วีธีที่จะช่วยให้สตรีได้พบสิ่งผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก คือการตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง ในช่วงวันที่ 3-5 ของรอบเดือน ไม่ควรตรวจในช่วงที่เต้านมคัดตึง เพราะการตรวจอาจผิดพลาดได้
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจในขณะอาบน้ำ
ขณะอาบน้ำเป็นระยะเวลาที่ผิวหนักเปียก และลื่น จะทำให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนิ้วมือวาง ราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือในลักษณะคลึงเบาๆ ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหาก้อน หรือ เนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึง ตรวจเต้านมขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การตรวจหน้ากระจก
ก.) ยืนตรง มือแนบลำตัว แล้วยกแขนขึ้นสูงเหนือศรีษะ สังเกตุลักษณะของเต้านมเพราะการเคลื่อนยกแขนขึ้นนั้น จะสามารถมองเห็นถึงความผิดปกติได้
ข.) ยกมือท้าวเอว เอามือกดสะโพกแรงๆ เพื่อให้เกิดการเกร็ง และหดตัวของกล้าวเนื้ออก สังเกตุดูลักษณะที่ผิดปกติ
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจในท่านอน
นอนราบ และยกมือข้างหนึ่งไว้ใต้ศรีษะ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง ตรวจคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม (ภาพที่ 4, 5 และ 6) โดยเริ่มต้นที่จุดบริเวณส่วนนอกเหนือสุดของเต้านม จุด X ในภาพ เวียนไปโดยรอบเต้านม แล้วเคลื่อนมือเขยิบเข้ามาเป็นวงแคบเข้าจนถึงบริเวณหัวนม จากนั้นค่อยๆ บีบหัวนมโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ เพื่อสังเกตุดูว่ามีน้ำเลือดน้ำหนอง หรือน้ำใสๆ อื่นๆใดออกมาหรือไม่ เสร็จแล้วตรวจเต้านมอีกข้างในลักษณะเดียวกัน
พึงจำไว้ว่ายิ่งพบความผิดปกติได้เร็วเพียงไร โอกาสในการรักษาให้หายขาด และปลอดภัย ก็มีมากขึ้นเพียงนั้น
ดูโปรแกรมการตรวจคลิ๊ก: http://bit.ly/OGGHcL
สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ
488 ถนนศรีนครินทร์ สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร: +66 (0) 2378-9000
โทรสาร: +66 (0) 27317-044
อีเมล์: info.srinakarin@samitivej.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น