5 ปี   ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ามาเมื่อต้นปี 2006 นี้  แนะนำใช้ในเด็กอายุ 2, 4, 6 และ 12-15 เดือน   เนื่องจากวัคซีนเพิ่งนำเข้าจากต่างประเทศและยังมีราคาสูง    ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์ตามสถานพยาบาลชั้นนำทั่วไป

อยากทำ Facial Treatment เริ่มตรงไหนดี















Facial Treatment

มีมากมายหลายประเภทให้เลือกทำ  อยากได้หน้าใสผิวสวยสุขภาพดี ทริตเม้นต์อาจตอบโจทย์คุณได้
แต่! สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำ Facial Treatment มาก่อน ควรต้องรู้จัก ประเภทผวของตัวคุณเองก่อนว่าเป็นลักษณะใด? เช่น มีผิวที่แพ้ง่าย มีผิวที่เมื่อเกิดแผล แผลนั้นจะหายช้า เป็นต้น

ข้อมูลเหล่านี้ประกอบกับ ความต้องการของคุณในการแนะนำว่า ทรีตเมนต์แบบใดที่เหมาะ และให้ประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญ! ปลอดภัยต่อผิวสวยของคุณด้วย







พญ. สุวรรณา เจริญพุทธคุณ 
แพทย์ผิวหนัง

มะเร็งปอด
















มะเร็งปอด ในระยะเริ่มต้นจะแสดง อาการไม่ชัดเจน ทำให้คนส่วนใหญ่ตรวจพบเมื่ออาการลุกลามแล้วแต่ปัจจุบัน สามารถวินิจฉัย
มะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ด้วยนวัตกรรมการส่องกล้อง  แบบแผลเจ็บเล็กน้อย ที่สามารถตรวจหาความผิดปกติได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถเจาะ
ก้อนชิ้นเนื้อออกมา ตรวจหาเซลล์ผดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยความแม่นยำและปลอดภัย

อาการที่จะบ่งชี้
  • สูบบุหรี่
  • มีประวัติพันธุกรรมมะเร็งปอด
  • ไอแห้งๆ เป็นอยู่นานกว่าปกติ
  • ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก


ศ.เกียรติคุณ นพ.สว่าง แสงหิรัญวัฒนา
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ
Professor Emeritus Medicine.
Chief of Pulmonary Center 

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การดูแลสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์
















การมีสุขภาพที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนต้องการ
คุณแม่อาจมีความกังวลถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของร่างกาย และเฝ้าดูแลสุขภาพครรภ์และลูกในครรภ์อย่างดี อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมนึกถึงสุขภาพช่องปากของคุณแม่ด้วย เพราะก็มีผลต่อสุขภาพของลูกในครรภ์
1.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อการเกิดเหงือกอักเสบได้ง่ายกว่าปกติ การมีหินปูนจำนวนมากทำให้เป็นโรคปริทันต์รุนแรง เหงือกบวม อักเสบ มีเลือดออกได้
2.มีรายงานว่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะเหงือกอักเสบ สามารถเข้าสู่กระแสเลือด มีผลกระตุ้นให้มีฮอร์โมน Prostaglandin E2 เพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีเมื่อจะเกิดการคลอด จึงพบว่าในมารดาที่มีภาวะเหงือกอักเสบรุนแรงมักจะคลอดลูกน้ำหนักตัวน้อยและ คลอดก่อนกำหนด
3.อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้องบ่อยๆ ทำให้มีกรดจากกระเพาะอาหารย้อนกลับมาในช่องปาก ถ้าไม่ล้างกรดออกจากช่องปากโดยเร็ว อาจทำให้สึกกร่อนได้
4.การทานอาหารเปรี้ยวบ่อยๆ ก็มีผลทำให้ฟันสึกกร่อนได้เช่นกัน
5.คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะทานได้ครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง การทานบ่อยๆ และทานอาหารหวาน อาหารเหนียวติดฟันจะทำให้เกิดฟันผุได้
6. โรคฟันผุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรด กัดผิวฟัน การมีฟันผุที่ยังไม่ได้รักษาแสดงถึงการมีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเป็นจำนวน มาก เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ไม่ส่งผ่านสู่ลูกทางพันธุกรรม แต่ส่งผลได้ทางน้ำลาย เช่น การกอดจูบลูก การเป่าอาหารให้ลูก การกัดแบ่งอาหารให้ลูก และการใช้ช้อนร่วมกันกับลูก
7.สำหรับลูก ฟันน้ำนมจะมีการสร้างตัวตั้งแต่อายุครรภ์มารดาได้ 4-6 สัปดาห์ การสร้างฟันต้องการสารอาหารหลายชนิดเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันมีความแข็งแรง
คำแนะนำสำหรับคุณแม่
1. แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง พยายามให้สะอาดทั่วทั้งในซอกฟันและบริเวณขอบเหงือก และควรบ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังทางอาหารว่าง
2.หากมีอาการแพ้ ท้อง อาเจียน ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เพื่อลดปริมาณกรดจากกระเพาะอาหารที่ย้อนขึ้นมาในช่องปาก..แต่ห้ามแปรงฟัน เป็นเวลา 30 นาที เพราะกรดที่ออกมา จะสัมผัสผิวฟันให้อ่อนยุ่ย หากแปรงฟันทันทีจะเป็นการถูเอาผิวฟันที่อ่อนยุ่ยอยู่ให้สึกออกไปได้
3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์ แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญในการสร้างฟันลูก ซึ่งเริ่มสร้างตั้งตาลูกอายุ 4-6 สัปดาห์ในครรภ์ ลูกได้แคลเซียมจากกระแสเลือดแม่ แม่จึงควรทานแคลเซียมให้เพียงพอ
4.ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน หรืออาหารเหนียวติดฟันเพื่อป้องกันฟันผุ
5. ควรตรวจฟันทุก 6 เดือนตามปกติ หญิงตั้งครรภ์สามารถทำฟันได้โดยปลอดภัย อย่างไรก็ตามควรเลี่ยงการทำฟันในไตรมาสแรก และไตรมาสที่ 3 และควรแจ้งทันแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกครั้งว่าตั้งครรภ์ ควรเลี่ยงการถ่ายภาพรังสี แต่หากมีความจำเป็นก็สามารถทำได้โดยต้องสวมเสื้อป้องกันรังสีก่อนทุกครั้ง โดยทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์ ทันตแพทย์มักจะรักษาเท่าที่จำเป็น หากมีอาการปวด บวม อักเสบที่เหงือกหรือฟัน ควรจะรับการรักษาทันที เพราะสุขภาพช่องปากของมารดา มีผลต่อสุขภาพของลูกได้
แบคทีเรียใน ช่องปากแม่ สามารถส่งต่อสู่ลูกได้ การมีสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่มีฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ จะช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในการส่งต่อสู่ลูก

40 สัปดาห์ ของคุณแม่ตั้งครรภ์














 Week 1 - ผ่านพ้นช่วงของการมีรอบเดือนมาหมาดๆ ระหว่างทางก่อนที่รอบเดือนใหม่ของคุณจะมาเยือนอีกครั้ง จะเป็นช่วงที่ไข่กำลังสุกพร้อมที่จะหลุดออกจากรังไข่และเข้าไปในท่อนำไข่ ก่อนการตั้งครรภ์ ควรจูงมือคู่ชีวิตไปตรวจร่างกายเพื่อเช็คดูว่า มีใครเป็นโรคที่สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้บ้าง การตรวจพบ และรับการรักษาล่วงหน้าไม่เพียงแต่จะป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวคุณเองในระหว่างการตั้งครรภ์แล้ว ยังป้องกันโรคหรือความพิการต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกได้อีกด้วย

Week 2 - ช่วงต่อระหว่างสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ไข่ที่สุกจะหลุดออกจากรังไข่ และเข้าไปคอยท่ารอเวลารับการปฏิสนธิจากอสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุด คุณมีเวลาที่จะสร้างโอกาสให้เกิดการปฏิสนธิได้ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนไข่ตกจนถึง 24 ชั่วโมงหลังไข่ตกเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากอสุจิจะมีชีวิตอยู่รอดภายในท่อนำไข่ประมาณ 72 ชั่วโมง และไข่จะมีชีวิตอยู่รอดภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังหลุดออกออกมาจากรังไข่ จากนั้นก็จะฝ่อไปในช่วงที่มีการตกไข่เกิดขึ้น ภายในร่างกายจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ 0.5-1.6 องศาเซลเซียส

Week 3 - ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะใช้เวลาเดินทางไปยังโพรงมดลูก 36 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ ไข่จะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนมีขนาดกว่าร้อยเซลล์เมื่อเดินทางไปถึงยังมดลูก ในจำนวนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ด้านในจะพัฒนาไปเป็นตัวเด็กส่วนที่อยู่ติดกับผนังมดลูกจะพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นรก ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (hCG) ออกมา ฮอร์โมนตัวนี้เองที่มีผลทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง รวมถึงอาการเหงือกบวม มีเลือดออกได้ง่าย จึงควรไปเช็คสุขภาพปากและฟันเสียแต่เนิ่น

Week 4 - ขณะที่ไข่กำลังฝังตัวลงในผนังมดลูก คุณแม่บางรายอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย และอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นรอบเดือน เพื่อความมั่นใจสามารถไปหาซื้อแผ่นทดสอบได้ โดยจะต้องใช้ปัสสาวะตอนเช้า ขณะที่ยังท้องว่างอยู่ เพราะอาหารบางชนิดอาจมีผลให้ฮอร์โมนการตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้ผลที่ออกมาคาดเคลื่อนได้ หากคุณเป็นคนที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก ควรระมัดระวังไม่ทำอะไรที่ต้องออกแรงมาก เดินให้น้อยลง และพักผ่อนให้มากขึ้น

Week 5 - ในระยะแรกๆ ของการเติบโต ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะอาศัยดูดอาหารและซึมผ่านของเสียผ่านเยื่อบุมดลูก จนกระทั่งรก และสายสะดือได้เริ่มทำหน้าที่นี้แทนในอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา ในช่วงนี้คุณจะเริ่มรู้แล้วว่าประจำเดือนขาดไปแน่นอนคุณควรไปพบหมอเพื่อตรวจเช็กความสมบูรณ์ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะซักประวัติ ตรวจวัดส่วนสูง และน้ำหนัก เพื่อคำนวณดูขนาดของทารก พร้อมกับกำหนดวันคลอด

Week 6 - อาการแพ้ท้องต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันต่อมน้ำนมก็เตรียมผลิตน้ำนม จึงทำให้เต้านมขยาย และคัดตึง เพราะน้ำนมสามารถไหลผ่านออกมาได้ ช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณหมอจะเว้นช่วงห่างของการนัดตรวจในทุก 1 เดือน แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น คุณหมอก็จะนัดถี่ขึ้นไปทุก 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการผิดปกติขึ้น ควรรีบปรึกษาหมอในทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงเวลานัด

Week 7 - ขณะนี้ลูกของคุณมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเล็กๆ เม็ดหนึ่ง แต่ถึงจะมีขนาดที่เล็ก หนูน้อยมีอวัยวะสำคัญหลายอย่างเป็นรูปเป็นร่างแล้ว หากมองทะลุผนังเข้าไปได้ จะเห็นว่าเขามีหัวที่ใหญ่กล่าลำตัว มีจุดสีดำเล็กๆ บริเวณตา และสมองมีร่องรอยของหู มีปุ่มแขนขาเล็กขึ้นมา หัวใจของเขาเริ่มแบ่งออกเป็นห้องซ้ายและขวา และเต้นประมาณ 150 ครั้งต่อนาที ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าในผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า ในช่วงนี้ลองถามคุณหมอถึงระดับฮอร์โมนไทรอยด์ว่าอยู่ในระดับที่ต่ำหรือสูงเกินไปหรือไม่ เพราะการทำงานที่ผิดปกติของไทรอยด์อาจส่งผลต่อลูกในท้องได้

Week 8 - หากคุณยังไม่เคยไปฝากครรภ์ คุณควรรีบไปในสัปดาห์นี้ (อย่างช้า 2 สัปดาห์นับจากที่รู้ว่ารอบเดือนขาดไป) เพราะตลอด 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังสร้างอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง หากมีเหตุอะไรที่ไปขัดขวางพัฒนาการของอวัยวะสำคัญเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้ทารกพิการหลังคลอดได้ การไปฝากครรภ์หากเร็วไปเท่าไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งของแม่และลูกในครรภ์มากเท่านั้น เพราะหากคุณหมอเกิดตรวจพบสิ่งผิดปกติใดขึ้น ก็จะสามารถให้การรักษาได้ทันหรืออย่างน้อยก็ช่วยลดความรุนแรงลงได้

Week 9 - จากปุ่มเล็กๆ คู่บนและล่าง ที่บ่งบอกว่าเป็นจุดเริ่มของแขนขาของตัวอ่อน ในสัปดาห์นี้แขนของตัวอ่อนยาวขึ้นจนเห็นได้ชัดว่ามีสองส่วน โดยมีส่วนโค้งของข้อศอกเป็นส่วนเชื่อม หัวใจและสมองของเขามีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น เปลือกตา และจมูกเริ่มปรากฏรูปร่างขึ้นศีรษะที่มีขนาดใหญ่ ในการฝากครรภ์ครั้งแรกคุณหมอจะต้องวัดส่วนสูงให้กับคุณด้วย เนื่องจากส่วนสูงจะเป็นตัวบอกขนาดของกระดูกอุ้งเชิงกรานของคุณหากพบว่าอุ้งเชิงกรานมีขนาดเล็กเกินกว่าที่ศีรษะของเด็กจะรอดออกมาได้ คุณหมอก็จะแนะนำให้ผ่าท้องคลอด

Week 10 - หางเล็กๆ ของตัวอ่อนหดมาเป็นกระดูกก้นกบเรียบร้อยแล้วในสัปดาห์นี้ อวัยวะที่เป็นโครงสร้างสำคัญก็มีครบแล้วเพียงแต่ว่ายังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น ตอนนี้หัวใจของคุณทำงานอย่างหนัก เพื่อสูบฉีดเลือดไปบำรุงทุกส่วนของร่างกายให้พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ การทำงานที่หนักทำให้หัวใจของคุณขยายใหญ่ขึ้น ในการนัดฝากครรภ์ช่วงแรกๆ ทุกครั้งคุณหมอจะทำการตรวจความดันของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าความดันไม่สูงเกินไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงลักษณะอาการของโรคครรภ์เป็นพิษได้ นอกจากนี้คุณหมอยังต้องตรวจปัสสาวะ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ตรวจเลือดและเช็คดูระดับการพองตัวของข้อมือและข้อเท้า

Week 11 - อวัยวะสำคัญทั้งหมดพัฒนาเต็มที่แล้ว ช่วงเวลานี้เป็นนาทีของการเก็บรายละเอียด เช่น เล็บมือ เส้นผมบางๆ ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเริ่มปรากฏรูปร่างให้เห็นเป็นเค้าโครงแล้ว อีกประมาณ 3 อาทิตย์ ก็จะรู้ได้แล้วว่า ลูกของคุณเป็นหญิงหรือชายนัดพบกับคุณหมอคราวหน้า คุณรอเตรียมตัวฟังเสียงหัวใจของลูกได้เลย คุณจะได้ยินเสียงหัวใจน้อยๆ ของเขาเต้นแข่งกับเสียงหัวใจของคุณ

Week 12 - นิ้วมือ และ นิ้วเท้าแยกออกจากกันแล้ว กระดูกบางชิ้นเริ่มที่จะแข็งขึ้น ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า จนถึงสัปดาห์นี้ คุณหมอจะทำการตรวจชิ้นเนื้อจากเยื่อหุ้มตัวอ่อน หรือที่เรียกว่า CSV (Chorionic villus sampling) เพื่อเช็คดูความผิดปกติของโครโมโซมหรือไม่ ในการตรวจคุณหมอจะใช้เข็มที่มีขนาดเล็กมากเจาะผ่านเข้าไปในมดลูกของคุณเพื่อนำเอาเซลล์จากเนื้อเยื่อที่หุ้มตัวอ่อนออกมาทำการทดสอบภายในห้องทดลอง ซึ่งคุณจะรู้ผลหลังจากนั้นอีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา การตรวจในลักษณะนี้อาจมีความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการคลอดกำหนดได้

Week 13 - ตอนนี้ความกว้างของมดลูกจะขยายออกไปกว่า 4 นิ้วแล้ว และเคลื่อนตัวจากบริเวณอุ้งเชิงกรานมาที่บริเวณท้อง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น จะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น แต่อาการนี้จะหายไปได้เองเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ทุกครั้ง คุณหมอจะตรวจปัสสาวะให้กับคุณด้วยเพื่อตรวจเช็คระดับโปรตีน และน้ำตาลในปัสสาวะหรือสารเคมีที่เรียกว่า คีโทนทั้งสามชนิดสามารถบ่งบอกอาการของโรคครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน และโรคที่เกี่ยวกับไต

Week 14 - ขณะที่อวัยวะต่างๆ ของทารกกำลังพัฒนาไปในส่วนที่เป็นรายละเอียด บนใบหน้าของทารกก็เริ่มมีการเคลื่อนย้ายอวัยวะสำคัญๆ เช่น ดวงตาเคลื่อนจากด้านข้างทั้งสองมาอยู่บนใบหน้า หูเคลื่อนจากด้านล่างขึ้นมาสู่ตำแหน่งปกติ ขณะนี้มดลูกของคุณจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คุณหมอจะตรวจขนาดของมดลูก โดยการคลำหน้าท้องหาตำแหน่งของยอดมดลูก เพื่อเช็คดูขนาดของเด็กในท้อง คุณหมอจะสามารถประมาณวันครบกำหนดคลอดของคุณได้แม่นยำขึ้นจากการตรวจอัชตราซาวนด์

Week 15 - ลูกน้อยของคุณจะเริ่มมีเส้นผมขึ้นเต็มศีรษะ และมีขนตาแล้ว ผิวของเขาบางใส สามารถมองทะลุเห็นเส้นเลือดที่กำลังพัฒนากล้ามเนื้อมีการทำงานที่ยืดหยุ่น ข้อมือ และข้อแขนงอ และกำมือได้แล้วในช่วงนี้คุณจะเริ่มทุเลาจากอาการแพ้ท้องแล้ว และเริ่มมีกำลังวังชาขึ้นมาบ้าง คงเหลือไวแต่เพียงความรู้สึกปลาบปลื้มที่กำลังมีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้องเท่านั้น สำหรับคุณแม่บางท่านอาจมีอาการแพ้ท้องยืดเยื้อออกไปจาก 3 เดือนแรกบ้าง แต่ถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ให้ช่วยวินิจฉัยดูเพราะบางทีอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่นึกไม่ถึงได้

Week 16 - ลูกของคุณมีขนาดเท่าฝ่ามือของคุณได้แล้วล่ะ ถึงจะตัวจิ๋วขนาดนั้นแต่กล้ามเนื้อบนใบหน้าของเขาเริ่มมีพัฒนาการ เขาสามารถขยับใบหน้า อ้าปาก และขมวดคิ้วได้ประมาณสัปดาห์ที่ 11 -16 คุณหมอจะทำการตรวจวัดความหนาของหน้าอกคอ ซึ่งเป็นการใช้อัลตราซาวนด์เช็คดูปริมาณของเหลวที่อยู่ด้านหลังคอของทารกผลที่ได้จะนำไปคำนวณร่วมกับอายุ และระดับฮอร์โมนในเลือดของคุณ เพื่อเช็คดูความน่าจะเป็นในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรมในทารกอีกครั้ง แต่ผลที่ได้จากการตรวจนี้ จะต้องนำไปวินิจฉัยร่วมกับการตรวจแบบ CVS และการเจาะตรวจน้ำคร่ำด้วย

Week 17 - ระบบต่างๆ ภายในตัวของทารกเริ่มทำงานได้บ้างแล้ว เช่น กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะ ทุกขณะที่ลูกของคุณเติบโตขึ้น ภายในร่างกายของคุณจะต้องมีการสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว การตรวจเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่คุณหมอจะต้องตรวจให้กับคุณนับตั้งแต่ครั้งแรกที่คุณไปฝากครรภ์ เพื่อเช็คดูอาการของโรคต่างๆ ที่สามารถส่งต่อมายังลูกในท้องได้ เช่น หัดเยอรมัน, HIV, โรคไวรัสตับอักเสบบี, ธาลัสซีเมีย เป็นต้น

Week 18 - ระบบภายในร่างกายของทารกหลายอย่าง เริ่มมีการทำงานขึ้นบ้างแล้ว กระดูกชิ้นเล็กๆ ในหูที่เป็นทางผ่านของเสียงเข้าสู่หูชั้นในแข็งขึ้น เซลล์ประสาทในสมองส่วนที่รับรู้และส่งสัญญาณจากหูกำลังพัฒนา ทำให้เขาสามารถได้ยินเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเขาได้แล้ว ในสัปดาห์นี้คุณหมอจะทำการตรวจเพื่อเช็คดูความสมบูรณ์ของทารกที่เรียกว่า AFP test (Alpha feto pretein) ซึ่งจะเป็นการตรวจหาระดับค่า AFP ในเลือด ถ้าหากมีค่าที่สูงมาก นั่นอาจหมายถึงว่าเด็กมีความสมบูรณ์ดีมาก หรือคุณได้ลูกแฝด แต่ถ้าค่า AFP ออกมาต่ำมาก อาจบอกถึงอาการของโรคกระดูกสันหลังไม่ปิด หรือดาวน์ซินโดรมได้ แต่ผลที่ได้จากการตรวจ AFP ยังต้องได้รับการยืนยันจากการตรวจเจาะถุงน้ำคร่ำร่วมด้วย

Week 19 - หากผลการตรวจหาค่า AFP ออกมาต่ำ คุณจะต้องได้รับการตรวจเจาะถุงน้ำคร่ำอีกครั้ง เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมและอาการของโรคดาวน์ซินโดรม ในการตรวจลักษณะนี้อาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้แต่ไม่มากนัก เนื่องจากในการตรวจคุณหมอจะต้องใช้เข็มเล็กๆ เจาะผ่านผนังมดลูกเข้าไปดูดเอาน้ำคร่ำในรกออกมาทำการตรวจ ซึ่งนอกจากผลของค่า AFP ต่ำแล้ว หากพบว่าภายในครอบครัวของคุณมีคนที่เคยมีอาการผิดปกติของโครโมโซมเกิดขึ้น หรือถ้าคุณมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปคุณหมอจะทำการตรวจในลักษณะนี้ให้เช่นกัน

Week 20 - เซลล์ประสาทภายในสมองกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในสัปดาห์นี้ รกมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อมีน้ำหนักมากกว่า 1 ปอนด์อุดมไปด้วยโครงข่ายเส้นเลือด ส่วนหลอดเลือดของทารกขยายใหญ่ขึ้น จึงเหมาะกับการตรวจเจาะผ่านเส้นเลือดได้แล้ว โดยคุณหมอจะเจาะผ่านผนังช่องท้อง และสอดเข็มผ่านเส้นเลือดในสายสะดือที่อยู่ใกล้กับรกเพื่อนำเอาเลือดของเด็กมาทำการตรวจสอบหาความผิดปกติของโครโมโซมและอาการของโรคหัดเยอรมัน และโรคทอกโซพลาสโมซิส

Week 21 - สมองของทารกกำลังพัฒนาเซลล์ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การได้กลิ่น ลิ้มรส การได้ฟัง ได้เห็น และการสัมผัส คุณจะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกอย่างชัดเจนขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ การทำบันทึกจำนวนครั้งของการดิ้นของทารกในครรภ์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่คุณสามารถตรวจเช็คสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วยตัวคุณเอง หากรู้สึกว่าลูกไม่ค่อยดิ้น หรือไม่ดิ้นเลย ควรรีบบอกให้คุณหมอทราบทันที

Week 22 - ผิวของทารกหนาขึ้นเป็น 4 ชั้น ต่อมพิเศษในร่างกายหลั่งไขเคลือบผิวที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งออกมาเพื่อป้องผิวบอบบาง ขณะที่ขนอ่อนยึดไขเคลือบผิวไว้ ในช่วงนี้น้ำหนักของคุณจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณควรเช็คระดับการเพิ่มของน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคเป็นพิษได้ โดยปกติคุณควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 0-1 กก. ต่อสัปดาห์ตลอดการตั้งครรภ์คุณควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 6-19 กก. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนสูง และขนาดตัวของคุณเองด้วย

Week 23 - เจ้าตัวน้อยมีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมาก และเริ่มที่จะผลิตเม็ดเลือดขาว ส่วนตัวคุณเองก็ยังคงมีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นต่อไป และเริ่มที่จะผลิตเม็ดเลือดสีขาว ส่วนตัวคุณเองก็ยังคงมีปริมาณเลือดที่เพิ่มเป็นพลาสมา ซึ่งจะไปเจือจางเม็ดเลือดแดงทำให้คุณเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งจะต่ำสุดในช่วงนี้แต่ถือเป็นเรื่องปกติในหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ควรประมาท ควรให้แพทย์ตรวจดูว่าร่างกายได้ธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ ที่จะไม่ทำให้ภาวะโลหิตจางเลวร้ายจนเข้าขั้นอันตรายได้

Week 24 - ริมฝีปากของทารกเริ่มปรากฏชัดขึ้นในสัปดาห์นี้ มีปุ่มโผล่ดุนเหงือกขึ้นมาเรียงเป็นแถว ส่วนตัวคุณเองน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่คงที่ และมีตกขาวมากขึ้นกว่าปกติ อย่าตกใจไป เพราะนั่นเป็นอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้นแต่ถ้าตกขาวมีสีสันแปลกๆ แถมมีกลิ่นด้วย อย่างนี้ต้องไปปรึกษาคุณหมอให้ช่วยตรวจเช็ค เพราะบางทีอาจมีสาเหตุมาจากการที่ช่องคลอดติดเชื้อซึ่งถ้าปล่อยไว้จนอักเสบมากอาจส่งผลให้ต้องคลอดก่อนกำหนดได้

Week 25 - เส้นเลือดในปอดของลูกกำลังพัฒนาเพื่อเตรียมตัวสำหรับการหายใจด้วยตัวเองแล้ว แต่ตอนนี้เขายังอาศัยออกซิเจนจากคุณอยู่ จนกว่าจะคลอดออกมา อาหารเสริมของเขาในช่วงนี้ คือ ของเหลวในน้ำคร่ำ เขาชอบที่จะกลืนและขับถ่ายน้ำคร่ำในรกและสะอึกบ้างในบางครั้ง ช่วงปลายสัปดาห์ มดลูกของคุณจะหดรัดตัวเพื่อเตรียมร่างกายสำหรับการเจ็บท้องคลอด คุณอาจรู้สึกว่าหน้าท้องมีก้อนแข็งนูนขึ้นมาเป็นระยะๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่หากมีอาการเจ็บปวดและท้องขยายใหญ่มากอาจเป็นอาการรกลอกตัวก่อนกำหนดได้ คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากช้า อาจทำให้ลูกของคุณขาดออกซิเจนจนเป็นอันตรายต่อสมอง และอาจถึงชีวิตได้

Week 26 - ปอดของหนูน้อยเริ่มขยับขึ้น-ลง คล้ายกับว่าเขากำลังหายใจด้วยตัวเองแล้ว แต่ความจริงแล้วเป็นการซ้อมทำหน้าที่ของปอดเท่านั้น ทันทีที่หัวใจของทารกเริ่มเต้น คุณหมอจะตรวจดูจังหวะการเต้นว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ซึ่งนอกจากการตรวจโดยใช้ฟังเสียงหัวใจทารกเต้นแล้ว คุณหมอก็จะทำการอัลตราซาวนด์เพื่อดูพัฒนาการของกล้ามเนื้อหัวใจในเด็กด้วย

Week 27 - ลูกของคุณลืมตาขึ้นได้แล้วในสัปดาห์นี้ อวัยวะทุกอย่างของเขามีการทำงานเกือบสมบูรณ์แล้ว ถ้าต้องคลอดออกมาเขาก็สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลเป็นพิเศษจากหมอ ช่วงนี้คุณอาจมีความดันเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย เป็นเรื่องปกติแต่ถ้าน้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มองเห็นอะไรไม่ค่อยชัด เพราะสายตาพร่ามัว มือและเท้าบวม และลามมาถึงหน้า และคอ ควรรีบปรึกษาแพทย์ด่วน เพราะอาจเป็นอาการของโรคครรภ์เป็นพิษได้

Week 28 - ช่องต่างๆ ในสมองของทารกพัฒนามากขึ้น ขณะที่เนื้อเยื่อต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากนับจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไป คุณหมอจะเริ่มนัดคุณถี่ขึ้นเป็นทุกๆ 2 สัปดาห์ คุณหมอจะทดสอบภาวะในร่างกายหลายอย่างด้วยกัน เช่น การวัดระดับธาตุเหล็ก และกลูโคสในร่างกาย ถ้าผลการทดสอบออกมาเป็นลบคุณหมอจะตรวจสอบดูว่าภูมิต้านทานในร่างกายของคุณสร้างปฏิกิริยาต่อต้านกับกระแสเลือดของทารกหรือไม่ ปฏิกิริยาดังกล่าวจะมีผลต่อการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไป ซึ่งจะทำให้ทารกคนต่อไปเป็นโรคตัวเหลือง ดีซ่าน และโรคโลหิตจางได้

Week 29สัปดาห์นี้ลูกของคุณควรจะลืมตาได้แล้ว เล็บของเขาขึ้นมาเป็นปุ่มให้เห็น ชั้นไขมันก่อตัวขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในโลกภายนอก มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจนไปเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น หากมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย หรือมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัวคุณควรจะปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้ ในการตรวจจะเจาะเลือดของคุณในขณะที่ผ่านการงดอาหารมา จากนั้นจะให้คุณดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม และเจาะเลือดอีก 3 ครั้ง ห่างกันทุก 1 ชั่วโมง ถ้ามีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงผิดปกติก็คือว่าเป็นเบาหวานคุณจะต้องได้รับการดูแลจากคุณหมออย่างใกล้ชิด

Week 30 - สมองของลูกน้อยของคุณกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว หัวของเขายังคงมีขนาดใหญ่พอสำหรับการเติบโต ในสัปดาห์นี้คุณหมออาจสแกนให้ดูว่าภายในสมองของเจ้าตัวน้อยจะตอบรับกับการสัมผัสได้ดีเพียงใด ถ้าหากคุณหมอฉายไฟส่องไปที่ท้อง แล้วลูกของคุณหันศีรษะไปตามแสงไฟที่ส่องมา ก็แสดงว่าประสาทตาของเขาเริ่มทำงานแล้วนั่นเอง

Week 31 - เครือข่ายเนื้อเยื่อในถุงลมปอดพัฒนาขึ้น และหลั่งสารที่ช่วยป้องกันไม่ให้ถุงลมล้มเหลวในการใช้งานเมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว เลือดประมาณ 16 ออนซ์จะไหลเข้าไปในผนังมดลูกบริเวณรกเส้นเลือดของคุณแม่จะอยู่ใกล้กับเส้นเลือดฝอยของทารก โดยมีเยื่อบางๆ เป็นผนังกั้นไว้ ป้องกันไม่ให้เลือดของแม่ผสมเข้ามาปนกับเลือดของทารกหากคุณหมอตรวจพบว่าคุณมีเลือดเป็นอาร์เอชลบ คุณหมอจะฉีดยาแอนตี้บอดี้ (anti-D gamma globulin) เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดอันตรายใดๆ กับลูกน้อยของคุณ ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่คลอดออกมา

Week 32 - ตอนนี้ลูกของคุณกำลังอยู่ในท่ากลับหัวลงเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้ว อวัยวะต่างๆ ของเขาเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชั้นไขมันเกาะติดกับชั้นผิวนับจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไป คุณหมอจะเริ่มนัดคุณถี่ขึ้นเป็นทุกๆ 2 สัปดาห์เพื่อตรวจสุขภาพของคุณ และลูกในท้องอย่างใกล้ชิด คุณควรให้คุณหมอช่วยตรวจดูว่าภาวะโลหิตจางในตัวคุณเริ่มลดลงหรือยัง ถ้าลดลงแล้ว คุณควรเลิกรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก เพราะจะทำให้อาการริดสีดวงทวารของคุณเป็นมากขึ้น

Week 33ผมที่ศีรษะของเจ้าหนูหนาขึ้น สีผมในช่วงนี้อาจเปลี่ยนไป เมื่อทารกโตขึ้น ขณะเดียวกัน ขนอ่อนตามส่วนต่างๆ จะหลุดร่วงไปเกือบหมด และสร้างผมชุดใหม่ที่หนาขึ้นปกคลุมไขเคลือบผิวหนัง สำหรับคุณมดลูกจะหดรัดตัวเป็นก้อนนูนเป็นจังหวะสม่ำเสมอคุณจะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกและค่อยๆ คลายตัวลงมา หากมีของเหลวไหลออกมาด้วย ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

Week 34 - ลูกของคุณอยู่ในท่ากลับหัวและเตรียมพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว ต่อมหมวกไตของเขาจะผลิตฮอร์โมน สเตียรอยด์มากขึ้นเป็น 10 เท่า หากมีแนวโน้มว่าทารกมีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด คุณหมอจะเจาะตรวจน้ำคร่ำ เพื่อทดสอบความเจริญเต็มที่ของปอดหากพบว่าปอดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่คุณหมอจะฉีดยาเร่ง เพื่อขยายการเติบโตในปอดของทารก

Week 35 - กระดูกสันหลังของลูกคุณยังอ่อนบาง และมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะหลุดรอดออกมาสู่โลกภายนอก ในช่วงใกล้คลอด คุณไม่ควรไปไหนไกลๆ แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางจริงๆ ควรพกพาสมุดบันทึกประวัติสุขภาพครรภ์ไปด้วย (คุณหมอจะต้องทำบันทึกไว้ทุกครั้งที่คุณไปตรวจตามนัด) เพื่อที่ว่า หากคุณเกิดไปเจ็บท้องคลอดกะทันหันที่ไหน สูติแพทย์ที่อยู่บริเวณนั้นจะได้ให้การช่วยเหลือคุณได้ถูกต้อง

Week 36 - คุณจะสังเกตได้ว่าลูกของคุณในช่วงนี้เริ่มดิ้นน้อยลง นั่นเพราะตอนนี้เขามีขนาดลำตัวที่ใหญ่จนเต็มพื้นที่ภายในช่องท้องของคุณ และไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกอีกต่อไป ในช่วงนี้คุณหมอจะนัดคุณถี่ขึ้นเป็นทุกสัปดาห์เพื่อเตรียมแผนการคลอดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด และให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างช่วงการเบ่งท้องคลอด

Week 37 - ตอนนี้ลูกของคุณพร้อมที่จะออกมาดูโลกได้ทุกขณะ แต่ถ้าปากมดลูกยังไม่เปิดเขาก็ยังจะเจริญเติบโตจนครบ 40 สัปดาห์ ระหว่างสัปดาห์นี้ ลูกของคุณกำลังหย่อนศีรษะลงมาถึงบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกรานแล้ว ช่วงนี้คุณหมอจะตรวจดูว่าปากมดลูกใกล้ที่จะเปิดหรือยัง มีความหนามากเกินไปหรือไม่ และเด็กอยู่ในท่าไหน และตำแหน่งไหนแล้ว

Week 38 - ไขเคลือบผิวของทารกจะลอกออกมาปะปนอยู่ในน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไป และขับออกมาเป็นของเสียขณะเดียวกันร่างกายของทารกก็จะขับของเสียออกมาที่ลำไส้ทำให้เมื่อคลอดออกมาทารกจะมีเมือกสีเขียวเปรอะเปื้อนอยู่ทั่วตัว ถ้าลูกของคุณเป็นผู้ชาย ลูกอัณฑะของเขาจะเลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะในช่วงนี้ เมื่อทารกคลอดออกมา แพทย์จะตรวจสอบอวัยวะส่วนนี้

Week 39สารแอนติบอดี้ในร่างกายของคุณแม่จำนวนเล็กอาจซึมผ่านผนังกั้นรก และเข้าสู่ในกระแสเลือด ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคชั่วคราว และจะหายไปภายใน 6 เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของทารกจะเจริญเต็มที่คุณหมอจะให้คำแนะนำกับคุณถึงอาการเจ็บท้องคลอดในระยะแรก ซึ่งจะมีการหดรัดตัวของมดลูกแรงขึ้น เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายเป็นจังหวะสม่ำเสมอและบ่อยครั้ง ถุงน้ำคร่ำแตก และมีของเหลวไหลออกมาพร้อมกับเลือด ควรรีบไปโรงพยาบาลได้เลย


Week 40 - สิ่งสุดท้ายที่คุณไม่ควรลืมที่จะตรวจเช็คสภาพให้แน่นอนนั่นคือ ความพร้อมที่จะทำหน้าที่ แม่คุณหมออาจตรวจสุขภาพร่างกายของคุณและลูก พร้อมให้การรักษา และคำแนะนำดีๆ ในการดูแลที่ถูกต้อง  

นอนไม่หลับ, หลับยาก, หลับไม่ต่อเนื่อง, หลับๆตื่นๆ, ฝันบ่อย อาการเล็กๆ อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่!!!














ในทัศนะแพทย์แผนจีน การนอนหลับขึนอยู่กับหลายปัจจัย เช่น หยิง-หยาง, ความแกร่ง,พร่องของพลับชี่และเลือด ส่วนสาเหตุที่พบบ่อยคือ
1. ไตกับหัวใจทำงานไม่สัมพันธ์กัน
2. เส้นลมปราณตับติดขัด
3. ภาวะเลือดคั่ง มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้าและโรคอ้วน เป็นต้น





"การตรวจสุขภาพในทางการแพทย์แผนจีน คือ การจับชีพจร "การแมะ" และดูดล้น เพื่อตรวจดูระบบการทำงานของอวัยวะภายใน ดูความสมดุลของร่างกาย"



วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Did You Know? Brain VS Computer

เจ้าคอมพิวเตอร์ที่เราคิดว่าแน่ คิดว่าเจ๋งเก่งนักหนา รู้หรือเปล่าคะ สมองมนุษย์เราเหนือชั้นกว่าคอมพิวเตอร์ที่ว่าเจ๋ง ๆ อีกค่ะมาอ่านบทความของ Nurse อุ๊ กันนะคะแล้วจะรู้ว่า สมองมนุษย์เราเก่งและฉลาดกว่ากลไกลการทำงานอขงเจ้าคอมพิวเตอร์ค่ะ

คุณจะแปลกใจเมื่อเทียบการทำงานของสมอง กับ Computer
1. หากคุณจะให้ computer ประมวลผลการทำงานให้เท่ากับการที่สมองมนุษย์ใช้ประมวลผลใน 1 นาที คุณจะต้องใช้ CPU ที่ มี chip core speed ถึง 16,800 GHz หรือเท่ากับ computer มาตรฐานที่ใช้ในสำนักงานถึง 8,400 เครื่อง
2. ความจุทั้งหมดของสมองนั้น เทียบได้กับหน่วยความจำของ Computer 100,000 GB.(100 Terra Byte)
3. ทุก ๆ 1 วินาที ตาจะส่งภาพประมาณ 10 ล้านภาพ (10,000,000 fps.) เพื่อไปประมวลผลที่สมอง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่มี computer รุ่นใด ที่จะสามารถรับ information load ขนาดนี้ได้
4. ใน computer จะมีส่วนประกอบของชิ้นส่วนและวงจรทั้งหมด ประมาณ 100,000,000 ชิ้น แต่สมองคนจะนั้นมีถึง 1,000,000,000 ล้านวงจร เพื่อทำงานสอดประสานกัน
5. คุณภาพของเสียงที่แผ่น Audio CD มีนั้น เทียบไม่ได้เลยกับคุณภาพเสียงที่หูส่งไปให้ยังสมองในแต่ละครั้ง
6. Gary Kasparov ได้เล่นหมากรุก แข่งกับ Super Computer ในการแข่งขันชิงชนะเลิศหมากรุกโลก ในปี 1997 โดยชนะไป 2-1
สำคัญที่สุด!!.. computer ทุกเครื่องบนโลกจะต้องมีการ shut down แต่สมองคนไม่เคยหยุดการทำงานเลย จนกว่าจะหยุดหายใจ

เอื้อเฟื้อโดยศูนย์สมองและระบบประสาท
Neuro Center รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
Nurse อุ๊ จะนำบทความดีๆ มาฝากเรื่อยๆ ค่ะ ฝากช่วยแสดงความคิดเห็น ติชมให้กำลังใจด้วยนะคะ
หรือพูดคุยกับ Nurse อุ๊ ผ่านทางคอมเม้นท์ข้างล่างได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ


มึนงง เวียนหัว บ้านหมุน ป้องกันได้


บ่อยครั้งที่เรามักจะมึนหัว เวียนหัว บ้านหมุน โดยไม่ทราบสาเหตุ “Nurse อุ๊” เอาความรู้ เกี่ยวกับอาการนี้มาฝากค่ะ ที่สำคัญป้องกัน และแก้ไขได้ด้วย ได้ยินอย่างนี้แล้วอุ่นใจขึ้นเยอะเลยใช่มั๊ยคะ

มึนงง เวียนหัว
อาการเวียนหัว มึนงง ศีรษะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก แต่ถ้าจะลงรายละเอียดของอาการที่ว่า เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และการรักษา
สามารถแบ่งอาการออกเป็นสองแบบ คือ
1. มีนงง จะเป็นลม Lightheadednessเป็นอาการที่มีความรู้สึกมีน ๆ หวิว ๆ คล้ายจะเป็นลม แต่ไม่มีความรู้สึกว่า รอบ ๆ ตัวหมุนไป อาการจะดีขึ้นเมื่อได้นอนราบ ถ้าไม่ดีขึ้นจะทำให้เป็นลมและหมดสติได้ บางครั้งอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
2.บ้านหมุน เป็นอาการที่มีความรู้สึกว่ารอบ ๆ ตัว กำลังหมุนไป บางครั้งรู้สึกหมุน รู้สึกเอียง เมื่ออาการเวียนหัวบ้านหมุนมากขึ้น ก็จะมีคลื่นไส้อาเจียนตามมา และ จะไม่สามารถยืนหรือเดินได้ เนื่องจากสมดุลจะเสีย และทำให้หกล้มได้
ถึงแม้ว่าอาการนี้จะเกิดได้ทุกวัย แต่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ บางครั้งทำให้เกิดอาการกลัวว่าจะมีอาการเลยหลีกเลี่ยงกิจกรรมการออกกำลังกายต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการหกล้มและทำให้เกิดการบาดเจ็บอีกด้วย
Lightheadedness
อาการมีนงง หน้ามืด จะเป็นลม พบได้บ่อย ส่วนใหญ่จะไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง มักจะเกิดจากภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำลงและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ บางครั้งเกิดขึ้นเมื่อนั่งอยู่แล้วลุกขึ้นเร็วเกิดไป
สาเหตุทำให้เกิดอาการได้แก่:
- ภมิแพ้
- ผลจากอาการป่วยอย่างอื่น เช่นไข้หวัด หรือจากรักษาหวัดบางชนิด
- การขาดน้ำในร่างกาย จากไข้ ท้องเสีย หรืออาเจียน
- ความเครียด หรือภาวะที่มีการหายใจเร็วและหายใจตื้น ๆ มากเกินไ
- การใช้บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด
แต่สาเหตุที่อันตรายก็มีได้ เช่น จากการเสียเลือด หรือมีเลือดออก เช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ ถ้าปริมาณเลือดออกค่อนข้างมาก และเป็นแบบเฉียบพลันจะทำให้มีอาการได้
สาเหตุอื่นที่พบได้แต่ไม่บ่อย เช่นจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือมีลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้เลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
Vertigo

อาการบ้านหมุน เกิดจากความผิดปกติของระบบรับรู้สมดุลของร่างกายที่สมอง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหามาจาก
- สายตา ซึ่งอยู่ในระบบของการรักษาสมดุลในการทรงตัวของร่างกาย
- เส้นประสาทสัมผัส ที่ส่งข้อมูลไปยังสมองให้รู้ว่าอยู่ท่าทาง หรือการเคลื่อนไหวใด
- ระบบประสาทรับการทรงตัว ที่อยู่ในหูชั้นใน ซึ่งจะประกอบไปด้วยอวัยวะที่คล้ายก้นหอย และของเหลวภายใน ทำให้เรียกโรคนี้ว่า น้ำในหูไม่เท่ากัน
สาเหตุที่ทำให้มีอาการบ้านหมุน ได้แก่:
- โรคของหูชั้นใน เช่น benign paroxysmal positional vertigo (BPPV), Ménière’s disease, vestibular neuritis, or labyrinthitis.


- การบาดเจ็บของหู หรือศีรษะ
- โรคไมเกรน
- การที่เลือกไปเลี้ยงฐานของสมองไม่เพียงพอ
- เนื้องอกภายในหู เช่น cholesteatoma
- เนื้องอกในสมอง หรือมะเร็งที่ลุกลามไปที่สมอง
แต่ถ้าเกิดมีอาการเวียนศีรษะ และหมดสติ หรือความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป ต้องพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจดูสาเหตุผิดปกติในสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง
การดูแลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการ
หน้ามืด เป็นลม Lightheadedness ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและจะหายได้เอง แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ คืออาการไม่ดีขึ้น มีการเต้นหัวใจผิดปกติ หรือหมดสติ ควรพบแพทย์ และที่สำคัญคือการป้องกันการหกล้ม
- ให้นอนราบหนึ่งถึงสองนาที เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น หลังจากนั้นถ้าดีขึ้นแล้ว ให้ลุกขึ้นช้า ๆ หากไม่มีอาการค่อยลุกขึ้นช้า ๆ
- พักผ่อน บางครั้งจะมีอาการช่วงที่พักผ่อนไม่พอ หรือเป็นหวัด จึงควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอาการ
- ไม่ควรขับรถ หรือเครื่องจักร หรือกิจกรรมอื่นๆ  ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- ไม่ควรใช้สารที่อาจจะมีผลต่อการไหลเวียนเลือดเช่น บุหรี่ กาแฟ เหล้า
- อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ถ้ามีอาการท้องเสียหรืออาเจียน ควรดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนเพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
ถ้าคุณมีอาการบ้านหมุน vertigo:
- อย่านอนราบไปกับพื้น ให้นอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้นเล็กน้อย จะช่วยลดอาการบ้านหมุนได้ดีกว่า
- เคลื่อนไหวให้ช้าลง เพื่อป้องกันการหกล้ม
หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจเพิ่มเติม
- มีคลื่นไส้หรืออาเจียนอาการเป็นมากขึ้น
- มีภาวะขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง
- มีภาวะหมดสติ
- อาการไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์
- มีอาการบ่อย หรือรุนแรง
- คุณสามารถป้องกันอาการหน้ามืดเวียนหัวได้โดย
- เวลาลุกขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน ให้ช้าลง

- นั่งที่ขอบเตียงสักสองสามนาทีก่อนจะลุกขึ้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- เวลาเดินพยายามหลีกเลี่ยงการก้มมองเท้าตลอดเวลา
- เวลานั่งรถ พยายามนั่งหน้า และมองไปไกล ๆ โฟกัสที่จุดใดจุดหนึ่ง
- เวลารถจะเข้าโค้ง ให้มองไปไกล ๆ ไว้ล่วงหน้า
- เลี่ยงการอ่านหนังสือบนรถ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องเงยหน้านาน ๆ
การใช้ยาเบื้องต้น ในผู้ป่วยที่มีอการเวียนหัว
1.Dramamine
เป็นยา ที่ลดอาการเวียนหัว มึนงง คลื่นไส้อาเจียน แก้เมารถ เมาเครื่องบิน แต่อาจทำให้ง่วงนอน
2.Flunarizine หรือ Cinnarizine
เป็นยาที่ใช้ทั้งในผู้ป่วยไมเกรน และในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนหัว บ้านหมุน
3. vitamin B12
ในบางรายอาจมีการขาดวิตามิน B12 ทำให้มีอาการ
เพื่อนๆลองเอาวิธีที่ “Nurse อุ๊” แนะนำ ไปปฏิบัติดูนะคะ รับรองอาการเวียนหัว มึนงง บ้านหมุน จะไม่มากวนใจอย่างที่แล้วมาค่ะ