หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกับโรคชนิดนี้
“โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง” แต่ความจริงแล้ว
โรคนี้เป็นโรคทางหลอดเลือดชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย
หากปล่อยให้หลอดเลือดแตกและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสเสียชีวิตสูง
แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในปัจจุบันบวกกับประสบการณ์ของทีมแพทย์ผูเชี่ยวชาญ
ล้วนมีส่วนช่วยทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่เป็นโรคนี้ลดลงได้นายแพทย์คามิน
ชินศักดิ์ชัย ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือด โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
ได้มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองให้ฟังว่า
“ก่อนอื่นต้องเริ่มอธิบายให้ฟังก่อนว่า
หลอดเลือดแดงใหญ่เปรียบเสมือนท่อประปาหลัก
ที่ส่งผ่านเลือดให้ไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆทั่วร่างกาย
เริ่มต้นจากหัวใจสูบฉีดเลือดไหลผ่านลงมาทางหน้าอก กระบังลม เข้าไปยังช่องท้อง
หัวเหน่า จนถึงสะดือ แล้วจึงแยกออกเป็น 2 สาย เพื่อไปเลี้ยงขาทั้ง 2 ข้าง
และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ดังนั้น หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหลอดเลือด
หรือหลอดเลือดปริแตก เลือดก็จะไหลรั่วออกด้านข้างหมด
ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปอวัยวะอื่นๆได้ จึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้”
“โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองจึงเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงที่อยู่ในช่องท้องขยายใหญ่หรือโป่งพองมากขึ้นกว่าปกติ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
แต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญก็คือ ผู้ที่สูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง และกรรมพันธุ์ ซึ่งพบมากในผู้ชายที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
มากกว่าผู้หญิง โรคนี้น่ากลัวตรงที่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการใดๆมาก่อน
แต่เมื่อมีอาการเกิดขึ้น อาจหมายถึงหลอดเลือดแตกหรือกำลังจะแตกแล้ว อาการที่สังเกตเห็นคือ
ปวดท้องร่วมกับปวดหลัง เนื่องจากหลอดเลือดจะอยู่ด้านหลังช่องท้อง
คลำเจอก้อนที่เต้นได้ในช่องท้อง แต่ในผู้ป่วยบางรายที่อ้วนมากจะไม่สามารถคลำเจอ
เนื่องจากมีผนังหน้าท้องที่หนาเกินไป”
รักษาได้ทันท่วงที
คุณหมอยืนยันว่าโรคนี้สามารถรักษาได้
แต่ต้องมาพบแพทย์ให้ทัน หรือมีการตรวจพบเจอก่อน ซึ่งหากพบการโป่งพองไม่เกิน 5
เซนติเมตร ถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ไม่ต้องทำการผ่าตัด
แต่ต้องตรวจสุขภาพและมาพบแพทย์เป็นประจำร่วมกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
หากโป่งพองมากกว่า 3 เซนติเมตร ต้องมาตรวจทุกปี โป่งพองมากกว่า 4 เซนติเมตร
ต้องตรวจทุก 6 เดือน และโป่งพองตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป ควรพบศัลยแพทย์หลอดเลือด
เพื่อหาแนวทางการป้องกันและรักษาแต่เนิ่นๆ แต่ในกรณีที่โตเร็วมากกว่า 5
มิลลิเมตรใน 6 เดือน หรือมากว่า 1 เซนติเมตร ใน 1 ปี หรือโป่งพองมากกว่า 5.5
เวนติเมตร ขึ้นไป จะมีโอกาสแตกได้มากกว่า จึงควรรักษาด้วยการผ่าตัด
ซึ่งการผ่าตัดนั้นมี 2 แบบ ได้แก่
-
การผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง
หรือการผ่าตัดใหญ่ เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐาน แพทย์ต้องวางยาสลบ เปิดแผลใหญ่
ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงหัวเหน่า แล้วใส่หลอดเลือดเทียมทดแทน
หลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพอง
ผลการรักษาในระยะยาวดีแต่ต้องใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดนานจึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
-
การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียม
หรือผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องวางยาสลบ เป็นการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด
ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง เพื่อสอดหลอดเลือดเทียมเข้าไปใส่แทนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพองในช่องท้อง
เป้นทางเลือกใหม่ที่ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผลในระยะสั้นและระยะกลางยังมีประสิทธิภาพดี
แต่ต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามผลในระยะยาว วึ่งอัตราการเสียชีวิตภายใน 30
วันของการผ่าตัดเล็กในกลุ่มหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องที่ไม่มีอาการ
มีเพียงประมาณร้อยละ 1-1.5 วึ่งน้อยกว่าแบบผ่าตัดใหญ่ถึง 3 เท่า
การจะเลือกผ่าตัดแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผู้ป่วย และลักษณะกายวิภาคของหลอดเลือดสำหรับคนที่อายุน้อยกว่า
60 ปี และมีร่างกายแข็งแรง มีแนวโน้มผ่าตัดใหญ่มากกว่า แต่หากอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป
แพทย์มักจะแนะนำให้ผ่าตัดแบบเล็ก ซึ่งจะทำการพิจารณาเป็นรายๆไป
เคสตัวอย่าง
คุณหมอเล่าให้ฟังถึงเคสตัวอย่างเคสหนึ่งว่า
“คนไข้อายุ 59 ปีได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องอย่างเร่งด่วน
ซึ่งผู้ป่วยมีน้ำหนักถึง 150 กิโลกรัม มีผนังหน้าท้องที่หนามาก
และเป็นคนสูบบุหรี่จึงทำให้ปอดไม่แข็งแรง
หากผ่าตัดแบบใหญ่จะมีโอกาสเสี่ยงและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก
จึงต้องทำการผ่าตัดแบบเล็ก และนอกจากมีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพองแล้วยังมีภาวะลอกตัวของผนังหลอดเลือดแดงที่ขาข้างซ้ายที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานร่วมด้วย
จึงต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลอดเลือดอีกท่านหนึ่งเข้ามาช่วยดูแล คือ
นายแพทย์อนุชิตรวมธารทอง หัวหน้าแพทย์รังสีร่วมรักษา (Interventional
Radiologist) เพื่ออุดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
ก่อนทำการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมในช่องท้อง ซึ่งถือว่าเป็นเคสที่ยากมาก”
ด้านนายแพทย์อนุชิตได้เล่าเสริมถึงเคสนี้ว่า
“หน้าที่หลักคือ การเคลียร์ทางให้คุณหมอคามิน ก่อนที่เราจะวางท่อใหม่ก็ต้องกำจัดสิ่งกีดขวาง
เพื่อไม่ให้น้ำรั่วซึมออกนอกทาง การวางท่อใหม่ก็จะทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
โดยการรักษาของคุณหมอคามิน ต้องทำการสอดหลอดเลือดเทียมเข้าไปที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง
เมื่อหลอดเลือดที่ขาโป่งพอง จึงทำให้มีพื้นที่เหลือเยอะ การเดินท่อจึงโคลงเคลงและยากขึ้น
แต่หากปล่อยให้โป่งพองอยู่อย่างนั้นก็มีโอกาสแตกและรั่วซึม
ยิ่งทำให้การผ่าตัดรักษายากยิ่งขึ้นไปอีก
จึงต้องทำการปิดหลอดเลือดด้านที่โป่งพองเสียก่อน
โดยการอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานด้านหนึ่งอย่างถาวร
ซึ่งเมื่ออุดแล้วร่างกายสามารถใช้อีกด้านหนึ่งแทนได้
เนื่องจากเลือดที่มาเลี้ยงอุ้งเชิงกรานมาจากขาทั้ง 2 ข้าง
ซึ่งสามารถไหลอ้อมเข้ามาหากันได้
เมื่อทำเช่นนี้ก่อนจึงทำให้การผ่าตัดรักษาเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ”
จากผลการผ่าตัดครั้งนั้น
ผู้ป่วยรู้สึกพึงพอใจกับผลการรักษาที่ดีขึ้น
ด้วยความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ของทีมแพทย์และพยาบาล
รวมทั้งความพร้อมของอุปกรณ์การรักษาอันทันสมัยที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
ทำให้สามารถผ่าตัดแผลเล็กได้และเจ็บน้อยกว่า
ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและฝื้นตัวได้เร็ว ถึงแม้โรคนี้จะเป้นโรคที่มีความเสี่ยงสูง
แต่ความจริงแล้วเราสารถป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต
และควรเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่
อย่าคิดว่าแค่โปงพองแต่ไม่แตกก็สามารถใช้ชีวิตเหมือนเดิมต่อไปได้
เพราะหากปล่อยทิ้งไว้รอวันที่มันจะแตก ถึงวันนั้นก็ไม่เหลือดอกาสในการรักษาแล้ว
ดังนั้นควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี พร้อมอัลตร้าซาวนด์ช่องท้อง
เพราะถ้าตรวจพบโรคนี้ได้เร็ว
ก็จะสามารถรักษาได้ทันไม่ควรเอาชีวิตมาเสี่ยงจะดีที่สุด
นายแพทย์คามิน ชินศักดิ์ชัย ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือด
นายแพทย์อนุชิต รวมธารทอง หัวหน้าแพทย์รังสีร่วมรักษา (Interventional
Radiologist)
โรงพยาบาลสมิติเวช
สุขุมวิท