รู้ทัน 9 โรคใกล้ตัว หลังวัย 45 ปี เพื่อก้าวข้ามความเจ็บป่วยในอนาคต
วัยที่มากขึ้นมักจะทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อันเนื่อง จากการใช้งานร่างกายมายาวนาน สภาวะสิ่งแวดล้อม ในสังคม การดำเนินชีวิตที่รีบเร่งและเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสุขภาพที่ถดถอยลงตามกาลเวลา เราสามารถดูแลเฝ้าระวัง หรือสังเกตอาการเริ่มต้น ของโรคเหล่านี้ได้ง่ายๆ เพื่อทำการรักษาในระยะ แรก ซึ่งเป็นช่วงที่รักษาได้ง่ายและได้ผลดีที่สุด เพื่อให้คุณก้าวข้ามความเจ็บป่วยในอนาคต และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
1. หมอนรองกระดูกเอวกดทับเส้นประสาท
การยกของหนัก น้ำหนักตัวมาก การนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ไอ จาม แรงๆ เล่นกีฬาที่ต้องออกแรงผ่านหลังมากๆ เช่น เทนนิส ตีกอล์ฟผิดวิธี เป็นสาเหตุ ก่อให้เกิดหมอนรองกระดูกเอวเสื่อมและแตกกดทับเส้นประสาททั้งนั้น อาการคือ ปวดหลัง หรือปวดร้าวลงต้นขา หรือเท้าขึ้นอยู่กับความรุนแรง บางคนอาจไม่มีอาการปวดหลัง แต่จะปวดขาอย่างเดียวเท่านั้นก็อาจจะเป็นได้ การรักษา แพทย์จะพิจารณาตามอาการหนัก เบาของโรค ถ้าอาการมากอาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
2. ข้อไหล่ติด ข้อไหล่ยึด
มักพบในช่วงอายุวัยกลางคนขึ้นไปตั้งแต่ 40 – 60 ปี เพศหญิงมีโอกาสเกิดโรค มากกว่าเพศชาย พบบ่อยในผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ การใช้งานข้อไหล่มากเกินไป หรืออาการอื่นๆ เช่น คอพอกเป็นพิษ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการป่วยด้วย โรคนี้ร้อยละ 20-30% หรือการอักเสบ การหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ เยื่อหุ้มข้อ หดตัว อาการที่สังเกตได้คือ ปวดข้อไหล่โดยเฉพาะปวดเวลากลางคืน บางคนปวดมากจนสะดุ้งตื่นกลางดึกจากการพลิกตัวหรือนอนกดทับ และปวดมากขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อ ควรรีบปรึกษาแพทย์กระดูกและข้อแต่เนิ่นๆ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้น
3. ข้อเข่า ข้อสะโพกเสื่อม
อาการบ่งชี้เริ่มด้วยมีอาการขัด ปวดบริเวณข้อเข่า ข้อสะโพกขณะ เคลื่อนไหว หรืออาจมีอาการปวดบวมร่วมด้วย การวินิจฉัยต้อง อาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ และทำ MRI หรือผ่าตัด ส่องกล้องเข้าไปในข้อ ในรายที่มีความเสื่อมมาก ต้องใช้การรักษาโดย การเปลี่ยนใส่ข้อเทียม ในคนอายุน้อยควรเลือกวิธีการอย่างอื่นแทน เช่น ฉีดยาหล่อลื่นเข้าข้อ หรือการผ่าตัดดัดเข่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแผลเล็กขนาด 4.5 ซม. และใช้เวลาพักฟื้น 1-2 วัน เท่านั้น
4. กระดูกคอ หรือหมอนรองกระดูกคอเสื่อม
เป็นโรคยอดฮิตอีกโรคหนึ่ง ในอดีตพบบ่อยในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบได้ ตั้งแต่ในเด็กอายุเพียง 10 กว่าปีเท่านั้น สาเหตุเกิดจากการนั่งนาน หรือก้มทำงาน ในท่าทางที่ผิด ตะแคงหูรับโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานของคนรุ่นใหม่ หากคุณมีอาการ ปวดคอมากๆ เป็นเวลานานหลายวันหรือปวดร้าวลงแขนร่วมกับมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรรีบ ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและพบแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคปวดคอโดยเฉพาะ
5. ภาวะกระดูกพรุน
เป็นภาวะที่ร่างกายมี Calcium ลดน้อยลงไปกว่าปกติ อาการคือ การเกิดภาวะกระดูกหักง่าย กระดูกสันหลังโก่ง งอหรือคดใน คนสูงอายุ และอาการปวดหลัง ภาวะเหล่านี้เกิดได้ทั้งชายสูงอายุ มากกว่า 60 ปีหรือหญิงวัยทอง และผู้ที่เป็นโรค เช่น ไตวาย เรื้อรัง การทานผัก และผลไม้ที่มี Calcium เพียงพอรวมทั้ง วิตามินดี ออกกำลังกาย ลด ละ เลิกบุหรี่ กาแฟ หลีกเลี่ยงยาที่มี ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ จะสามารถช่วยชะลอภาวะกระดูกพรุนหรือ บาง ให้ดีขึ้นได้ การเข้ารับการตรวจความหนาแน่นกระดูกเป็นประจำทุก 6 เดือน จะช่วยให้ทราบภาวะของกระดูกพรุนได้เป็นอย่างดี
6. นอนกรน อาจไม่ใช่เรื่องธรรมดา
ภาวะนอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะทำให้ระดับของออกซิเจนใน เลือดลดลง ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด ความดันโลหิต มักพบว่า มีอาการดังต่อไปนี้ อาการคล้ายสำลัก สะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนล้า หรือปวดศีรษะ รู้สึกสมองตื้อ ขี้ลืม ไม่ค่อยมีสมาธิ บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น จุกแน่นคอ หูอื้อ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะที่ต้องรีบแก้ไข ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจการนอนหลับ (Sleep lab) ซึ่งจะช่วยยืนยันว่าคุณมีการนอนกรน ร่วมกับภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ หรือไม่
7. หลอดเลือดสมอง Stroke
เป็นโรคที่เกิดจากการสูญเสียหน้าที่การทำงานของสมองอย่างเฉียบพลัน อาการของผู้มีแนวโน้ม เป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาจมีอาการอย่างใด อย่างหนึ่งดังนี้ อ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยวหรือ ชาครึ่งซีก พูดไม่ออก ฟังไม่เข้าใจภาษา ตาข้างใด ข้างหนึ่งมองไม่เห็น หรือเห็นภาพซ้อน เวียนศีรษะ บ้านหมุน ปวดศีรษะรุนแรง
ทุกนาทีมีค่า ยิ่งสมองขาดเลือดนานสมองจะ ถูกทำลายมากขึ้น ช่วงเวลาสำคัญที่สุดคือ 4.5 ชั่วโมงแรกหลังมีอาการ และควรพาผู้ป่วยมาถึง โรงพยาบาลภายใน 60 นาที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
8. ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ
ผู้ที่เป็นเบาหวาน ร่วมกับความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิด ความเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดงหัวใจ หากมีอาการที่น่าสงสัย เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่นอึดอัดบริเวณกลางหน้าอก ข้างซ้ายหรือลิ้นปี่ คล้ายอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน หน้ามืด เหงื่อออก ใจสั่น จะเป็นลมหรือหมดสติ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่ต้อง มาพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย ตรวจสมรรถภาพหัวใจ เพื่อการป้องกันการเกิด ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจ ย่อมดีกว่าการปล่อยให้เกิดโรคแล้วค่อยทำการรักษา
9. สถิติพุ่ง! มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบ
พบว่าพฤติกรรมการกินเสี่ยงก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนักเพิ่มขึ้น หลังพบผู้ป่วยรายใหม่พุ่ง 1 หมื่น รายต่อปี อาการที่ชวนสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ใหญ่ที่พบบ่อย อุจจาระมีมูกเลือดหรือสีดำคล้ำ หรือดำแดง ท้องผูก ท้องเสีย หรือมีอาการท้องผูก สลับท้องเสีย ขนาดอุจจาระเล็กลง รู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด ท้องอืด ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้สาเหตุ
การตรวจพบเร็วทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การส่องกล้อง ลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นวิธีการตรวจลำไส้ใหญ่ที่ชัดเจน สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ด้วยการกำจัดติ่งเนื้องอก (Polyps) ผิดปกติอันเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็ง ที่พบระหว่างทำการตรวจส่อง กล้องในคราวเดียวกันได้
เราพร้อมดูแลคุณด้วยทีมแพทย์ชั้นนำ
488 ถนนศรีนครินทร์ สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร: +66 (0) 2378-9000
โทรสาร: +66 (0) 2731-7044